ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่องของ GainClone กับ GainCard  (อ่าน 26677 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« เมื่อ: 05 มีนาคม 2011, 04:54:10 PM »
เมื่องาน Hifi'99 show ที่รัฐชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา มีแอมป์สัญชาติญี่ปุ่นจากค่าย 47Lab ไปโชว์อยู่ในงาน สิ่งที่สะดุดตาผู้ที่เข้าชมคือแอมป์ตัวจิ๋วนามว่า 4706 Gaincard ซึ่งขายคู่กับ Power Humpty ราคาเบ็ดเสร็จอยู่ที่ 3300 USD คิดเป็นเงินไทยตอนนั้นก็ตกประมาณ 140000 บาทเศษ สิ่งที่ทำให้คนเข้าชมงานสนใจนอกจากขนาดรูปร่างและราคาแล้วก็คือเสียง ว่ากันว่าเจ้าแอมป์ตัวเล็กนี้ให้เสียงที่เป็นธรรมชาติและเข้าถึงดนตรีอย่างหาตัวจับยาก

*กระทู้นี้ผมขอใช้สิทธิ์ในการปรับแต่งหรือลบข้อมูล เพื่อความเป็นระเบียบของเนื้อหา โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบนะครับ*


ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 05 มีนาคม 2011, 05:39:49 PM »
Gaincard มี 2 เวอร์ชั่นคือ 25W กับ 50W ตัวที่ถูกรีวิวมากที่สุดคือตัว 25W ซึ่งมาแรงขนาดนักเล่นหลอดหลายท่านถึงกับต้องหยุดและหันมาฟังเสียงของเจ้า 4706 ตัวน้อยตัวนี้..... ลองมาดูรีวิวฉบับย่อจากสำนักต่างๆ ดูครับ

Stereophile
Gaincard ให้เสียงที่ชัดใสรายละเอียดละเมียดละไม แยกแยะชั้นความลึกได้ดี ให้ความฉับพลันได้ดีเป็นพิเศษ ......4706 ให้เสียงเบสที่ที่มีคุณภาพลงได้ลึกอย่างเป็นธรรมชาติ กลางชัดเจนตรงไปตรงมา ไม่ได้ออกแนวหวานไหลลื่น ขณะที่เสียงแหลมที่สะอาด เนียนไร้สากเสี้ยน นับเป็นแอมป์ที่โดดเด่นมาก

Enjoy the Music
ค่ายนี้เทคะแนนทดสอบไว้สูงมากเกือบเต็มร้อย ว่าด้วยเจ้า Gaincard เองสามารถถ่ายทอดความวิญญาณของดนตรีออกมาได้เป็นอย่างดี มีความใส เนื้อเสียงอิสระและมีจังหวะที่แม่นยำ

Positive Feed Back
เสียงดนตรีไหลลื่นเป็นธรรมชาติต่อเนื่องชวนติดตามจนลืมสนใจสิ่งรอบข้าง ......Gaincard ให้รายละเอียดสูง เบสแน่น แหลมชัดเจน รวดเร็ว และไม่ขึ้นขอบ

Listener
Gaincard ให้ความเป็นดนตรีที่เหนือกว่าแอมป์ไฮเอนด์ตัวอื่นๆ มันนำพาเข้าสู่อารมณ์เพลงได้อย่างเหนือชั้น ...... Gaincard ให้เสียงที่สดมีพลังฟังสนุกโดยไม่ล้าหู เสียงดนตรีมีความใส ถูกต้องและรวดเร็ว

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 05 มีนาคม 2011, 06:54:05 PM »
Design
Gaincard ออกแบบโดย Mr.Junji Kimura ชาวญี่ปุ่น ซึ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องเสียงมานานหลายสิบปี จนปี 1992 เขาได้ออกมาตั้งบริษัทของตัวเองเพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายในนาม 47 Laboratory ........

GainCard ถูกออกแบบให้ใช้อุปกรณ์น้อยชิ้นและมีทางเดินสัญญาณที่สั้น เพื่อสูญเสียความเป็นดนตรีน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ .... ทาง Mr.kimura ได้เลือกใช้ IC Audio amplifier Overtrue จากค่าย NS กับ Gaincard ของเขาพร้อมกับบอกทริกบางอย่างไว้คือ
1.ใช้อุปกรณ์น้อยที่สุด คือ 9 ตัวต่อข้าง ไม่รวมตัว Step atten
2.ทางเดินของสัญญาณสั้นที่สุด คือ 32 มม.
3.Feedback loop สั้นที่สุด คือ 9 มม.
4.ใช้ C-filter ค่าต่ำที่สุด คือ 1000uF สำหรับรุ่น 25W
5.ใช้หม้อแปลง C-core ขนาดใหญ่ถึง 170VA
6.โครงสร้างเป็นแบบ Dual mono แยกบอร์ดซ้าย-ขวา คนละกล่อง
7.ถัวถังทำจากอลูมิเนียมขนาดกระทัดรัด และแข็งแรง ลดปัญหาการสั่นสะเทือนได้ดี
8.ใช้ Step attenuator แยกอิสระซ้าย-ขวา
9.สามารถอัพเกรดเป็น Mono block ที่สมบูรณ์แบบได้ โดยใช้ Power Humpty 2 ตัว


ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 05 มีนาคม 2011, 07:08:37 PM »
Specifications (รุ่น 25W)
-Power output 25W ต่อข้างที่ลำโพง 8 โอห์ม
-Input impedance 22k เป็นแบบ Unbalance
-Volume เป็นแบบ Step atten 12 ตำแหน่ง แยกอิสระซ้าย-ขวา
-มีสวิตช์มิ้ว สำหรับตัดสัญญาณที่เอาต์พุต
-ขนาดตัวเครื่อง Gaincard 170(w)x40(h)x100(d) mm และ Power Humpty 130(dia.) x 195(d) mm.

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 05 มีนาคม 2011, 07:48:27 PM »
จาก Gaincard สู่  Gainclone
เมื่อกระแสความแรงของเกนการ์ดหลุดไปถึงหูนัก DIY ก็มีการหาข้อมูลกันอย่างขมักเขม้นเพื่อให้ได้มาซึ่งวงจร เวปไซต์ที่มีการพูดถึงเรื่องนี้มากที่สุดคงไม่พ้น diyaudio.com มีการวิเคราะห์เจาะลึกกันในนาม Chip Amp ในที่สุดก็ได้เบอร์ IC ออกมานั่นคือ LM3875 จากนั้นก็มีการเอา Data sheet มากางแล้ววิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับสเปคที่ทาง 47Lab นำเสนอไว้จนออกมาเป็นวงจร OPAMP แบบ Non-invert แล้วก็แตกแขนงออกเป็นวงจร OPAMP แบบ Invert วงจรแบบ Tube buffer และก็ T-network

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มีนาคม 2011, 10:02:28 AM โดย sansirn »

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 06 มีนาคม 2011, 10:03:40 AM »
Gainclone จาก RJM Audio
RJM ถือเป็นเวปแรกๆ ที่นำเสนอเกนโคลน ซึ่งถือว่าใกล้เคียงความเป็นจริงมาก มีการลงวงจรและลาย PCB ให้เสร็จสรรพ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ไว้พอสมควร สมัยผมเล่นแรกๆ ก็อาศัยข้อมูลจาก RJM เป็นไกด์ครับ

รายการอุปกรณ์ที่ใช้
R1 = 12 step ladder attenuator, use 22k, 4k7, 2k2, 1k5, 1k, 680R, 470R, 330R, 220R, 150R, 68R, 33R
R2 = 22k
R3 = 680R (R=Ohm)
R4 = 22k
R5 = 1R
C1 = 4.7uF50V Black Gate N series
C5 = 0.22uF63V WIMA MKS
C6,C7 = 1000uF25V United Chemicon LXV (เขาใช้หม้อแปลง 16V-0-16V เลยใช้ C ขนาด 25V ได้)
U1 = LM3875T

ข้อแนะนำการเลือกใช้อุปกรณ์ (เป็นความเห็นของทาง RJM นะครับ)
-C1 ใช้ 4.7uF50V Black Gate N series ให้เสียงที่ชอบมากกว่ารุ่นอื่นๆ (หมายถึงทาง RJM เขาชอบแบบนี้น่ะครับ)
-R2, R3, R4 ใช้แบบ Carbon film ...ถ้าใช้ Carbon composition เสียงจะเสียงจะมีน็อยส์และออกซิบๆ ...ถ้าใช้ Metal oxide เสียงจะติดหยาบ ...ถ้าใช้ Metal film เสียงจะขึ้นจมูก และคม
-R1 ใช้ Metal film
-R5 ใช้ Metal oxide

ลำดับความสำคัญของอุปกรณ์ที่กระทบกับเสียง (เป็นความเห็นของทาง RJM อีกเช่นกัน)
-หม้อแปลงสำคัญที่สุด ... หากใช้โวลต์ต่ำเสียงจะออกนุ่มและผ่อนคลาย ถ้าลำโพงที่ใช้ขับไม่ยากเขาแนะนำให้ใช้หม้อแปลง 12V-0-12V แต่ถ้าเสียงนุ่มไปก็ให้ขยับเป็น 16V-0-16V น่าจะเป็นจุดที่กำลังดี
-รองมาเป็นไดโอด ... ทาง RJM ถูกใจในพละกำลังของ Bridge diode 50A มากว่า (อันนี้เป็นรสนิยมส่วนตัวของเขาครับ)
-อันดับต่อมาคือ C
-สุดท้ายเป็น R

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 06 มีนาคม 2011, 10:51:24 AM »
ถอดรหัสเกนการ์ดจาก dogbreath
ในปี 2002 มีรูปถ่ายที่เชื่อกันว่าเป็นบอร์ดเกนการ์ดตัวจริงหลุดออกมา และได้มีการวิเคราะห์เจาะลึกถึงตัววงจร ซึ่งบอร์ดตัวนี้เป็นเวอร์ชั่นการวาง IC แบบนอน มีการใส่อุปกรณ์ทั้งด้านบนและด้านล่างของ PCB และมีจุดสังเกตว่ามีการต่อขา 11 ของ IC เข้ากับไฟลบร่วมกับขา 4  ส่วนระบบกราวด์เป็นการเชื่อมต่อกันจุดเดียวบนบอร์ด (Input+Output+Supply)

ตัววงจรเป็นแบบ Non-invert นับอุปกรณ์รวมได้ 9 ตัว (ไม่รวม Step atten) ตามที่ 47Lab เคยบอกไว้ ทางอินพุตมี C-dc blocking ชนิด Electrolytic ต่ออยู่ ส่วนทางเอาต์พุตก็มีการต่อ Zobel network เอาไว้ พร้อมกับมี Mute switch ตัดสัญญาณเอาต์พุตไว้สำหรับกรณีที่ต้องการปิดเสียง

รายการอุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับตัววงจร
Rg: = 22k
Rf = 22k
Ri = 680
Cz = 100nF
Cs = 1000uF
TF = 170 VA 23.5V, 3.6 A x 2
Diode = FE5D x 4

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 06 มีนาคม 2011, 11:23:31 AM »
Thorsten?s Invert Gainclone
เป็นอีกเวอร์ชั่นนึงของเกนโคลนที่แตกแขนงออกไปใช้วงจรแบบ Invert OPMAP วงจรนี้มีผลตอบรับที่ดีจากคนที่สร้างมัน โดยทางเทคนิคมันสามารถตอบสนองความถี่ลงได้ถึง10Hz ที่ -1.5dB (เมื่อใช้กับเครื่องเล่น CD ที่มี Zout = 200 Ohm) วงจรนี้มีเกนการขยายอยู่ที่ 22 เท่า หรือ 26dB (คิดที่ Zout ของแหล่งกำเนิดสัญญาณเป็นศูนย์)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มีนาคม 2011, 11:49:36 AM โดย sansirn »

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 06 มีนาคม 2011, 12:13:42 PM »
Gainclone with T-network feedback
วงจรนี้เดิมทีมีการพูดคุยกันใน diyaudio.com ในเรื่องของปรับปรุง Input impedance ของวงจร Invert Gainclone และในที่สุดก็สรุปออกมาเป็นวงจรอย่างที่เห็น วงจรนี้ต้องใช้ทฤษฎีชั้นสูงมาวิเคราะห์ ถ้ามองแบบผ่านๆ หรือใช้ความรู้พื้นฐาน OPAM จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่ามันทำงานอย่างไรและมีเกนขยายเท่าไร

วงจรแบบ T-network มีข้อดีในเรื่องของ Input impedance ที่สูงกว่าแบบ Invert ทั่วไป และว่ากันว่าเสียงที่ได้ก็ชัดเจนกว่า ใสกว่า และตัววงจรเองก็ไม่ซับซ้อนจนเกินไปนัก ทำให้สร้างกันได้ไม่ยาก และที่สำคัญวงจรนี้สามารถปรับ DC offset ได้ทำให้ลดปัญหาเรื่องคุณภาพของตัว IC ลงไปได้มาก

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: 06 มีนาคม 2011, 12:59:10 PM »
Tube-Buffered Gainclone จาก moxtone
เป็นการผสมระหว่าง Invert Gainclone กับ Tube buffer  6DJ8 เบ็ดเสร็จทำออกมาได้สวยทีเดียว แต่ผู้ที่จะสร้างต้องทำวงจรมิ้วที่เอาต์พุตให้ดี  มิฉะนั้นตอนเปิดเครื่องอาจมี DC ออกไปที่เอาต์พุต ซึ่งเป็นอันตรายต่อลำโพง

ลองมาดูอุปกรณ์ที่เขาใช้กันครับ
Power Supply
-TF = toroidal transformer 230V/8*12V/180VA
-Diode =  BYW95C
-C Samsung 470uF/100V 
Tube Buffer
-Tube E88CC (NOS Tesla CH), or ECC88 (OS Siemens)
-R standard metal-film
Output Amplifier
-IC LM 3875 
-C input 2u2/250V ROE MKT, LPF 2*680pF ROE MKC, 2*47nF/160V ROE MKP
-R standard metal-film

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: 06 มีนาคม 2011, 03:40:25 PM »
Tube-Buffered Gainclone T-network
เป็นไฮบริดเกนโคลนอีกตัวนึงที่สร้างไม่ยาก ภาคบัพเฟอร์ใช้หลอด 6DJ8 หรือ 6922 ทำงานที่ไฟต่ำ +/-35V ส่วนภาคขยายเป็นเกนโคลน T-network จัดเป็นวงจรที่มีความลงตัวดีมากวงจรนึง แต่การใช้งานจริงต้องมีวงจรมิ้วที่เอาต์พุตของแอมป์ในช่วงเปิดเครื่องเพื่อป้องกันไม่ให้ไฟ DC ออกไปทำลายลำโพง

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: 06 มีนาคม 2011, 04:03:50 PM »
Gainclone with a snubberized PSU
ตัวนี้เป็นผลงานของ Mr. Carlos Machado ทำไว้ที่ diyaudio.com เพื่อแก้ปัญหาอาการเสียงเฉื่อยและเสียงกลางไม่ดีเมื่อใช้ C-filter ค่าสูงๆ ถือเป็นวงจรที่ประสบความสำเร็จอย่างมากวงจรนึง สามารถเอาไปใช้ขับลำโพงกินวัตต์หรือลำโพงความไวต่ำได้เป็นอย่างดี

หน้าที่และอุปกรณ์ที่ใช้
-TF ต้องเป็นขนาด 22-24V 2 ขดแยกอิสระ
-Bridge ใช้ 2 ตัว ต่อกับหม้อแปลงขดละตัว
-R1,R2 เป็นตัว Discharge C-filter ขณะที่โหลดไม่ดึงกระแส
-R3,R4 เป็นตัวป้องกันกระแสกระชากเข้าไปชาร์จ C หลัก ในช่วงเปิดเครื่อง
-R5,R6,C9,C10 เป็นวงจร Snubber ชดเชยเสียงให้ลงตัว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มีนาคม 2011, 05:42:57 PM โดย sansirn »

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: 08 มีนาคม 2011, 10:00:02 AM »
เลือกทำวงจรไหนดี?
จากข้อมูลที่ผมนำมาให้ดูกันนั้น จะเห็นว่าเกนโคลนนั้นมีหลายวงจร แต่ละวงจรก็จะมีจุดเด่นของตัวเอง ว่ากันไปตามรสนิยมของผู้ออกแบบ ซึ่งถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าโครงสร้างหลักของวงจรจะวนเวียนซ้ำๆ กัน หากจะแยกกันจริงๆ จะได้ออกมา 3 แบบ คือ

Non-Ivert Gainclone
เป็นวงจรที่เหมือนกับตัวเกนการ์ดมากที่สุด มีการขยายสัญญาณที่ไม่กลับเฟส กล่าวคือเฟสสัญญาณอินพุตเข้ามาแบบไหน เอาต์ก็จะออกไปแบบนั้น .....วงจรนี้จะให้บุคคลิกทางเสียงไปทางชัดเจนจะแจ้ง ฟังสนุก เสียงดนตรีดีดดิ้นได้อย่างมีชีวิตชีวา เหมาะสำหรับเพลงออกแนววัยรุ่น ยิ่งกับเพลงร็อคแล้วบอกได้เลยว่าฟังได้มันมาก แต่กับเพลงร้องอย่างแจ๊สหรือลูกรุงก็ไปกันได้ดีเพียงแต่เสียงจะไม่หวานแบบหลอด

ข้อมูลทางเทคนิคที่ควรรู้
-เป็นวงจรขยายแบบไม่กลับเฟส มีเกนขยายที่ 33 เท่า สามารถใส่โวลลุ่มที่อินพุตแล้วต่อตรงกับเครื่องเล่นซีดีหรือแหล่งกำเนิดสัญญาณได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องใช้ปรีแอมป์ (หรือจะใช้ก็ได้)
-C-filter มีผลต่อเสียงอย่างมาก ต้องเลือกยี่ห้อและรุ่นให้เหมาะสม ผมแนะนำ Nippon รุ่น LXV, LXZ, GXE หรือไม่ก็ ChengX ซึ่งซีกลุ่มนี้จะให้เสียงออกมาครบเครื่อง ส่วนเรื่องค่าความจุ ถ้าชอบเสียงที่อิสระฟังสนุก เบสมันๆ แนะนำค่า 1000uF แต่ถ้าต้องการกำลังขับมากๆ ก็ขยับไปใช้ค่า 2200uF จะได้เบสที่หนักขึ้นแต่สปีดจะช้าลงเล็กน้อย (ความมันลดลงนิดหน่อย)
-C-input มีผลต่อเสียงพอสมควร พยายามหลีกเลี่ยง C-electrolytic ผมลองมาหลายรุ่นพบว่าเสียงมันบีบตัวมากไป แนะนำให้ใช้ชนิดฟิล์มดีๆ ขั้นต่ำต้องเป็น SCR 4.7uF ถ้างบไม่จำกัดก็สามารถขยับไปใช้ Jensen ได้เลยซียี่ห้อนี้ให้เนื้อเสียงดีมาก
-Diode มีผลกระทบกับเนื้อเสียงค่อนข้างมาก แนะนำพวก Fast recovery diode หากใช้ตรกูล MUR จะได้เนื้อเสียงที่ใสและเนียน แต่ถ้าใช้ตระกูล BY (เม็ดถั่ว) จะได้เนื้อเสียงที่เข้มข้นและมีรายละเอียดมากขึ้น
-หม้อแปลง มีผลพอสมควร แต่ก็ฟังออกได้ไม่ยาก ขอให้กระแสถึงๆ เข้าไว้ (3-5A เต็มๆ) ...... ในบ้านเราผมชอบ EI มากกว่ามันให้เสียงที่เนียนและมีพลัง แต่ถ้าหา C-core ดีๆได้ก็จะพบกับเบสที่เหนียวหนึบฟังสนุกขึ้นไปอีก ส่านเรื่องแรงดัน ถ้าชอบเสียงนุ่มนวลออกหวานิดๆ ก็ใช้สัก 15V-0-15V ถึง 18V-0-18V แต่ถ้าชอบความมันแบบสะใจก็จัดที่ 23.5V-0-23.5V ตามแบบเกนการ์ดได้เลย (สามารถใช้ 24V-0-24V แทนได้)
-R ในวงจรพยายามเลี่ยงชนิด Metal film ที่ขายกันทั่วไป ถ้าอยากจะใช้จริงๆ ต้องเป็นพวก Dale แต่ถ้าเอาประหยัดก็ใช้ชนิด Carbon film ธรรมดา
-Volume แนะนำ 12 Step atten 20-30k ถ้างบถึงจัด R-dale ลงไปจะได้เสียงที่ใสและมีเนื้อ
-IC ที่ใช้ต้องคัดให้ดี เนื่องจากวงจรนี้จัดเป็นวงจร DC-amp อาจมี DC output offset ออกมาค่อนข้างสูง (ถ้าไม่เกิน 100mV ถือว่าใช้ได้) ***

***หมายเหตุ .... IC ที่ใช้แล้วเกิดมี DC output offset ออกมาค่อนข้างสูง ไม่ได้หมายความว่าไอซีตัวนั้นคุณภาพไม่ดี เพราะโดยธรรมชาติของไอซีจะมีสเปคอยู่ตัวนึงที่เรียกว่า Input offset voltage ซึ่งตัว LM3875 มีสเปคอยู่ที่สูงสุด 10mV (ซึ่งสามารถทำให้เกิด DC output voltage ได้เท่ากับ 10mV x 33 = 330mV) และที่สำคัญไอซีตัวนี้ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับ DC amp โดยตรง เราต้องยอมรับความจริงข้อนี้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มีนาคม 2011, 02:20:15 PM โดย sansirn »

ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: 09 มีนาคม 2011, 09:58:38 AM »
Invert Gainclone
เป็นวงจรที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาเรื่อง DC output offset อย่างที่เกิดกับวงจรแบบ Non invert แต่เนื่องจากมีการจัดวงจรให้สัญญาณอินพุตเข้าทางขา (-) ของตัว IC ทำให้ต้องใช้ R-NFB ค่าค่อนข้างสูงเพื่อป้องกันไม่ให้อินพุตอิมพีแดนซ์มีค่าต่ำจนเกินไป และที่สำคัญวงจรนี้จะขยายสัญญาณแบบกลับเฟส ซึ่งหมายความว่าหากสัญญาณอินพุตเข้ามาเป็นเฟสบวก สัญญาณที่เอาต์พุตจะออกเป็นเฟสลบ ส่วนเรื่องเสียงก็จะออกแนวลุ่มลึก ใสอมหวานหน่อยๆ รายละเอียดมีให้ได้ยินตลอด อาจไม่จะแจ้งเหมือนตัว Non-invert แต่ก็ไม่ถึงกับจมหาย เหมาะสำหรับแนวเพลงแบบผู้ใหญ่หน่อย เช่นลูกกรุงเพราะๆ อย่างอรวี กับเพลงลูกทุ่งก็ฟังดีมีบรรยากาศ แต่กับเพลงร็อคอาจให้เสียงที่ซอฟต์ไปสักหน่อยแต่โดยรวมก็ไปด้วยกันได้

ข้อมูลทางเทคนิคที่ควรรู้
-เป็นวงจรที่ให้ DC output offset ได้ต่ำมาก และยังสามารถปรับชดเชยด้วยการเปลี่ยนค่า R ที่ต่อกับขา 7 ของไอซีลงกราวด์ช่วยได้อีก
-เป็นวงจรขยายสัญญาณแบบกลับเฟส ในกรณีที่ใช้แอมป์ตัวนี้เพียวๆ ควรกลับสายที่ขั้วลำโพงเพื่อให้ได้เฟสที่ถูกต้อง
-โวลลุ่มที่ใช้กับวงจรนี้ต้องมีค่า 100k เพื่อลดปัญหาอินพุตอิมพีแดนซ์และอัตราการขยายของวงจรเปลี่ยนตามตำแหน่งการหมุนของโวลลุ่ม ถ้าเลือกได้ผมแนะนำให้จัด Step volume ดีๆ ลงไป (จะซื้อ R-dale มาทำเอง หรือจะใช้พวก DACT ก็ได้) จะได้ความใสในเนื้อเสียงที่ดีกว่า
-วงจรนี้มีอินพุตอิมพีแดนซ์อยู่ที่ประมาณ 10k และอัตราการขยายของวงจรอยู่ที่ 22 เท่า (ภายใต้เงื่อนไขเปิดโวลลุ่มสูงสุด) หากเอาไปต่อกับปรีหลอดบางตัวที่มีเอาต์พุตอิมพีแดนซ์สูงๆ เบสอาจจะบางได้
-C-filter วงจรนี้เหมาะกับซีที่ให้โทนเสียงออกใส เช่น Nichicon HE หรือ Panasonic FM จะได้เสียงที่ใสและลึก หากชอบเนื้อเสียงที่อุ่นและหนาขึ้นสามารถลองใส่ Nippon LXV, LXZ ดูก็ได้
-C-input ตัวนี้มีผลกับเสียงค่อนข้างแรง เนื่องจากการจัดวงจรแบบ Invert ทำให้สัญญาณที่วิ่งเข้าตัวไอซีเป็นไปในรูปของกระแส หากใช้ซีพวก SCR หรือ Solen อาจทำให้เสียงไม่โปร่งพอ ผมแนะนำให้ขยับไปเล่น Clearity รุ่นสูงหน่อย หรือไม่ก็ Jensen ไปเลย
-C 0.1uF ที่ต่อกับขา 7 ของไอซีลงกราวด์ มีผลกับเสียงพอสมควรโดยเฉพาะปลายเสียง ถ้าใช้กับลำโพงดีๆหน่อยจะฟังออกได้ไม่ยาก ซีตำแหน่งนี้ถ้าใช้ชนิดไม่เหมาะสมจะทำให้ปลายเสียงหยาบ ถ้างบจำกัดผมแนะนำ Wima MKS ปลายเสียงอาจจะไม่เนียนนักแต่โทนบาลานซ์ถือว่าทำได้ดี หากใช้พวกออยด์หางเสียงจะดีแต่รายละเอียดจะจมไปหน่อย ตัวที่ดีที่สุดที่ผมเคยลองคือ SCR SY-series กับ SPP
-Diode วงจรนี้เหมาะกับพวก Fast recovery ตระกูล MUR คือจะได้ความเนียนและใส หากต้องการเพื่มเนื้อเสียงก็สามารถลองหาไดโอดตระกูล BY มาลองได้ เลือกที่ทนกระแสได้ 3A ขึ้นไปก็พอ
-หม้อแปลง วงจรนี้ชอบหม้อแปลงกระแสสูง หากกระแสไม่พอมันจะฟ้องชัดที่ความถี่ต่ำในจังหวะเบสทิ้งตัวมันจะทำได้ไม่ดีพอ (ลงไม่ลึกเท่าที่ควร) ที่ผมลองเล่นมาผมชอบตัว EI 24V-0-24V 5A เต็มๆ จาก TRON หรือจะซื้อหม้อแปลงสำเร็จรูปในตลาดมาใช้ก็ได้แต่ต้องใช้ 2 ตัวช่วยกันถึงจะดี

***หมายเหตุ .... การใช้อุปกรณ์ของตัว Invert Gainclone ออกจะแตกต่างจากตัว Non-invert พอสมควร ทั้งนี้เป็นผลจากการเข้ากันได้ของบุคลิกทางเสียงของตัวอุปกรณ์กับวงจร


ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: 10 มีนาคม 2011, 12:47:44 PM »
Invert Gainclone With T-Network Feedback
วงจร T-network ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงวงจรแบบ Invert ในเรื่องอินพุตอิมพีแดนซ์ ที่มีค่าค่อนข้างต่ำ (10k) อีกทั้งค่าความต้านทานในวงจรป้อนกลับก็มีค่าสูง (220k) ทำให้ประสิทธิภาพในการป้อนกลับไม่เต็มที่นัก เมื่อมีการเอาเทคนิคการป้อนกลับแบบ T-network มาใช้ ผลที่ออกมาทำให้สามารถใช้ R-input ได้ถึง 22k โดยที่ R ในลูปป้อนกลับใช้แค่ 10k +10k  ค่าอินพุตอิมพีแดนซ์ถูกยกขึ้นเป็น 22k และได้อัตราการขยายของวงจรเป็น 46 เท่า ส่วนแนวเสียงของวงจรนี้จะออกแนวกระชับ กลางออกใสอมหวานนิดๆ ฟังเผินๆ แล้วเหมือนรวมเสียงระหว่างวงจรแบบ Non-invert กับ Invert เข้าด้วยกัน แต่ความเป็นจริงไม่ได้เป็นไปตามนั้นซะทีเดียว  คือ เบสมีความแน่นก็จริง แต่ยังไม่สะใจเท่าแบบ Non-invert ส่วนกลางแหลมที่ว่าหวานใส แต่ก็ยังให้ความรู้สึกได้ไม่เท่าแบบ Invert โดยรวมจัดว่าฟังดี เหมาะสำหรับคนที่รักพี่เสียดายน้อง (พี่ = Non-invert, น้อง = Invert)

ข้อมูลทางเทคนิคที่ควรรู้
-เป็นวงจรขยายแบบกลับเฟส
-วงจรมีอินพุตอิมพีแดนซ์ 22k (คิดที่ขณะไม่ใส่โวลลุ่ม) และมีอัตราการขยายอยู่ที่ 46 เท่า
-หากจะติดโวลลุ่มที่อินพุต แนะนำให้ใช้ค่า 100k แบบ Step
-R ที่ใช้ในวงจรควรเลือกชนิดคาร์บอนฟิล์มดีๆ มาใช้เพื่อให้เสียงออกมาเนียน แต่ถ้าชอบความใสก็ต้องใช้เมทัลฟิล์มดีๆ อย่าง Dale ขึ้นไป
-C-filter ยังมีผลต่อเสียงที่สุดเหมือนกับวงจรแบบอื่น ถ้าชอบเสียงใสๆ ลุ่มลึกก็ต้องเลือกพวก Nichicon HE หรือ Pana FM ถ้าชอบเนื้อเสียงที่อิ่มหนาก็ต้องเลือก Nippon LXV, LXZ, GXE
-C-input ยังคงมีผลกระทบที่แรงแบบเดียวกับวงจร Invert ต้องเลือกของดีที่สุดเท่าที่งบประมาณมี ใส่ลงไป
-R ที่ต่อขา 7 ลงกราวด์ สามารถใส่ค่า 10k ลงได้เลย แล้วลองวัดแรงดัน DC offset ที่เอาต์พุตดู ถ้าต่ำกว่า 50mV ถือว่าโอเค แต่ถ้าสูงกว่านี้ผมแนะนำให้หา VR 20k มาใส่แทน แล้วปรับค่าให้ DC ouput offset ใกล้ศูนย์ที่สุด
-สามารถหา C ดีๆ ค่าประมาณ 0.1uF มาลองต่อที่ขา 7 ของ IC ลงกราวด์เพื่อแต่งปลายเสียงได้
-ไดโอด จะมีผลกระทบเช่นเดียวกับวงจรแบบ Invert  คือแนะนำให้ใช้ Fast recovery ตระกูล MUR จะได้ความเนียนและใส หากต้องการเนื้อเสียงก็ต้องตระกูล BY
-หม้อแปลงใช้ได้ตั้งแต่ 18V-0-18V จนถึง 24V-0-24V กระแส 5A ขึ้นไป ถ้าชอบเสียงที่มีไดนามิคดีๆ ผมแนะนำ 24V-0-24V หากชอบความนุ่มนวลก็ใช้ 18V-0-18V


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 มีนาคม 2011, 02:56:04 PM โดย sansirn »

ออฟไลน์ pinkfloyd

  • Jr. Member
  • **
  • กระทู้: 95
  • ถูกใจกด Like+ 1
  • เพศ: ชาย
  • Director
    • Watana Web Design
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: 31 มีนาคม 2011, 01:27:05 PM »
ไปเห็นอีกเว็บหนึ่งมา เขาโคลนอกมาได้สวยดีครับ  [))]
เลยขอเอามาฝากกัน

http://www.euronet.nl/~mgw/diy/amps/uk_cyclone_2.html

ตัวอย่างภาพบางส่วนครับ






ออฟไลน์ sansirn

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1434
  • ถูกใจกด Like+ 11
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: 31 มีนาคม 2011, 01:39:29 PM »
ดูแข็งแรงมากเลยครับ ......... น่าจับมาชนกับเวอร์ชั่นพี่ davit

ออฟไลน์ sanosak

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 126
  • ถูกใจกด Like+ 3
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: 31 มีนาคม 2011, 02:45:19 PM »
ผมว่าสู้ของ น้าdavit ไม่ได้หรอกครับ
เคยเห็นฝีมือกล่องไดนาโคมาแล้วแจ่มมากฯ

ออฟไลน์ TOM

  • Less is More ..... Back to basic ..........
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1418
  • ถูกใจกด Like+ 27
  • เพศ: ชาย
  • WOW WOW WOW Simply the best
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: 31 มีนาคม 2011, 02:46:00 PM »
สวยดี  น่าสนใจ

ออฟไลน์ skanet

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 158
  • ถูกใจกด Like+ 3
Re: เรื่องของ GainClone กับ GainCard
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: 09 พฤษภาคม 2011, 08:44:11 PM »
สรุปไว้ดีมากเลยครับ ผมทำมาตั้งแต่ปี 2003 ได้แล้ว เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นแบบ T-Network เมื่อไม่นานมานี้ ตอนนี้กำลังซุ่มทำ EL34 SE อยู่ครับ