ผู้เขียน หัวข้อ: เสียงกับการได้ยินของมนุษย์  (อ่าน 5295 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ CreÃte_Lek ♫

  • BuRaPha_TeAm
  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 57603
  • ถูกใจกด Like+ 1370
  • เพศ: ชาย
  • DHT Crazy Club
เสียงกับการได้ยินของมนุษย์
« เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2011, 03:40:59 PM »
 
          ความสามารถในการได้ยินของมนุษย์




   คุณอาจเคยสงสัยว่าทำไมบางชุดเครื่องเสียงของผู้สูงวัยกว่ามีสมดุลเสียงออกไปในทางแหลมสูงเกินพอดี  อีกทั้งคำว่า "หูทอง - หูทิพย์ - หูเทพ" นั้นมีจริงหรืออุปโลกกันไปเอง?...มีใครที่หนีธรรมชาติสังขารได้หรือ?...อุปกรณ์เครื่องเสียงบางชนิดทำมาเพื่อให้คนเหนือธรรมชาติฟังกันงั้นหรือ..!?
มีข้อมูลที่น่าสนใจเรื่องความสามารถในการได้ยินของมนุษย์จากมหาวิทยาลัย Colorado มาฝากกันครับ (อ้างอิงจาก Colorado.edu)

The frequency range for hearing varies greatly between individuals. The complete audible range is 20-20,000 Hz, but a healthy young person usually can only hear up 17-18 kHz. (ช่วงความถี่ของการได้ยินนั้นจะแตกต่างกันไปได้มากมายในแต่ละบุคคล ช่วงความถี่ที่สามารถได้ยินกันแบบเต็มช่วงคือ 20-20,000 Hz ทว่าในคนวัยหนุ่มสาวแม้จะมีสุขภาพที่ดีสมบูรณ์แต่ก็จะสามารถได้ยินความถี่ย่านสูงขึ้นไปได้เพียง 17,000-18,000 Hz แค่นั้นเอง)

 

Our ability to hear the high frequencies continually drops with age. By 55 men can't hear above 5 kHz and women above 12 kHz. Women tend to have better hearing at high frequencies, especially after 25 years of age or so. (ความสามารถในการได้ยินความถี่ย่านสูงจะเสื่อมถอยลงไปเรื่อยๆ ตามอายุขัย ซึ่งโดยปกติในวัย 55 ปีนั้นผู้ชายจะไม่สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่า 5,000 Hz และผู้หญิงจะไม่เกิน 12,000 Hz แต่สำหรับผู้หญิงนั้นจะมีแนวโน้มของความสามารถในการได้ยินความถี่ย่านสูงได้ดีกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะช่วงอายุมากกว่า 25 ปี)

The ear's sensitivity varies significantly with frequency. We do not hear low frequencies as well as high frequencies, up to around 10 kHz where again our sensitivity drops off. (ความไวในการตอบสนองต่อความถี่เสียงของหูยังแตกต่างกันในแต่ละช่วงของความถี่ โดยเราจะได้ยินความถี่ย่านเสียงทุ้มต่ำได้ไม่ดีเท่าเสียงย่านสูง และที่ช่วงความถี่ประมาณ 10,000 Hz ความไวในการได้ยินก็จะลดลงเช่นกัน)

The human ear is most sensitive to frequencies in the range of 2,000-5,000 Hz. Frequencies below 30 Hz are hard to distinguish. Lower frequencies produce more of sense of "feeling" then a sense of sound. (หูของมนุษย์จะไวในการตอบสนองต่อความถี่ช่วง 2,000-5,000 Hz ได้ดีที่สุด โดยความถี่เสียงที่ต่ำกว่า 30 Hz นั้นจะสามารถแยกแยะกันได้ยาก ซึ่งความถี่เสียงนั้นยิ่งทุ้มต่ำลงไปก็จะให้ผลทาง “ความรู้สึก” มากกว่าการได้ยิน)

จากข้อมูลดังกล่าวนำมาซึ่งประเด็นให้ถกกันอยู่ 2 ประการ คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความถี่เสียงย่านทุ้มต่ำกับความถี่เสียงในย่านสูง และก็แน่นอนที่จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์เครื่องเสียงบางชิ้นในระบบ

แต่ก่อนจะอ่านกันต่อไปก็ต้องขอให้เว้นวรรควลีของนักเล่นเครื่องเสียงที่ว่า ไม่ลองฟังก็ไม่รู้แล้วจะมาเถียงกันทำไมให้เสียเวลา เอาไว้ให้ห่างๆ เสียก่อน...เพราะเรากำลังพิจารณากันถึงเรื่องความสามารถในการได้ยินของมนุษย์ธรรมดาทั่วไป หาใช่ยอดมนุษย์ตนใดที่ต้องการยอดเครื่องเสียงที่ออกแบบมาเป็นกรณีพิเศษสำหรับพวกเขาเหล่านั้น

1. การเลือกใช้ลำโพง "ซับวูฟเฟอร์ - Subwoofer" ที่ตอบสนองความถี่เสียงได้ต่ำมากๆ (ต่ำกว่า 20 Hz) ถึงแม้หูของเราอาจจะไม่ได้ยินเสียงความถี่ต่ำระดับนี้แต่ก็ยังจะให้ผลทางความรู้สึกได้ (ความสั่นสะเทือน)...ดังนั้นประเด็นนี้จึงผ่านไปได้โดยไม่มีข้อน่ากังขาสำหรับประโยชน์ที่ผู้ใช้จะได้รับ...ในความสั่นสะเทือนเลื่อนลั่น..!

 

2. ลำโพงชนิด ซุปเปอร์ทวีตเตอร์ - Super Tweeter นั้นออกจะเป็นเรื่องน่ากังขาของคนทั่วไปมาก...โดยเฉพาะที่เน้นแข่งกันในด้านสเปคฯ การทำงานที่ความถี่ย่านสูงมากๆ เกินขีดความสามารถในการได้ยินของมนุษย์ (มากกว่า 18,000 Hz)

และก็ควรตั้งข้อสังเกตในการทดลองฟังด้วยว่าหากลำโพงคู่เดิมที่คุณใช้อยู่สามารถตอบสนองความถี่ได้คลอบคลุมเสียงย่านสูง 18,000-20,000 Hz อยู่แล้วก็ไม่น่าจะได้ประโยชน์อะไรเพิ่มเติมขึ้นมาอีกเลย...และที่สำคัญก็คือร่างกายของคนเราจะไม่สามารถตอบสนองรับรู้สึกแทนหูที่ความถี่เสียงย่านสูงๆ แบบนี้ได้ดังเช่นความถี่เสียงในย่านทุ้มต่ำ

 

นอกจากนี้ถึงแม้ว่าอาจจะได้ยินความแตกต่างของเสียงในย่านความถี่สูงเมื่อนำซุปเปอร์ทวีตเตอร์มาใช้งานร่วมกับลำโพงหลักก็ตาม แต่สิ่งที่น่าจะพิจารณากันก็คือความแตกต่างที่ได้ยินนั้นเป็นผลมาจากการทำงานในช่วงความถี่ที่ต่ำลงมาใช่หรือไม่...ซึ่งก็คือช่วงความถี่การทำงานของตัวทวีตเตอร์ปกตินั่นเอง...ไม่ใช่ย่านความถี่สูงๆ จากตัวซุปเปอร์ทวีตเตอร์...จึงเสมือนเป็นการทับซ้อน...ทับช่วงการทำงานของลำโพงตัวหลัก (ยังไม่นับผลกระทบด้านอื่นๆ เช่น Time Alignment ของลำโพง, ความกลมกลืนของเสียง ฯลฯ)

...แม้ว่าเรื่อง "หูทอง-หูทิพย์-หูเทพ" จะหาเหตุผลและข้อมูลจากการศึกษา-ทดลองมารองรับไม่ได้...ในท้ายที่สุดนั้นการคิดตัดสินใจจะเลือกซื้อหรือเลือกใช้อุปกรณ์อะไรก็เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลอยู่เหมือนเดิมนั่นแล หากแต่สิ่งที่สำคัญก็คือข้อพึงฉุกคิดในเรื่องของเหตุปัจจัยหรือสิ่งแอบแฝงซ่อนเร้นอื่นๆ ที่มีอยู่เต็มทั่วไปหมดในป่าธุรกิจการค้าที่โหดร้ายและไม่เคยมีความเมตตาปราณีให้กับกระเป๋าสตางค์ของผู้ใด

Define Me Radiant Charm  เชื่อในสิ่งที่เราเลือก และ ภูมิใจในความเป็นเราในแบบที่เราเป็น    

Define Me Radiant Bright ไม่ต้องปรับตัวเองให้เป็นใคร แต่เป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกๆวัน

>>> ข้อมูลส่วนตัวครับ

ออฟไลน์ sanosak

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 126
  • ถูกใจกด Like+ 3
Re: เสียงกับการได้ยินของมนุษย์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2011, 03:52:40 PM »
-ขอบคุณมากครับกับข้อมูลดีฯแบบนี้
 [res]

ออฟไลน์ numz

  • ทีมพาออกทะเล !
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5263
  • ถูกใจกด Like+ 49
  • เพศ: ชาย
  • หุ่นไล่กา !
Re: เสียงกับการได้ยินของมนุษย์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 19 พฤษภาคม 2011, 04:15:46 PM »
 [thumb up] [thumb up] ขออบคุณคับ
fart-raccoon ข้อมูลติดต่อจ๊ะ

หากล่วงเกินใครไปขออภัยด้วยเพราะช่วงนี้.... กุติสแตก!

ออฟไลน์ track

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1385
  • ถูกใจกด Like+ 33
  • เพศ: ชาย
Re: เสียงกับการได้ยินของมนุษย์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2011, 07:08:18 AM »
เยี่ยมครับ  [thumb up]