DIY มือใหม่ , TIPS & TRICKS , R&D SECTION > DIY มือใหม่

อุปกรณ์เริ่มเรื่อง

(1/24) > >>

JP74:
ผมก็ยังมือใหม่  ;D เลยพยายามหาข้อมูลเรื่องอุปกรณ์ที่ต้องใช้ หรือควรมีในงาน DIY Audio มาแบ่งกัน

(ไม่รู้ใหม่มากไปหรือเปล่า  มือเก๋า ๆ ทั้งหลาย อย่าเพิ่งเบื่อนะคับ  :D)

ถ้าคิดจะเริ่ม "ซน" ก็เริ่มกันได้เลยคับ

ไม่ต้องถึงขนาดทำเครื่องได้ทั้งตัว แค่เปลี่ยนนั่น เปลี่ยนโน่น เปลี่ยนนี่ ก็ได้เรื่องแล้ว(ตอนแรก ผมก็เริ่มจากจุดนี้ละคับ)

มาเริ่มกันที่อุปกรณ์ที่ใช้ในการบัดกรีกันคับ
 
พอดีไปเจอ ข้อมูลที่นี่ http://www.kmitl.ac.th/~s2010384/AUTOMATION%20ENGINEERING%20LABORATORY.htm
เลยขออนุญาตยกมาเฉพาะบางส่วน

หัวแร้ง(Soldering Iron)   เป็นตัวส่งผ่านความร้อนไปยังชิ้นงาน  จนชิ้นงานเกิดความร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้  
การบัดกรีที่ถูกต้องนอกจากหัวแร้งต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้แล้ว  ชิ้นงานที่จะบัดกรีก็ต้องร้อนพอที่จะหลอมละลายตะกั่วบัดกรีได้ด้วย  ถ้าชิ้นงานขนาดเล็กสามารถใช้หัวแร้งมีกำลังไฟฟ้าต่ำได้  ถ้าชิ้นงานขนาดใหญ่หัวแร้งต้องมีกำลังไฟฟ้าสูงขึ้นตามไปด้วย  มิเช่นนั้นอาจทำให้การบัดกรีไม่สมบูรณ์ได้


JP74:
ต่อจากหัวแร้ง ก็ต้อง

ตะกั่วบัดกรี(Solder Wire) คือวัสดุที่ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานรอยต่อของสายไฟหรือขาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าด้วยกัน หรือต่ออุปกร์อิเล็กทรอนิกส์เข้ากับลายวงจรพิมพ์ ส่วนประกอบมาจาก ตะกั่ว  ดีบุก เงิน หรือทอง :o :o ในอัตราส่วนที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์การนำไปใช้
ตะกั่วบัดกรีส่วนใหญ่ตอนกลางของเส้นตะกั่วจะมีน้ำยาประสานหรือที่เรียกว่าฟลักซ์ (Flux) บรรจุอยู่ด้วยเพื่อช่วยในการทำความสะอาดผิวหน้าของจุดบัดกรีทำให้เกาะติดชิ้นงานได้ดี และช่วยเคลือบผิวตะกั่วบัดกรีและชิ้นงานไม่ให้เกิดสนิมอีก

 

JP74:
มีเริ่มแค่ 2 อย่างนี้ ก็เริ่มเรื่องกันได้แล้วคับ  จะเป็น "ได้เรื่อง" หรือ "หาเรื่อง"

ก็ค่อยว่ากัน  >:( >:(

มาถึง

วิธีบัดกรี กัน
ก่อนอื่นก็ต้องเตรียมผิวขอบชิ้นงานที่จะบัดกรีเสียก่อน ให้มีความสะอาด โดยการใช้คัตเตอร์ หรือกระดาษทรายขูดหรือถูที่จุดบัดกรีให้สะอาด
แต่อย่าขูดหรือถูแรงเพราะขาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ บอบบาง ขัดถูแรงๆ ระวังขาหัก
เมื่อทำความสะอาดจุดบัดกรีแล้วก็นำหัวแร้งมาเสียบปลั๊ก รอจนกว่าหัวแร้งจะร้อน พอที่จะทำให้ตะกั่วละลายได้ ซึ่งอยู่ในช่วง 15 วินาที ถึง 1 นาที แล้วแต่ยี่ห้อ และขนาดความร้อนของหัวแร้งตัวนั้นๆ ทดสอบได้โดยเอาตะกั่วลองมาแตะๆ ดูที่ปลายหัวแร้ง ถ้าละลายแปล ว่าใช้ได้แล้ว

JP74:
เมื่อหัวแร้งร้อนได้ที่แล้ว ก็นำปลายหัวแร้งไปจ่อไว้กับจุดที่บัดกรี แล้วเอาตะกั่วจิ้มลงไปตรงระหว่างหัวแร้งกับจะบัดกรี
ถ้าหัวแร้ง ขนาด 30 วัตต์ ก็สามารถยกหัวแร้งออกจากจุดบัดกรี ได้ทันทีที่ตะกั่วละลายหุ้มจุดบัดกรีได้ทั่วแล้ว
แต่ถ้าใช้หัวแร้งความร้อนต่ำกว่านี้ ก็ให้แช่หัวแร้งไว้ที่จุดบัดกรีอีกสักพัก (2-3 วินาที) แล้วจึงแยกออก
หลังจากเอาหัวแร้งออกจากจุดบัดกรีแล้ว ให้เป่าด้วยปากให้ตะกั่วแข็งตัวเร็วขึ้น แต่ถ้าเป็นจุดบัดกรีเล็กๆ
ก็ไม่ต้องเป่าก็ได้เพราะ ตะกั่วจะแข็งตัวเกือบทันทีที่ยกหัวแร้งออกจากจุดบัดกรี

JP74:
ก่อนจะจบเรื่องบัดกรี ก็ต้องมาถึงเรื่อง ถอนบัดกรี เป็นเรื่องสุดท้ายคับ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการ ถอนบัดกรี ที่นิยมมี 2 แบบ

แบบแรก กระบอกดูดตะกั่ว 

วิธีใช้ก็เพียงดันลูก สูบไปตำแหน่งด้านหน้าของกระบอก (โดยกดด้านท้าย) เมื่อลูกสูบถูกดันไปข้างหน้าจนสุดก็จะมีสลักล็อคให้
ลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่ง ด้านหน้า เพื่อเตรียมพร้อมที่จะดูดตะกั่วทันทีที่ปลดล็อค หลังจากที่นำปลายความร้อนของหัวแร้งมาจี้ที่
จุดต้องการถอนบัดกรี เพื่อให้ตะกั่วละลาย พอตะกั่วละลายแล้วจึงกดปุ่มปลดล็อค ลูกสูบจะถูกสปริงดึงกลับไปตำแหน่งท้ายอย่างรวดเร็ว
พร้อมกับดูดเศษตะกั่วที่หลอมละลายแล้วเข้าไปภายในกระบอก
เท่าที่ลองมา ใหญ่ไว้ก่อนเป็นต่อคับ  :D :D

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version