www.diyaudiovillage.net

DIY มือใหม่ , TIPS & TRICKS , R&D SECTION => R&D SECTION => ข้อความที่เริ่มโดย: sansirn ที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 04:15:29 PM

หัวข้อ: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 04:15:29 PM
ช่วงปีนี้ผมมีโอกาสได้ลองเล่นลองฟังแอมป์ SS หลายตัวซึ่งเกือบทั้งหมดจะเป็นแบบ OCL แต่ใจจริงผมอยากลองเล่น OTL ดูอีกสักครั้ง เน้นวงจรง่ายๆ งบไม่แรง มาสะดุดตาที่ OTL 30W ที่ลงใน CEW ครับ ว่าแล้วก็กางวงจรกันเลย
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 04:37:33 PM
มาดูตัว Prototype กัน
เนื่องจากอยู่ไกลปืนเที่ยงไปหน่อย เลยต้องทำตัวต้นแบบบน PCB เอนกประสงค์ ช่วงนี้ความสวยความงามต้องลืมไปก่อน เน้นความถูกต้องอย่างเดียว
ทรานซิสเตอร์ผมใช้เบอร์ 2N5551/2N5401 ส่วนมอสเฟตใช้ตัวที่มีอยู่ค่อ 2SJ162/2SK1058
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 04:50:24 PM
ขอโชว์หน้าตามอสเฟตสักหน่อยครับ
ถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว การที่ผมใช้มอสเฟต J162/K1058 เสียงย่อมต่างจากต้นแบบที่ทาง CEW ทำไว้ ซึ่งมอสเฟตแต่ละเบอร์ก็มีดีกันไปคนละด้าน โดยส่วนตัวผมชอบใช้มอสเฟตคู่นี้เนื่องจากราคาไม่สูง และถูกใช้ในแอมป์ดังๆ ของโลก เช่น BOW ZZ1 นอกจากนี้ยังถูกใช้ใน Integrated ตัวดัง Aura VA-100 ซึ่งเป็นค่ายในเครือ B&W เมื่อสิบกว่าปีก่อน

หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 04:51:50 PM
ช่วงปีนี้ผมมีโอกาสได้ลองเล่นลองฟังแอมป์ SS หลายตัวซึ่งเกือบทั้งหมดจะเป็นแบบ OCL แต่ใจจริงผมอยากลองเล่น OTL ดูอีกสักครั้ง เน้นวงจรง่ายๆ งบไม่แรง มาสะดุดตาที่ OTL 30W ที่ลงใน CEW ครับ ว่าแล้วก็กางวงจรกันเลย


ป๋า  ใหญ่กว่านี้ได้ไหม  ผมใส่แว่นขยายแล้ว.ก็ยังมองไม่เห็นเลยอ่ะ

ถ้าเห็นรูปเล็กไป ลองเอาเม้าคลิ๊กที่รูปดูอีกทีนะครับ ถ้าไม่ได้ยังไง เดี๋ยวผมเปลี่ยนรูปให้
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: tfender ที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 04:58:09 PM
ขอโชว์หน้าตามอสเฟตสักหน่อยครับ
ถ้าจะว่ากันตามจริงแล้ว การที่ผมใช้มอสเฟต J162/K1058 เสียงย่อมต่างจากต้นแบบที่ทาง CEW ทำไว้ ซึ่งมอสเฟตแต่ละเบอร์ก็มีดีกันไปคนละด้าน โดยส่วนตัวผมชอบใช้มอสเฟตคู่นี้เนื่องจากราคาไม่สูง และถูกใช้ในแอมป์ดังๆ ของโลก เช่น BOW ZZ1 นอกจากนี้ยังถูกใช้ใน Integrated ตัวดัง Aura VA-100 ซึ่งเป็นค่ายในเครือ B&W เมื่อสิบกว่าปีก่อน




และก็อยู่ในเครื่องกระสือของผมเหมือนกัน

                                                           (http://upic.me/i/bu/dsc07108.jpg) (http://upic.me/show/16684155)
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 05:12:32 PM
 ขอบคุณครับ ที่เสียสละเวลามาทำหน้าที่ผู้ดูแลให้หมู่บ้านเรา  มาถึงก็ทำหน้าที่เลย เดี๋ยวผมขอนอนสักอิ่มนึงให้ร่างกายฟื้นซะก่อน เขียนไว้กว่าสิบปี จะขอปล่อยให้หมดมุขซะที่นี่เลย
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: electron ที่ 23 พฤศจิกายน 2010, 05:15:49 PM
และก็อยู่ในเครื่องกระสือของผมเหมือนกัน

     ของน้า.... ไม่ใช่นะครับ ของน้าเป็น OCL ครับ ไม่ใช่ OTL คนละแบบกันครับ  
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 09:07:40 AM
ตัวต้นแบบปรับกระแสต่ำสุด 120 mA เนื่องจากติดค่าโวลต์ดรอบไดโอด 1N4148 2 ตัวที่อนุกรมกันในภาคไบอัส ประมาณ 1.2V ถือว่ากำลังดีสำหรับไบอัสมอสเฟตเบอร์นี้ เลยขอใช้เทสไปก่อน
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 09:42:06 AM
ประกอบเสร็จเปิดวอร์มด้วยแผ่นเทสไว้ 2 ชม ก่อนฟังเสียง ....โอ้แม่เจ้า รายละเอียดเสียงชัดเจนใกล้เคียงมอสเฟต 120 วัตต์ของลุงตรอน เบสมาเต็มๆ ทั้งปริมาณและอิมแพค สามารถขับ 2.5 Clone ได้อย่างสบายครับ ผมเทสกับแผ่นซีดีไทยของเสก โลโซ เสียงเส้นสายกีตาร์+เสียงกลอง ออกมาได้อย่างถึงลูกถึงคน ......... สรุปเบื้องต้น เสียงดีกว่าแอมป์ OCL หลายๆ ตัวครับ

อันนี้เป็นขุมพลังที่ใช้เทสครับ หม้อแปลงเทอรอยด์ 44V 5A
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 10:05:16 AM
แอมป์ที่ดีต้องสามารถรองรับอารมณ์เพลงได้หลากหลาย เลยต้องลองกับเพลงหลายๆแนว เลยจัดแผ่นเพลงร้องหวานๆ ของ อรวี ด้วยเพลง "หากรัก" (เพลงนี้เดิมเป็นเพลงที่ อ๊อดคีรีบูน ร้องไว้เมื่อ 20 กว่าปีก่อน เพราะมากๆ) เสียงที่ออกมาชัดแต่ไม่หวาน ฟังดีแต่ไม่ได้อารมณ์ ตามด้วยแผ่นเทศของ Kenny G น้าแกเป่าซูบราโนได้ทะลวงโสดประสาทกัดหูดีแท้ (เสียงจัดเกินครับ) อย่างนี้ปล่อยไว้ไม่ได้ครับ ... ต้องโม

แต่เดิมเลยผมใช้ C-Elna ทุกตัว เนื่องจากซียี่ห้อนี้ให้เสียงเป็นกลางที่สุดสำหรับหูผม อาจจะมีเสียงขุ่นบ้างมัวบ้าง ยังไม่ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะสุดท้ายเรายังมีไม้ตายคือ "ไบแคป" เหลืออยู่
หลังจากลองมาพักใหญ่ก็มาลงตัวที่
-C1 = SCR (C-input)..... ลองยี่ห้ออื่นแล้วเสียงกลางแหลมจัดไปหน่อย (อยากลอง Jensen เหมือนกันแต่ไม่มีของ น้าท่านใดมีอยู่แต่ไม่ใช้ส่งมาให้ผมก็ได้ ยินดีรับคร๊าบบ
-C6 = Rubycon (C-output) 1000uF 2 ตัวขนานกัน ...... ใจจริงอยากได้ค่ามากกว่านี้แต่ผมไม่มีของ เดี๋ยวว่างๆจะหาโอกาสเข้าไปขนที่บ้านหม้อซักรอบนึง
-C3 = Pana (C-bypass NFB) .... ผมลอง Nippon ก็ให้เสียงออกมาดีครับ แต่ Pana ให้เสียงที่ใสกว่านิดหน่อย
-C-filter (Power supply) = Nippon

การเลือกใช้ซี เป็นศิลปะครับ ต้องค่อยๆ ผสมผสานจนได้จุดที่ดีที่สุด .....แต่ละวงจรก็ให้ผลที่แตกต่างกันออกไป ต้องค่อยๆทำแบบเคสบายเคส ยิ่งเป็นวงจรพวก OTL ด้วยแล้วถ้าผสมซีไม่ดี เสียงที่ออกมาจะต่างกันหน้ามือกับหลังมือครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 10:46:43 AM
 เยี่ยมเลยครับ ยาวววววววววววววว............ไปเลยยยยยยยยยยยยยย ครับ น้าสรรเสริญ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: mannjuu ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 11:01:52 AM
OTL OCL มันคืออะไรหรอครับน้า
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 11:27:46 AM
OTL OCL มันคืออะไรหรอครับน้า
 OTL (Output Tranformer Less) และ OCL(Output Capacitor Less)

      Amp OTL คือ แอมป์ที่ใช้ตัวเก็บประจุคับปลิ้งสัญญาณออกลำโพง ตามชื่อของมัน จะไม่ใช้หม้อแปลงคับปลิ้งลำโพง เมื่อสมัยก่อนเขาใช้หม้อแปลงขับลำโพงกัน
แอมป์ OTL จะขับเสียงทุ้มได้ ไม่ดีที่สุด แต่สร้างง่าย ใช้แหล่งจ่ายไฟเพียงชุดเดียว แรงดันสูง กระแสไม่มากนัก แอมป์ประเภทนี้ เสียงดังดีพอสมควร และจุดเด่นอีกอย่าง คือ ลำโพงไม่ขาดบ่อย

     Amp OCL คือ แอมป์ที่ไม่ใช้ตัวเก็บประจุคับปลิ้งสัญญาณครับ เป็นแอมป์ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุปัน เพราะไม่สูญเสียเสียงทุ้ม แหลมก็ไม่ขาดแคลน เพราะ เชื่อมต่อเป็นแบบโดยตรง  แต่ก็มีต้องใช้แหล่งจ่ายไฟ แบบมีไฟ 3 เส้น คือ บวก ลบ และ กราวน์ ทำให้ยุ่งยากกว่าแบบเดิม
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 12:30:19 PM
น้า create อธิบายระบบ OTL VS OCL ได้ชัดมากครับ ..... ไม่แน่นะครับ เรื่องนี้ลุงตรอนอาจเอามาเขียนลงห้อง SS ก็เป็นได้ เห็นจ่อหัวข้อไว้แล้วด้วย

ภาพลักษณ์ของแอมป์ OTL แต่เดิมคือ เสียงเบสไม่ดี ไม่หนักแน่น เนื่องจากมีซีมากั้นที่เอาต์พุต ...... ซึ่งจุดนี้ไม่ได้เป็นจริงไปเสียทั้งหมด ยังมีสาเหตุอื่นมาประกอบด้วย เราต้องย้อนเวลากลับไปดูตอนแอมป์ OTL เกิด ในสมัยนั้นเป็นช่วงที่แอมป์หลอดเฟื่องฟูสุดขีดแล้วก็ว่าได้ ทรานซิสเตอร์เกิดใหม่กำลังมาแรงเนื่องจากตัวเล็กกินไฟน้อยให้วัตต์เยอะ และระบบที่ออกแบบกันครั้งนั้นคือ OTL นักออกแบบแอมป์ทรานซิสเตอร์ยุคนั้นส่วนมากจะแปรพรรคมาจากหลอด ดังนั้นบุคลิกเสียงแบบหลอดจะติดตัวหลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นเสียงทุ้มแบบนุ่มๆ กลางลื่นไหล ถ้าใครได้ฟังแอมป์ OTL รุ่นเก่าๆ จะสัมผัสได้ถึงบุคลิกเสียงเหล่านี้ ส่วนเรื่องเบสผมมองว่าเป็นความจงใจของผู้ออกแบบที่เข้าไปกำหนดบุคคลิกในวงจร เช่น จัด Open loop gain ไว้ไม่สูงนัก (แต่ถ้าเทียบกับแอมป์หลอดถือว่าสูงกว่ามากมาย) การไบอัสทรานซิสเตอร์ภาคหน้าที่ไม่แรงมาก ทำให้เสียงโดยรวมออกมาเป็นแบบฟังสบายมากกว่า แถมบางวงจรยังให้เสียงหวานไปทางหลอดอีกต่างหาก

แต่กับแอมป์ OTL ตัวที่ผมนำเสนอนี้ไม่ได้เป็นแบบนั้น เบสมาเหลือๆ ครับ ท่านใดชอบเบสเป็นลูกแบบสะใจ กลางแหลมมาครบเครื่อง จัดตามวงจรนี้ได้เลย (คอหลอด โดยเฉพาะ SE ไม่แนะนำให้เล่นนะครับ) หลังจากที่ผมเบิร์นทิ้งไว้ 1 วัน + 1 คืน ต่อฟังร่วมกับปรี Astra เสียงออกมานี่เบสเป็นเบส กลองเป็นกลองครับ เสียงกีตาร์ไฟฟ้า ออกมาชัดทุกเส้น จุดสำคัญอยู่ที่พลังครับ แอมป์ตัวนี้สเปคบอก 30 วัตต์ก็จริง แต่สามารถขับเจ้า 2.5 Clone ได้อย่างสบาย ไม่อายแอมป์นอกครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 12:48:15 PM
อันนี้เป็นแบบ PCB ที่ทาง CEW ลงไว้ในเล่ม 212 ท่านใดต้องการทำเวอร์ชั่นนี้ ลองหาซื้อหนังสือมาดู 80 บาทเอง ถือเป็นการอุดหนุนคนทำหนังสือดีๆ ครับ


หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: electron ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 12:48:31 PM
              เรื่องนี้ลุงตรอนอาจเอามาเขียนลงห้อง SS ก็เป็นได้  

            คงไม่ไปไกลถึงขนาดนั้นครับ แค่โครงสร้างของอุปกรณ์แต่ละตัวที่ควรรู้จักคับ แบบว่ามีการแลกเปลี่ยน อิเลคตรอนระหว่างอะตอม อย่างไร เป็นประเภทไหน ใช้ในงานอะไรบ้าง ประมาณนี้เองคับ ฮิ ฮิ ... น้าสรรเสริญน่าจะเขียนได้ลึกซึ้งกว่าผมคับ ... เอาหน่อยนะ นะ แบบไปเรื่อยๆ ของวิวัฒนาการของแอมป์แต่ละแบบครับ.. นะ นะ  
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 01:02:16 PM
             เรื่องนี้ลุงตรอนอาจเอามาเขียนลงห้อง SS ก็เป็นได้  

             คงไม่ไปไกลถึงขนาดนั้นครับ แค่โครงสร้างของอุปกรณ์แต่ละตัวที่ควรรู้จักคับ แบบว่ามีการแลกเปลี่ยน อิเลคตรอนระหว่างอะตอม อย่างไร เป็นประเภทไหน ใช้ในงานอะไรบ้าง ประมาณนี้เองคับ ฮิ ฮิ ... น้าสรรเสริญน่าจะเขียนได้ลึกซึ้งกว่าผมคับ ... เอาหน่อยนะ นะ แบบไปเรื่อยๆ ของวิวัฒนาการของแอมป์แต่ละแบบครับ.. นะ นะ  

ลุงรู้ป่าว ผมไม่อยากเขียนถึงประวัติศาสตร์สักเท่าไรอ่ะ ถาม 10 คนได้มา 10 คำตอบ  ไม่รู้ว่าอันไหนถูกอันไหนมั่ว เพราะสมัยก่อนช่วงปี 50-70 ข้อมูลข่าวสารหาอ่านยาก ผมเกิดไม่ทันอีกต่างหาก อาศัยบอกต่อกันเป็นส่วนใหญ่ กว่าจะเดินมาถึงวันนี้ได้เล่นเอาหลงไปหลายป่าอ่ะครับ  แต่เพื่อพี่น้องและผองเพื่อนจะลองจัดดู อันไหนเห็นว่าท่าจะผิดเป้า ก็ช่วยๆ กันดึงหน่อยนะครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 04:09:54 PM
ลุยโปรเจคต่อครับ.....
งบตัวนี้ไม่แรงนะครับ เอาแบบฟังได้หม้อแปลง EI ไม่มีกล่อง 1500 บาทเอาอยู่ คุณภาพเสียงไม่แพ้แอมป์ไฮเอนด์ระดับ Budjet หากทำแล้วไม่พอใจสามารถเก็บอุปกรณ์ไว้ลุยโปรเจคหน้าได้อีกครับ

เท่าที่ฟังเจ้ามอสเฟต OTL นี่มาระยะนึง รู้สึกว่าเสียงมันจริงจังมากไป อยากจะเติมความใส ใส่ความหวานเข้าไปสักหน่อย ครั้นจะเล่นกับอุปกรณ์อย่างเดียวคงไม่บรรลุง่ายๆ คงต้องเล่นถึงวงจรกันซะแล้ว...... ท่านใดที่เคยเล่นแอมป์ SS มาคงจะพอรู้บุคลิกของมอสเฟตว่าสามารถตอบสนองต่อสัญญาณเสียงได้ไวมาก การที่จะทำให้มอสเฟตเสียงหวาน จะต้องทำให้มันทำงานได้ช้าลง และต้องใช้อัตราการป้อนกลับที่ต่ำ ...... เรื่องชักยาวแล้วสิ พรุ่งนี้มาว่ากันต่อครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 08:41:31 AM
หลังจากคิดอยู่พักใหญ่ว่าจะทำอย่างไรถึงจะเติมความใส ใส่ความนุ่มนวลเข้าไป โดยไม่ไปกระทบกับอิมแพคกับมวลเสียงเดิมที่ดีอยู่แล้ว ก็ได้ Solution ง่ายๆ ออกมาอันนึงคือเปลี่ยนภาคเอาต์พุตเป็นทรานซิสเตอร์ โดยเลือกเบอร์ที่เด่นในการตอบสนองไปทางกลางแหลมดีๆ ก็คือ 2SC5200/2SA1943 ยอดนิยมนั่นเอง ซึ่งเจ้าทรานซิสเตอร์คู่นี้ออกแบบมาใช้กับแอมป์วัตต์สูง (230V/15A/150W) แถมมีค่า FT สูงถึง 30 MHz เลยออกนอกแบนด์ออดิโอไปไกล ราคาบ้านเราคู่นึงตก 60-70 บาท ถือว่าไม่แพงสำหรับสเปคขนาดนี้
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 09:11:11 AM
เมื่อเลือกที่จะเปลี่ยนภาคเอาต์พุตเป็นทรานซิสเตอร์ ก็ต้องมีภาคไดรฟ์ ในเบื้องต้นผมเลือกทรานซิสเตอร์ไดรฟ์เบอร์เล็ก 2SD667/2SB647 ก็เพียงพอสำหรับแอมป์ขนาด 30W

ทำไมทรานซิสเตอร์ต้องมีภาคไดรฟ์ ?? แล้วกรณีมอสเฟตล่ะต้องมีภาคไดรฟ์หรือเปล่า ??
-กรณีทรานซิสเตอร์ (ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Bipolar Transistor) ทรานซิสเตอร์เองจะทำงานด้วยกระแส ถ้าเราต้องการให้กระแส Ic ไหล ก็ต้องป้องกระแส Ib เข้าไปในตัวมัน ในกรณีแอมป์ 30W @8 Ohm จะต้องใช้ Ic=2A ทำให้เราต้องป้อน Ib=2A/80 = 25mA (คิดที่ hFE=80) ..... กระแสไดรฟ์ขนาดนี้ลำพังทรานซิสเตอร์ตัวน้อยๆ ในภาคอินพุตไม่สามารถทำได้ จึงต้องเพิ่ม Drive Transistor เข้ามาครับ
-กรณีมอสเฟต (MOSFET) เป็นอุปกรณ์ Transconductance คือ ถ้าเราจะให้กระแส Id ไหล ก็ต้องป้อน Vgs เข้าไปที่ขาเกตของตัวมัน ซึ่งขาเกตนี้ตามโครงสร้างจะเป็นขาที่ถูกแขวนลอย เวลาใช้งานจะไม่มีกระแสไหลเข้าไปที่เกต (ยกเว้นกระแสรั่วไหลเท่านั้น) ทำให้ไม่ต้องมีภาค Drive มาขับมัน (จริงๆ แล้วยังมีข้อมูลลึกๆ เกี่ยวกับการขับมอสเฟตอีกมาก เอาไว้โอกาสหน้าจะเล่าให้ฟังอีกทีครับ)

หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 09:22:51 AM
มาดูวงจรจริงๆ กันครับว่า จะใช้งานได้อย่างที่เราคาดหวังเอาไว้หรือเปล่า........

จุดแรกที่ต้องคำนึงถึงคือแรงดันไบอัส ซึ่งหลังจากที่เราเปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์เป็นภาคเอาต์พุตแล้วนั้นเราต้องดูว่าวงจรไบอัสมีความสามารถในการสร้างไฟไบอัสให้ทรานซิสเตอร์ทั้ง 4 ตัวพอที่จะให้มันทำงานได้สูงสุดหรือไม่ (0.6V*4 = 2.4V) หลังจากที่ลองพิจารณาวงจรไบอัสที่ใช้ไดโอด 2 ตัว + VR 5k น่าจะยังพอสร้างไฟตกคร่อมระดับ 2V ได้อยู่ เลยขอใช้เทสไปก่อน
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 10:19:44 AM
มาดูตัวต้นแบบกันครับ..... โมดิฟายจากบอร์ดมอสเฟต ทรานซิสเตอร์ 2SD667/2SB647 ไม่มีในคลังแสง เลยจับ 2SD669/2SB649 ใส่ไปแทน ผลออกมาใช้ได้อย่างที่หวังไว้ครับ
 
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 10:32:40 AM
ทำเสร็จต้องวัดสัญญาณครับ เพื่อป้องกันปัญหาแอบแฝง เช่น Phase shift การผิดเพี้ยนของสัญญาณรูปไซน์

-อันดับแรกขอวัดดูก่อนว่าที่โหลด 8โอห์มจะได้สักกี่วัตต์
ภาพแรกผมวัดที่ความถี่ 1kHz รูปคลื่นสูงสุดก่อนคลิป (วัดขณะรูปคลื่นยังสวยสด) วัดด้วย Probe X10 ได้ออกมา 45Vp-p .......คำนวณเพาเวอร์เอาต์พุตได้ 31Wrms

-อันดับต่อมาขอดูสัญญาณรูปคลื่นขณะถูกขลิปเต็มๆ ปรากฎว่าวัดได้ 57Vp-p ลองคำนวณเพาเวอร์ที่จุดนี้ดู ได้ออกมา 50Wrms ....... หมายความว่าเจ้าแอมป์ตัวนี้สามารถรับ Transient อย่างน้อยๆ ก็ 50W ไม่ธรรมดาครับ

หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 10:38:37 AM
มาดูความงามของรูปคลื่นสัญญาณที่เพาเวอร์ 1Wrms @8 Ohm กันบ้าง (วัดด้วย Probe X1)

-รูปบนเป็นการตอบสนองสัญญาณ Sinewave 1kHz สวยปิ๊ง เฟสนิ่งสนิท
-รูปล่างเป็นการตอบสนองสัญยาณ Squarewave 1kHz ยังสวยเหมือนเดิม (ที่เห็นบิดเบี้ยวเล็กน้อยนั้นเกิดจาก Signal gen ของกระผมเองครับ)

หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 10:42:42 AM
มาดูกันต่อที่ความถี่สูงขึ้น

-รูปบนเป็นการตอบสนองสัญญาณ Sinewave 20kHz ยังสวยปิ๊ง เฟสนิ่ง
-รูปล่างเป็นการตอบสนองสัญญาณ Squarewave 20kHz สัญญาณขาไต่ขึ้นเริ่มโค้ง เกิดจากการลิมิตแบนวิดท์ของวงจร และก็มีลูกเสริมมาจาก Signal gen ด้วยอีกส่วนนึง

หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 10:48:22 AM
อันดับต่อไปเป็นการเทส Frequency response ของวงจรที่จุด -3dB ด้านความถี่ต่ำผมวัดได้ต่ำกว่า 20Hz แต่ไม่สามารถถ่ายรูปได้ เนื่องจากสโคปที่ใช้เป็นแบบอนาล็อกทำให้เห็นสัญญาณไม่ต่อเนื่อง ส่วนด้านความถี่สูงนั้นวัดได้ที่ 72kHz เลยจุดสูงสุดที่หูได้ยินไป 3 เท่า จัดว่าทำได้ดีครับ

หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 04:04:43 PM
หลังจากผ่านการตรวจสอบทางเครื่องมือวัดเรียบร้อย ก็มาว่ากันเรื่องเสียงต่อครับ
ทำแอมป์ OTL มีจุดนึงต้องทำใจคือ ช่วงเวลาเบิร์นอินค่อนข้างนาน ต้องใจเย็นมาก เนื่องจากใช้ C-electrolytic ในตำแหน่งสำคัญหลายตัว ผมอาศัยเปิดแผ่นเบิร์น+อัดหนักๆ ชนิดแผ่นระบายความร้อนเอามือจับแทบไม่ได้ทิ้งไว้ข้ามวันข้ามคืนครับ

เสียงเจ้า OTL หลังจากเปลี่ยนเอาต์พุตเป็นทรานซิสเตอร์ ออกมาใสเนียนกว่ามอสเฟตมาก เบสก็เปลี่ยนไปอิ่มนุ่มขึ้นขณะที่อิมแพคยังอยู่ หัวเสียงช่วงโซโล่กลองฟังได้ชัดเจน ปลายแหลมเปิด
-แผ่นแรกกับเสก โลโซ เพลงคุ้นเคยกันดี "14 อีกครั้ง" เสียงเสกร้องได้ใสและมีพลัง เสียงกลอง เสียงกรุ๊งกริ๊ง สดใสน่าฟัง
-แผ่นอรวี "หากรัก" เสียงใสอมหวาน ได้อารมณ์ดี (แต่ไม่ออดอ้อนแบบหลอด) แถมเพลง "ว้าเหว่" ไปอีก 1 เพลง ถ่ายทอดอารมณ์เหงาออกมาทำเอาคนทดสอบคล้อยตาม
-แผ่นลูกทุ่งของค่ายแกรมมี่ "ดวงจันทร์ กลางดวงใจ 3" เพลงรักบ้านทุ่ง เสียงใสเข้าถึงอารมณ์ น้องแพรวา นี่เสียงใสจริงๆ
-แผ่นเทส Drum จากค่าย Shefield lab เสียงกลองไม่อัดแน่นเท่าเวอร์ชั่นมอสเฟต แต่เสียงช่วงไม้ลงกระทบกลองน่าฟังกว่า ช่วงรัวกลองผ่านฉลุยครับ
-ถ้าฟังเพลงที่ความดังระดับพอดี จะไม่รู้เลยว่าที่กำลังฟังอยู่เป็นแอมป์ OTL ด้วยกำลังเพียง 30 วัตต์

มาดูข้อด้อยกันบ้างเมื่อเทียบกับมอสเฟต 120 วัตต์ และ EL84PP
-รายละเอียดเสียงลึกๆ เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เจ้ามอสเฟตจะปล่อยออกมาให้ได้ยินตลอด แต่กับเจ้า OTL ตัวน้อยเสียงบางช่วงมันเอาความเนียนมากลบซะงั้น กลายไปความไหลลื่นไป
-เบส มอสเฟตควบคุมได้ดีกว่าลงลึกกว่า ถ้าเปิดดังๆ กลองของมอสเฟตใบจะใหญ่กว่า
-ความหวานความผ่อนคลายสู้ EL84PP ไม่ได้ เสียงเจ้า OTL จะออกไปทางสดใสออกแนวโชว์เพาว์ เร้าอารมณ์ตลอด


หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 07:07:56 PM
หากมองเห็นรูปเล็กไป ให้ใช้เม้าคลิ๊กที่รูป มันจะขยายให้อัตโนมัติครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: remus ที่ 26 พฤศจิกายน 2010, 10:05:56 PM
ขอบคุณครับ ขอเก็บความรู้ไปเรื่อยก่อนนะครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: katip ที่ 28 พฤศจิกายน 2010, 09:46:14 PM
หลังจากคิดอยู่พักใหญ่ว่าจะทำอย่างไรถึงจะเติมความใส ใส่ความนุ่มนวลเข้าไป โดยไม่ไปกระทบกับอิมแพคกับมวลเสียงเดิมที่ดีอยู่แล้ว ก็ได้ Solution ง่ายๆ ออกมาอันนึงคือเปลี่ยนภาคเอาต์พุตเป็นทรานซิสเตอร์ โดยเลือกเบอร์ที่เด่นในการตอบสนองไปทางกลางแหลมดีๆ ก็คือ 2SC5200/2SA1943 ยอดนิยมนั่นเอง ซึ่งเจ้าทรานซิสเตอร์คู่นี้ออกแบบมาใช้กับแอมป์วัตต์สูง (230V/15A/150W) แถมมีค่า FT สูงถึง 30 MHz เลยออกนอกแบนด์ออดิโอไปไกล ราคาบ้านเราคู่นึงตก 60-70 บาท ถือว่าไม่แพงสำหรับสเปคขนาดนี้

น้าครับ  สามารถใช้แทนโดยตรงโดยไม่ต้องสลับขาใช่ไหมครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 29 พฤศจิกายน 2010, 09:04:05 AM
หลังจากคิดอยู่พักใหญ่ว่าจะทำอย่างไรถึงจะเติมความใส ใส่ความนุ่มนวลเข้าไป โดยไม่ไปกระทบกับอิมแพคกับมวลเสียงเดิมที่ดีอยู่แล้ว ก็ได้ Solution ง่ายๆ ออกมาอันนึงคือเปลี่ยนภาคเอาต์พุตเป็นทรานซิสเตอร์ โดยเลือกเบอร์ที่เด่นในการตอบสนองไปทางกลางแหลมดีๆ ก็คือ 2SC5200/2SA1943 ยอดนิยมนั่นเอง ซึ่งเจ้าทรานซิสเตอร์คู่นี้ออกแบบมาใช้กับแอมป์วัตต์สูง (230V/15A/150W) แถมมีค่า FT สูงถึง 30 MHz เลยออกนอกแบนด์ออดิโอไปไกล ราคาบ้านเราคู่นึงตก 60-70 บาท ถือว่าไม่แพงสำหรับสเปคขนาดนี้

น้าครับ  สามารถใช้แทนโดยตรงโดยไม่ต้องสลับขาใช่ไหมครับ

ใส่แทนเฉยๆเลยไม่ได้ครับ ต้องแก้ไขวงจรขับใหม่ ดูรูปวงจรในกระทู้ต้นๆ นะครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 29 พฤศจิกายน 2010, 09:13:16 AM
มาลุยกันต่อในส่วนของแผ่น PCB ครับ
ตัว PCB ผมออกแบบเป็นแผ่นเล็กๆ ให้สามารถยึดติดบนแผ่นระบายความร้อนได้เลย ตัวงานจะเป็นลักษณะของโมดูล แยกชุดจ่ายไฟกับซีเอาต์พุตออกมาต่างหาก ซึ่งจะสะดวกมากตอนปรับเปลี่ยนหรืออัพเกรด

อันนี้เป็นเลย์เอาต์ด้านลงอุปกรณ์ที่ผมทำไว้ ส่วนด้านลายทองแดงรอให้ต้นแบบโอเคแล้วจะเอามาลงแจกทีหลัง เพื่อป้องกันความผิดพลาดครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 29 พฤศจิกายน 2010, 07:56:48 PM
วันนี้เข้าไปเก็บรายละเอียดงานเจ้า OTL ตัวนี้ เจอรูปคลื่นสัญญาณเพี้ยนที่ระดับความดังสูงๆ เลยจัดการ Improve ไปซะหลายจุด ผลออกมาได้เกินความคาดหมายครับ ...... ได้ทั้งคุณภาพเสียงและพลังเสียง
-เปลี่ยนค่า C-bootstraping กับ C-NFB ใหม่เป็น 100uF ทำให้วงจรตอบสนองความถี่ต่ำได้ดีขึ้นไปอีก
-ทำวงจรบูสแทรปใหม่ ได้ช่วงการสวิงสัญญาณมากขึ้นกว่าเดิม เกินความคาดหมาย คือ 57Vp-p คำนวณเพาเวอร์เอาต์พุตได้ 50Wrms @8 Ohm .......ได้กำลังเพิ่มขึ้นมาอีก 20 วัตต์ โดยที่ชุดจ่ายไฟเดิมๆ
-ทำวงจร Soft start ใส่ในชุดจ่ายไฟ ทำให้วงจรเซ็ตตัวได้นุ่มนวลกว่าเดิมมาก
นอกจากนี้ก็มีการเก็บงาน เล็กๆ น้อยๆ อีกจำนวนนึงในส่วนของ PCB และการ Wiring โดยพรุ่งนี้จะเริ่มทำบน PCB จริงครับ .......

ท่านใดที่มีอดีตฝังใจที่ไม่ดีกับ OTL ต้องลองทำตัวนี้ครับ บางทีท่านอาจจะลืมทั้งหลอดทั้ง SS-OCL    
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 30 พฤศจิกายน 2010, 01:36:01 PM
PCB จริงเสร็จแล้วครับ ผมออกแบบ แบ่งออกเป็นส่วนๆ เพื่อสะดวกในการแก้ไขและอัพเกรด
-บอร์ดแอมป์ ซ้าย-ขวา
-บอร์ดเอาต์พุต + บอร์ดชุดจ่ายไฟ

บ่ายวันนี้จะลงอุปกรณ์ พรุ่งนี้น่าจะได้ฟัง + จับลงกล่องได้
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 02 ธันวาคม 2010, 10:55:37 AM
ในที่สุดก็เสร็จซะที ทำเอาหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งครับ เสียงครบเครื่องและต่อเนื่องดีมาก ลบภาพเก่าๆ ของแอมป์ OTL ลงอย่างสิ้นเชิง
แอมป์ OTL ตัวนี้ให้เสียงที่เปิดเผย เบสมีน้ำหนัก กลางเคลียร์ใส แหลมไม่อั้น ที่สำคัญคือ พลังเหลือหลายขับลำโพงโหดๆ อย่าง 2.5 Clone ได้อย่างฉลุย

อันนี้เป็นวงจรที่อัพเดทล่าสุด ผมเปลี่ยนทรานซิสเตอร์เอาต์พุตเป็น 2N3055/MJ2955 ได้มวลเสียงที่ดีกว่าเดิม ฟังระรื่นหูกว่า ..... ถึงเบอร์จะเก่าแต่ดูถูกไม่ได้จริงๆ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 02 ธันวาคม 2010, 10:57:24 AM
อันนี้เป็นวงจรภาคจ่ายไฟ วงจรยุ่งนิดหน่อย เนื่องจากผมใส่ชุด Soft start เข้ามาด้วย ผลออกมาคุ้มค่าสุดๆ ครับ
หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 02 ธันวาคม 2010, 11:00:18 AM
อันนี้เป็นเครื่องต้นแบบ ผมจับลงกล่องขนาดกลางๆ ของ NPE ได้พอดีตัว ......ช่วงต้นผมจะต่อสายภายในไว้ค่อนข้างยาวสักหน่อย เพื่อความสะดวกในการถอดพลิกบอร์ดเปลี่ยนอุปกรณ์ พอลงตัว (พอใจคนทำ) ก็จะต้องตัดให้สั้นพอดีเท่าที่ใช้อีกที

หัวข้อ: Re: อีกสักครั้งกับ SS-OTL
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 02 ธันวาคม 2010, 12:11:42 PM
งาน R&D เสร็จเรียบร้อย......ไปเริ่มทำโปรเจคกันที่ห้องนี้เลยครับ

http://www.diyaudiovillage.net/index.php?topic=212.0