www.diyaudiovillage.net

Source & Line amp & Amplifier Project ผลงาน DIY => Vacuum Tubes => ข้อความที่เริ่มโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 12 ธันวาคม 2016, 10:05:25 AM

หัวข้อ: ว่าด้วยเรื่องการยกไฟจุดไส้หลอด
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 12 ธันวาคม 2016, 10:05:25 AM
      ขอยกเอากรณีตัวอย่างจากเคสของ 829 PPP ที่ทำไว้อย่างละเอียดแล้วมาเป็นกรณีศึกษานะครับ เพราะจะสามารถตอบโจทย์ได้อย่างครอบคลุมในเรื่องของการยกไฟจุดไส้หลอด ครับ

(http://upic.me/i/kt/829b_pp.jpg)

     จากวงจร mu follower ที่ใช้หลอด ECC88 เราจะต้องไปดูดาต้าของหลอดก่อนว่า Vkf  max ของหลอดเบอร์นี้ อยู่ที่เท่าไหร่

ข้อมูลของหลอด ecc88/6dj8 ใน datasheet คือ 

http://www.r-type.org/pdfs/ecc88.pdf (http://www.r-type.org/pdfs/ecc88.pdf)
http://www.r-type.org/pdfs/e88cc.pdf (http://www.r-type.org/pdfs/e88cc.pdf)

Voltage between cathode and heater
Cathode positive   Vkf max. 150V (DC. Component max. 130V)
Cathode negative   Vkf max. 50V

  หลอดเบอร์นี้มีหลายกลุ่ม ดังนั้นควรเช็คดาต้าชีสให้ตรงกับเบอร์ที่ใช้ด้วย ครับ

ส่วนข้อมูลของหลอด e88cc ใน datasheet คือ
Voltage between cathode and heater
Cathode positive   Vkf max. 150V
Cathode negative   Vkf max. 100V



หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่องการยกไฟจุดไส้หลอด
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 12 ธันวาคม 2016, 10:10:46 AM
   ข้อมูลจากวงจร    หลอด ecc88 ในวงจร ซีกบน ไฟที่ขา cathode คือ 147V ส่วนที่ ซีกล่าง ไฟที่ขา cathode คือ 2.5V

    ถ้าไม่ยกไฟใส้หลอด ที่ยกเอาเคสนี้มาเป็นตัวอย่างก็เพราะว่ามันครอบคลุมในเรื่องการยกไฟจุดไส้หลอด เคยสังเกตมั้ยครับ ว่าค่า Vkf เค้ามีแจ้งไว้ทั้ง positive และ negative แล้วมันจะนำมาใช้งานอย่างไรตอนไหน โดยเฉพาะเมื่อ Vkf เป็น negative มาดูกันครับ

ซีกบน Vkf (แรงดันที่ขา cathode เทียบกับแรงดันที่ขาใส้หลอด) คือ 147-6.3 = 140.7V

ส่วนซีกล่าง Vkf คือ 2.5-6.3 = -3.8V ซึ่งซีกบนค่าเกิน 130V ตามข้อมูลใน datasheet



ถ้าเรายกไฟใส้หลอดขึ้น +50V โดยใช้ R แบ่งแรงดันจากไฟ +250V แล้วเอามาต่อกับขาใส้หลอด
ซีกบน Vkf จะเป็น 147-50 = 97V ส่วนซีกล่าง Vkf จะเป็น 2.5-50 = -47.5V

ถ้าเรายกไฟใส้หลอดขึ้น +40V โดยใช้ R แบ่งแรงดันจากไฟ +250V แล้วเอามาต่อกับขาใส้หลอด
ซีกบน Vkf จะเป็น 147-40 = 107V ส่วนซีกล่าง Vkf จะเป็น 2.5-40 = -37.5V

ถ้าเรายกไฟใส้หลอดขึ้น +30V โดยใช้ R แบ่งแรงดันจากไฟ +250V แล้วเอามาต่อกับขาใส้หลอด
ซีกบน Vkf จะเป็น 147-30 = 117V ส่วนซีกล่าง Vkf จะเป็น 2.5-30 = -27.5V


      จะเห็นเราพยายามที่จะยกไฟจุดไส้หลอดโดยยึดข้อมูลจากดาต้าชีสหลอดเป็นหลัก ซึ่งในเคสนี้เราต้องดูทั้ง Vkf  ที่เป็น positive และ negative ครับ
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่องการยกไฟจุดไส้หลอด
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 12 ธันวาคม 2016, 10:12:36 AM
       ถ้าในวงจร Vkf สูงเกินสเปกของหลอดนั้นๆ แล้วเราไม่ยกไฟจุดไส้หลอด ก็อาจจะทำให้เกิด leakage current ระหว่าง cathode กับไส้หลอดขึ้นครับ คือจะมีกระแสไหลจาก cathode ไปใส้หลอด หรือมีกระแสไหลจากใส้หลอด ไป cathode ขึ้นอยู่กับว่า Vkf นั้นเป็น + หรือ - กระแสที่ว่านี้ ถ้าไฟใส้หลอดเป็น AC ก็อาจจะมีผลทำให้เกิด hum ขึ้นก็ได้  และ สุดท้ายหลอดอาจได้รับความเสียหายได้ครับหากต้องอยู่ในสภาวะเป็นระยะเวลานานๆ



 (https://i.imgsafe.org/ca86f97adb.gif)


    Vout = R2/(R1+R2)*Vin  ------1

 จากข้อมูลทั้งหมด   ถ้าใช้ R1 330k, R2 68k, +Vin 250V จะได้แรงดันที่ใช้ยกไฟใส้หลอดคือ [68 / (330 + 68)] x 250V = 42.7V
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่องการยกไฟจุดไส้หลอด
เริ่มหัวข้อโดย: chiko ที่ 12 ธันวาคม 2016, 01:31:57 PM
ขอบคุณครับ.. [0002053E]
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่องการยกไฟจุดไส้หลอด
เริ่มหัวข้อโดย: paas ที่ 12 ธันวาคม 2016, 02:52:58 PM
ขอบคุณครับ [0002053E] [0002053E]
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่องการยกไฟจุดไส้หลอด
เริ่มหัวข้อโดย: MACorPC ที่ 03 ธันวาคม 2017, 11:38:04 PM
 [0002053E]
หัวข้อ: Re: ว่าด้วยเรื่องการยกไฟจุดไส้หลอด
เริ่มหัวข้อโดย: Decoded ที่ 23 ตุลาคม 2023, 04:28:57 PM
ได้ความรู้ดีมากค่อยๆศึกษาและลองทำดูไปเรื่อยๆครับ  [finger16] [finger10] [finger2]