ผู้เขียน หัวข้อ: สำรวจความพึงพอใจต่อการฟังเพลง ชอบแบบแฟลตหรือปรุงแต่ง  (อ่าน 11058 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ audiomania

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2455
  • ถูกใจกด Like+ 402
  • เพศ: ชาย
 [we're number 1] ใช่เลยครับ บางทีเราก็ต้องเลือกเหมือนกัน ทางวิศวกรรมการทำเสียงแฟลตได้ตลอด ก็ย่อมให้ความเที่ยงตรงสูงสุด ดูเหมือนจะดี (มันก็ดีจริงๆนั่นล่ะ) (^o^)
ส่วนชุดเที่ยงตรงเอาไว้อ้างอิงตอนทำเครื่อง เพื่อจะได้ไม่หลงทางเท่านั้นเอง

แต่เครื่องและซิสเต็มที่ดีเลิศ และเที่ยงตรง ก็ย่อมเป็นเครื่องขี้ฟ้องด้วยเช่นกัน แผ่นบันทึกดีไม่ดี ยังไงได้ยินไปหมด ซึ่งอาจจะทำให้เราฟังเพลงทั่วไป ลูกทุ่ง สตริงเล่นๆมันๆ ได้ลำบาก แล้วจะใช้ชีวิตยากหน่อยคือต้องหาแต่แผ่น Audiophile ฟังอย่างเดียว ซึ่งมันไม่ได้มีเพลงทุกชนิดที่เราอยากฟัง พาลจะไม่มีความสุขเอาด้วยครับ  :P

อย่างถ้าอยากจะฟัง ฝน ธนสุนทร ก็ต้องบอกว่าการเขาทำมาเผื่อคนฟังส่วนใหญ่ของประเทศเป็นหลัก ถ้าใช้เครื่องขี้ฟ้องก็ยุ่งหน่อย ทุกอย่างชัดเกินไปหมด อันนี้ลำบากครับ ซึ่งก็ต้องหาอะไรบางอย่างมาจูนเพื่อให้เสียงฟังสบายๆ ก็พอแล้ว  :D
เพราะฉะนั้นไม่แปลกนักครับที่ หลายคนจึงมีชุดฟังเพลง ดูหนัง ชิลด์ๆ หลายๆ เครื่องไว้เลือกฟังต่างสไตล์กัน ก็เพื่อให้มันได้ทำหน้าที่อย่างที่เราพอใจนั่นล่ะครับ  Vo

เรื่องอะคูสติกห้อง จริงๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน การมีห้องฟังที่ดีจึงจำเป็นต่อการฟังเพลงแบบจริงจังครับ
แต่ถ้าพื้นที่ไม่อำนวย ก็ต้องยอมรับว่ามันจะพอปรับให้เข้าที่ในระดับนึงเท่านั้นเอง เรียกว่ายังดึงศักยภาพของระบบมาได้ไม่หมดทุกเม็ด แต่ก็ด้วยความจำเป็น ก็ต้องยอมรับตรงนั้นครับ  [dancing]

ออฟไลน์ Guy_Audio

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2746
  • ถูกใจกด Like+ 93
  • เพศ: ชาย
  • UNIQUE MADE - BOUTIQUE SOUND
ผมขออกความเห็นบ้างครับ เอาแบบสเตปเลยละกัน

1.คำว่า Flat ในการเล่นเครื่องเสียงหมายถึง การตอบสนองทางความถี่ของซิสเต็มที่ใช้เล่นกลับ (แหล่งกำเนิด+ปรี/แอมป์+ลำโพง) ที่ราบเรียบตลอดย่านความถี่เสียง ไม่เกี่ยวกับการบันทึกเสียงครับ

2.ในขั้นตอนการบันทึกเสียง จะเป็นศิลปะเฉพาะตัวของ Sound engineer ที่จะจัดระดับความดังเสียงของเครื่องดนตรีชิ้นแต่ละชิ้นรวมถึงเสียงนักร้องให้กลมกลืนและถูกโสตประสาทหูคนฟังมากที่สุด แล้วจึงทำเป็นมาสเตอร์ออกมา และถ้ามาสเตอร์ที่ทำออกมานั้นให้ระดับเสียงที่ถูกหูคนฟังส่วนใหญ่ (บางนิยามก็ว่าให้เสียงใกล้เคียงกับการเล่นดนตรีจริง) ก็จะถูกเรียกว่า "Audiophile" ........ จะเห็นว่าขั้นตอนบันทึกไม่มี Flat มีแต่ถูกหูหรือไม่อ่ะครับ

3.เหตุที่ต้องมีวงจร Tone control เกิดขึ้นมาก็เพราะ
3.1 การบันทึกเสียงสมัยก่อนมีขีดจำกัด ไม่สามารถบันทึกเสียงให้ครอบคลุมคลอดย่านความถี่เสียงได้
3.2 การตอบสนองของลำโพงยุคก่อน ตอบสนองความถี่ได้ไม่ดีพอ
3.3 ปรี+แอมป์ ให้โทนเสียงที่ไม่เป็นกลาง (ถ้าเป็นเครื่องหลอดจะมีสีสันของหลอดนั้นๆ ออกมา) ทำให้ต้องมีการปรับโทนเสียงให้เข้าบุคลิกของคนฟังแต่ละคน
3.4 ปัญหาการรับฟังเสียงของหูคนแต่ละเพศ แต่ละวัยไม่เหมือนกัน
3.5 มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชอบเสียงทุ้มจัดๆ หรือไม่ก็แหลมจัดๆ
*ทั้งหมดที่ว่ามา ทำให้วิศวกรยุคก่อนต้องใส่วงจร Tone control + Loudness เข้าไปชดเชยความต้องการของคนแต่ละกลุ่มครับ

4.การฟังเพลงแบบ Flat มีข้อดีในเรื่องของการตอบสนองทางเฟสของระบบที่ผิดเพี้ยนน้อย ทำให้สามารถรับรู้+รับฟังบรรยากาศหรือแบล็คกราวด์เล็กๆ น้อยๆ ที่บันทึกมาได้ ...แต่เมื่อใส่วงจรปรับทุ้มแหลมเข้าไปจะทำให้เกิดความผิดเพียนทางเฟส ผลคือเกิดการหักล้างของเสียงบางช่วงความถี่ เวลาฟังจะรู้สึกว่าเสียงบางอย่างมันหายไป

บทสรุป.....หากท่านจะฟังเพลงแบบ Flat จริงๆ ระบบของท่านต้อง Flat และคุณภาพดีพอ มิฉะนั้นท่านจะได้ฟัง Flat แบบคิดไปเอง หากงงในสิ่งที่ผมเขียน ผมแนะนำให้ไปลองฟังเสียง Flat ของเครื่องไฮเอนด์จากโชว์รูมดีๆ แล้วลองกลับมาฟังที่บ้านเทียบกันดูครับ



ครอบคลุมมากเลยครับ  [smile22]

ออฟไลน์ track

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1385
  • ถูกใจกด Like+ 33
  • เพศ: ชาย
เมื่อวานเกือบทั้งวัน ฟังเจ้า Gain แบบไม่มีปรับโทนทั้งวัน(มันไม่มีปรับ อิ อิ) ฟังไปๆ ก็ฟังได้ครับ พวกเพลงหนักๆ เบสน้อยไปหน่อย แต่ก็ชัดเจน

เสียงไม่บิดเบือนเหมือนที่เคยฟัง อย่างที่หลายๆท่านว่าครับ