ผู้เขียน หัวข้อ: ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขาย  (อ่าน 23122 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ weera1

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 367
  • ถูกใจกด Like+ 4
ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขาย
« เมื่อ: 20 ธันวาคม 2011, 07:24:48 PM »
ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขายมีขนาดเท่าไรบ้างครับ
 พอดีอยากหัดพันหม้อแปลงบ้างแต่ อยากรู้ว่ามีขนาดประมาณให้บ้างจะได้เอามาคำนวนก่อนไปซื้อครับ

ขอบคุณครับ

ออฟไลน์ เอก-tubeamp

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 421
  • ถูกใจกด Like+ 8
  • คนพันหม้อ
Re: ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขาย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2011, 07:54:57 PM »
คร่าวนะครับ ที่จริงมีเยอะกว่านี้อีก 84*40 , 96*40 , 96*50 , 114*60 (ตัวเลขที่อยู่ด้านหน้า  ต้องหารด้วย 3 จะได้ขนาดแกนเหล็กครับ) เช่น 114*60 ก็คือ แกน 32 ความหนาของแกนเหล็กก็คือ 60 mm ครับ
ข้อมูลส่วนตัว
http://www.diyaudiovillage.net/index.php?topic=164.0

ออฟไลน์ weera1

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 367
  • ถูกใจกด Like+ 4
Re: ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขาย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2011, 08:13:38 PM »

84*40   = 28*40   =125va
96*40   =32*40    =160 va
96*50   =32*50    = 256va
114*60 = 38*60   =520va

ผมเข้าใจประมาณนี้ถูกต้องไหมครับ

ออฟไลน์ birdwhistle

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 93
  • ถูกใจกด Like+ 13
  • เพศ: ชาย
Re: ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขาย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2011, 10:18:54 PM »
หม้อแปลง แกน E กับ I เรียกว่า Shell type ครับ
แกนตัว E มีมาตรฐานดังนี้

3/8นิ้ว หรือ 10 มม.    1/2นิ้ว หรือ 13 มม.     5/8 นิ้ว หรือ 16 มม.     3/4 นิ้ว หรือ 19 มม.
1 นิ้ว หรือ 25 มม.     1 1/8 นิ้ว หรือ 28 มม.        1 1/4 นิ้ว หรือ 32 มม.      1 1/2 นิ้ว หรือ 38 มม.
1 3/4 นิ้ว  หรือ 44 มม.       2 นิ้ว หรือ 51 มม.      2 1/2 นิ้ว หรือ 63 มม.     3 นิ้ว หรือ 76 มม.

การใช้บ๊อบบิ้นสำเร็จรูปนั้น สะดวกดี  เพราะไม่ต้องนั่งเลื่อยแผ่น แบกาไลค์ หนา 0.8-1.0 มม. เพื่อทำบ๊อบบิ้นใช้เอง

การคำนวณออกแบบหม้อแปลง ถ้าจำนวนขด ไม่มากเกินไปนัก เราสามารถลดขนาดแกนเหล็กลงได้ โดยเพิ่มความหนาแทน
ซึ่งก็จะได้ พ.ท.หน้าตัดเท่าเดิม แต่หม้อแปลงจะขนาดเล็กและเบาลง

นอกจากนี้บ๊อบบอ้นที่ทำจากแผ่น แบกาไลค์ จะทนความร้อนได้สูงกว่าบ๊อบบิ้นพลาสติก

บางครัั้งอาจเห็นหม้อแปลงที่ทำงานต่อเนื่องนาน ๆ ร้อนจน บ๊อบบิ้นพลาสติกเสียรูปทรง
ความผิดพลาดของวงจรและอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพอาจทำให้หม้อแปลงโอเวอร์โหลด แต่ไม่ถึงกับฟิวส์ขาด
ลวดทองแดงจะร้อนสะสมจนทำให้บ็อบบิ้นเริ่มละลาย

ความลึกของชั้นแผ่นเหล็ก ต่อ ความกว้างของขนาดแกน E นั้น จากประสบการณ์การออกแบบและพัยหม้อแปลง
จะได้สูงสุด 1.5-2 : 1 
หากขดSecondaryหลัก เป็นแบบมี CT ซัก 2-3 ชุด อาจได้เพียง 1.5:1
แต่หากเลือกBridge rectifier และขดที่มี CT ไม่ต้องจ่ายกำลังมาก ก็อาจได้ถึง 1.8-2:1

แกนเหล็กหม้อแปลงที่สั่งซื้อตามท้องตลาดบ้านเรามักจะมีค่า Flux density ประมาณ 0.9-1 Tesla หรือ 60000-65000 เส้น/ตร.นิ้ว
นอกจากแกนเหล็กสั่งพิเศษ High Flux density ซึ่งจะสูงถึง ประมาณ 1.2-1.35 Tesla ฟรือ 80000-100000 เส้น/ตร.นิ้ว
ซึ่งสูตรหา พ.ท. สำเร็จ A= {SQR(VA)}/5.58   จะใช้ไม่ไได้ เพราะค่าคงที่ (k)  ของแกนเหล็กพิเศษ จะมากกว่า 5.58
 

 
 
     

 

ออฟไลน์ weera1

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 367
  • ถูกใจกด Like+ 4
Re: ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขาย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 20 ธันวาคม 2011, 11:02:32 PM »
ขอบคุณครับ

ถามเพิ่มอีกนิดครับถ้าผมอยากได้หม้อแปลงขนาด 60 va ควรจะใช้เหล็ก+บ๊อบบิ้น ประมาณเท่าไรครับ

ออฟไลน์ birdwhistle

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 93
  • ถูกใจกด Like+ 13
  • เพศ: ชาย
Re: ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขาย
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2011, 11:08:24 AM »
คุณ weera1 ครับ

เอาแบบจากการคำนวณเลยนะครับ (ไม่สนใจความหนาของบ๊อบบอ้นสำเร็จรูป) สำหรับแกนเหล็กตามท้องตลาดทั่วไป

ข้อมูลเมื่อคืน ผมลืมแกน ขนาด 7/8 นิ้ว หรือ 22 มม. ไปครับ แกนขนาดนี้ที่บ้านหม้อมีหม้อแปลงพวก 12-0-12 V หรือ 15-0-15 V 2 A ไม่เต็ม  ขายกันเยอะมาก

ที่ 60 VA คิดค่า Area factor = 0.95  หรือเผื่ออีกประมาณ 5 %

Area factor คือค่าเผื่อ พ.ท.หน้าตัด ของความหนาฉนวนเคลือบแกนเหล็กแต่ละแผ่น + Air Gap ของการวางซ้อนแกน

ถ้าใช้แกน 25 มม.ก็หนา 38 มม. ครับ
แต่ถ้าใช้แกน 28 มม. ก็หนา 33 มม.
และถ้าใช้แกน 32 มม. ก็หนาแค่ 30 มม. ครับ  (กว้างมากกว่าหนา ขนาดใหญ่ไปหน่อย ดูใหญ่ หนัก และบางไม่สวย)

หากจะหาบ๊อบบิ้นสำเร็จรูป ก็หาความหนาให้ใกล้เคียงที่สุดในทางที่หนาขึ้น


แกนแบบ High Flux density  1.2 Tesla
22x38  เล็กกระทัดรัดดี แต่ถ้าหากมีขด Sec.หลาย ๆ ขด ลวดอาจล้น
25x33  ขนาดกำลังดี
32x26  ใหญ่และแบนเกินไป ช่องหน้าต่างจะเหลือมากเกิน (ไม่สวย)  
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ธันวาคม 2011, 12:38:14 PM โดย birdwhistle »

ออฟไลน์ weera1

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 367
  • ถูกใจกด Like+ 4
Re: ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขาย
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2011, 02:27:34 PM »
ขอบคุณครับท่าน
คือจริงผมอยากได้หม้อแปลงประมาณ 50w แต่กลัวคำนวนแล้ว จะซื้อแกนกับบ๊อบบิ้นไม่ได้
เลยมาสอบถามเพื่อนๆดู ครับ เพื่อจะเป็นประโยชน์กับช่างปั่นหม้อมือใหม่  [roll]
เพราะหลายคนคงเป็นแบบผมว่า "แกนกับบ๊อบบิ้น ที่มีขายมีขนาดอะไรเป็นมาตราฐาน(นิยมใช้กัน)"
เพราะเคยลองคำนวนแบบเด็กใหม่ครับคือป้อนค่าแกนเป็นเลข ลงท้ายด้วย 0 หรือ 5 เพื่อความง่ายในการคำนวน แล้วโทรไปถามร้านขายอุปกรณ์
ก็เลยโดนสวนกลับมาว่า "แบบที่คุณอยากได้ไม่มีครับ"(แปลให้สุภาพ  [roll] )

 แล้วอีกอย่างครับตามที่ท่านแนะนำมา

"แกนแบบ High Flux density  1.2 Tesla
22x38  เล็กกระทัดรัดดี แต่ถ้าหากมีขด Sec.หลาย ๆ ขด ลวดอาจล้น
25x33  ขนาดกำลังดี
32x26  ใหญ่และแบนเกินไป ช่องหน้าต่างจะเหลือมากเกิน (ไม่สวย)  "


นี่แหละครับที่อยากได้มากๆ

แต่จริงๆแล้วก็ยังอยากได้แกนกับบ๊อบบิ้น ที่มีขายมีขนาดอะไรบ้างด้วยครับเพราะ น่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนมือใหม่ในอนาคตครับ


73

ออฟไลน์ birdwhistle

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 93
  • ถูกใจกด Like+ 13
  • เพศ: ชาย
Re: ขนาด E-I บอบบิ้น ที่มีขาย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2011, 03:46:39 PM »
ปกติที่ทำงานผมไม่ค่อยซื้อบ๊อบบิ้นสำเร็จรูปมาใช้เพราะเรามักคำนวณแล้วโยนให้นักศึกษาทำบ๊อบบิ้นให้

วการไม่อยากทำบ๊อบบอ้นเองนั้นไม่ยากครับ

เช่น ขนาดแกน 25 มม. ลึก 33 มม. เวลาหา "บ๊อบบิ้นมาตรฐานทีี่มีขาย"  โดนเลือกซื้อความลึกที่ลึกกว่า 33 มม. ก็ได้ครับ แต่อย่าตื้นกว่า 33 มม.

หรือสมมติว่าคำนวณได้ขนาดแกน 32 มม. ลึก 47 มม. แต่บ๊อบบิ้นมาตรฐานมีความลึก 50 มม. ก็ใช้ได้ครับ

การใช้บ๊อบบิ้นที่ลึกกว่า ต้องสอดแกนเหล็กมากขึ้น พ.ท.หน้าตัดก็มากขึ้น กำลังหม้อแปลงจะสูงขึ้น จะส่งผลดีต่อการทำงาน

นั่นคือ จะหลีกเลี่ยงสภาวะเส้นแรงแม่เหล็กอิ่มตัวได้ดี และหม้อแปลงตัวนี้ก็จะรับสภาวะโหลดได้ดีขึ้น

เพราะเมื่อ พ.ท.เพิ่ม พิกัดขนาด VA ก็จะมากขึ้นตาม

ต้องขออภัยที่ผมไม่มีข้อมูลขนาดบ๊อบบิ้นมาตรฐานทุก ๆ ขนาดที่มีขายในท้องตลาด

ผมจะรู้เพราะขนาดที่เคยเห็นเท่านั้น

การทำบ๊อบบิ้นเอง ใช้วัตถุดิบได้หลายอย่าง

1. แผ่น แบกาไลต์ หนา 1 มม.
2. แผ่นปริ้นอีพ็อกซี่ที่กัดเอาทองแดงออกทั้งหมดแล้ว
3. แผ่นไฟเบอร์ จะเป้นบ๊อบบิ้นที่ค่อนข้างอ่อนตัว แต่ร้านรับพันหม้อแปลงชอบนำมาพันขายให้ลูกค้าเพราะต้นทุนต่ำ