www.diyaudiovillage.net

INTRODUCTIONS เสวนาภาษาพี่น้อง => เสวนาภาษาพี่น้อง => ข้อความที่เริ่มโดย: ฅนหระรี ที่ 10 มีนาคม 2013, 12:27:09 PM

หัวข้อ: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนหระรี ที่ 10 มีนาคม 2013, 12:27:09 PM
    พอดีช่วงนี้ได้เห็นเพื่อนๆพูดคุยเกี่ยวกับ ฮาร์โมนิค (Harmonic) เลยทำให้อยากรู้จริงๆว่า
เขาฟังกันยังไงถึงรู้ได้ว่าได้ยินเสียงฮาร์โมนิคที่สองบ้างที่สามบ้าง ผมพยายามหัดฟังมาหลายครั้งหลายหน
ก็ไม่อาจจะบอกได้เลยว่าเสียงไหนคือเสียงฮาร์โมนิค รบกวนเพื่อนๆช่วยชี้แนะด้วยครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: golf_y ที่ 10 มีนาคม 2013, 12:30:31 PM
    พอดีช่วงนี้ได้เห็นเพื่อนๆพูดคุยเกี่ยวกับ ฮาร์โมนิค (Harmonic) เลยทำให้อยากรู้จริงๆว่า
เขาฟังกันยังไงถึงรู้ได้ว่าได้ยินเสียงฮาร์โมนิคที่สองบ้างที่สามบ้าง ผมพยายามหัดฟังมาหลายครั้งหลายหน
ก็ไม่อาจจะบอกได้เลยว่าเสียงไหนคือเสียงฮาร์โมนิค รบกวนเพื่อนๆช่วยชี้แนะด้วยครับ

 [pig90118] [pig90118] [pig90118] [pig90118] [pig90118] [pig90118] [pig90118] [pig90118] [pig90118] [pig90118]


ไม่รู้เหมือนกันครับน้า  [pig90132] [pig90132] [pig90132] [pig90132] [pig90132] [pig90132] [pig90132]
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 01:30:34 PM
        ฮาร์โมนิคที่เีรียกกันนี่มันคืออะไรกันแน่น้า  [unde_cided]  ขอตอบแบบคนที่ชอบฟังเพลง( crazy)โดยหลักการกว้างๆนะครับเพราะผมไม่ใช่นักวิชาการ หรือ sound engineer และจะไม่บอกว่าต้องไปฟังตรงนั้น ตรงนี้ ซี่งผมมองว่ามันไม่ตรงประเด็น และ ผู้อ่านก็จะไม่ทราบอยู่ดีว่าอะไรมันคือ ฮาโมนิค (harmonic) กันแน่  และถ้าอ้างทฤษฐีมากเกรงว่าจะพาเข้ารกเข้าพง (เดี๋ยวให้ด็อกเตอร์มาเพิ่มเติมให้ทางวิชาการในฐานะคนดนตรี และ สอนดนตรี) และเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ผมขอยกตัวอย่างประกอบคือเวลาเล่นดนตรีเนี่ย จะมีหลายๆครั้งที่มีชิ้นดนตรีที่เล่นตัวโน้ตเดียวกัน หรือ มีนักร้องสองคนขึ้นไป ที่เสียงร้องไปอยู่ที่ย่านความถี่เดียวกัน แต่เราสามารถที่จะแยกแยะออกได้ว่าเป็นเสียงใครร้องบ้าง และรับรู้ได้ว่าชิ้นดนตรีนั้นๆ เป็นเชลโล่ หรือ ไวโอลีน ที่เรียกกันว่า "โอเวอร์โทน" นั่นก็เพราะผลพวงจาก ฮาร์โมนิค นั่นแหละครับ เริ่มพอจะเข้าใจ และ จับทางกันได้บ้างหรือยังครับ

 ฮาร์โมนิคนั้น จริงๆมันก็คือ ผลคูณของเลขจำนวนเต็มๆเลยของฮาร์โมนิคที่หนึ่ง (1st Harmonic ) หรืออีกชื่อที่เรียกกันว่า Fundamental Harmonic ที่หมายถึงความถี่พื้นฐานนั่นเอง  ก็ความถี่พื้นฐานพวก  250Hz , 2000Hz  น่ะครับ ทีนี้พอมี Harmonic เข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อเราพูดถึง Harmonic ที่สอง มันก็จะต้องกลายเป็น

ความถี่พื้นฐาน X 2 เช่น 2000hz X 2 = 4000hz เป็นต้น
 
พอเป็น Harmonic ที่สามก็จะกลายเป็น X ด้วย 3 และจะเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆใน Harmonic ที่สี่ ห้า... ทีนี่เมื่อมีการคูณฮาร์โมนิคสูงขึ้นไปเรื่อยๆก็จะทำให้แรงต่อสัญญาน หรือความแรงต่อสัญญาน ( Amplitude ) ลดลงจนเริ่มจับสัญญานเสียงของ Harmonic ที่ไปไกลๆเรื่อยๆไม่ได้

ดังนั้นถ้าจะให้สรุปสั้นๆ Harmonic ก็คือ สัญญานเสียงที่อยู่ในรูป Sinewave ให้เราตีค่าเป็นความถี่ได้นั่นเองครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 01:32:45 PM
  ใครที่พอจะมีความรู้ ในเรื่องนี้ช่วยเอามาแชร์กันเถอะครับ อย่าอ่านกันอย่างเดียว ผมว่ามันเป็นความรู้ และ ประโยชน์ต่อส่วนรวมจริงๆสำหรับคนเล่นเครื่องเสียงอย่างพวกเราครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 01:54:37 PM
 เสียงดนตรี

 เนื่องจากคนเราได้ยินเสียงที่ความถี่  20 - 20000  เฮิรตซ์  ความถี่ที่ต่ำกว่า  20 เฮิรตซ์ ลงไปเรียกว่า คลื่นใต้เสียง (Infra Sound) ความถี่ที่สูงกว่า  20000 เฮิรตซ์ ขึ้นไปเรียกว่า คลื่นเหนือเสียง (Ultra Sound) จะเห็นได้ว่าคนเรารับฟังเสียงได้ในช่วงความถี่หนึ่งเท่านั้น สำหรับสัตว์อื่น ๆ  ก็เช่นเดียวกันคือ จะได้ยินเสียงในช่วงความถี่หนึ่งเช่นกัน ซึ่งช่วงความถี่ที่สัตว์แต่ละชนิดได้ยินก็จะแตกต่างกันไป และต่างจากช่วงความถี่ที่คนได้ยินด้วย นอกจากนี้แล้วแหล่งกำเนิดเสียงแต่ละแหล่งก็ให้เสียงได้ในช่วงความถี่ต่างกัน เช่น คน สามารถเปล่งเสียงได้ในช่วงความถี่  85 - 1100  เฮิรตซ์ 

 ความถี่ของเสียงเป็นตัวบอกระดับเสียงคือ ความถี่มากมีระดับเสียงสูง (เสียงแหลม)  ความถี่น้อยมีระดับเสียงต่ำ (เสียงทุ้ม) การจัดแบ่งระดับเสียงทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่แพร่หลายที่สุดคือ แบ่งเป็นระดับเสียงดนตรี ดังแสดงในตาราง

 (https://lh3.googleusercontent.com/-bjSQ4phD4J8/UTwt_lwsDSI/AAAAAAAAI0Q/x0n5KFSesbI/s863/Untitled-1.gif)

  ขอขยายความต่ออีกหน่อย ถึงการเกี่ยวโยงกับเรื่องของ คุณภาพเสียง
                                   

             แหล่งกำเนิดเสียงต่างกัน ให้เสียงที่มีระดับเสียงเดียวกัน(ความถี่เท่ากัน) เช่นไวโอลินและขลุ่ยเล่นโน้ตเดียวกัน แต่เราสามารถแยกออกได้ว่าเสียงใดเป็นเสียงไวโอลินและเสียงใดเป็นเสียงขลุ่ย นั่นแสดงว่าต้องมีปัจจัยอื่นอีกที่ทำให้เสียงแตกต่างกัน จนเราสามารถแยกเสียงจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ กันได้
             
             เมื่อพิจารณาแหล่งกำเนิดเสียงแต่ละอย่างพบว่ามีเสียงเกิดขึ้นพร้อมกันหลายความถี่ ความถี่ต่ำสุดที่เกิดขึ้นเรียกว่าความถี่มูลฐานของแหล่งกำเนิดนั้น สำหรับความถี่อื่น ๆ  ที่เกิดขึ้นพร้อมกันแต่มีความถี่เป็นจำนวนเท่าของความถี่มูลฐานเราเรียกว่าฮาร์มอนิก เสียงที่เกิดจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ  เป็นเสียงทีเกิดจากการผสม(การรวมกัน)ของความถี่เสียงที่ฮาร์มอนิกต่าง ๆ  ที่มีแอมปลิจูดต่างกัน ทำให้เสียงผสมที่เราได้ยินต่างกันออกไป เราเรียกว่าแหล่งกำเนิดเสียงต่างมีคุณภาพเสียงต่างกัน ดังนั้นคุณภาพเสียงจึงเป็นลักษณะเฉพาะของแหล่งกำเนิดเสียง เช่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ  มีคุณภาพเสียงที่ต่างกัน
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 02:17:39 PM

กราฟช่วงความถี่ของเครื่องดนตรี

กราฟช่วงการตอบสนองความถี่ก็แบ่งแยก 8 ช่วง ผมจะพยายามอธิบายโดยใช้ภาษาบ้านๆเพื่อให้เข้าใจง่ายที่สุดนะครับ

ช่วงที่ 1 เรียกว่าย่านเบสลึก (deep bass) ประมาณ 20-40 ช่วงนี้จะไม่ได้ยิน แต่จะได้ความรู้สึก แบบว่าสั่นสะท้านไปทั้งตัว

ช่วงที่ 2 เรียกว่าย่านพลังเบส (bass) ประมาณ 40-100 ช่วงนี้จะเป็นช่วงเสียงเบสที่มีความรู้สึกกระแทกๆ เช่น เสียงกลองจากใบที่ใหญ่ที่สุด ที่ใช้เท้าเหยียบ เสียงกระแทกจุกอกก็ช่วงนี้แหละครับ

ช่วงที่ 3 เรียกว่าย่านเบสปกติ (mid bass) ประมาณ 100-200 เช่นพวกกีต้าร์เบสเส้นกลางๆ (ถ้าเป็นสายเส้นใหญ่ อาจจะลงไปถึงช่วงพลังเบส หรือปลายๆเบสลึกได้เลย) ถ้าช่วงนี้ขาดไปแบบว่าน้อยไป เราก็จะรู้สึกว่าขาดเสียงเบส แต่ถ้ามากเกินไป ก็จะทำให้เสียงโดยรวมฟังดูทึบๆได้ ที่เราฟังเพลงแล้วบอกว่าเสียงกลางน้อยไป จริงๆอาจจะไม่ใช่นะครับ อาจจะเป็นที่ช่วงนี้มากเกินไป แล้วไปกลบเสียงกลาง

ช่วงที่ 4 เรียกว่าย่านเสียงกลางต่ำ (mid low) ประมาณ 200-800 ย่านนี้จะครอบคลุมถึงเสียงร้องย่านต่ำๆ เช่นเสียงผู้ชายต่ำๆ ถ้าช่วงนี้มีมากกำลังดี จะช่วงเรื่องความอุ่นของเสียง Warmth sound ถ้ามากไปเสียงรวมๆก็จะไม่เคลียร์เท่าที่ควร ถ้าน้อยไปก็จะขาดเนื้อเสียง

ช่วงที่ 5 เรียกว่าย่านเสียงกลางหลัก (mid) ประมาณ 800-2,000 ย่านนี้มีเครื่องดนตรีหลายชนิด รวมไปถึงเสียงร้องหลักๆ ถ้าขาดย่านนี้ไป เสียงจะเบาบาง บี้แบน แต่ถ้ามากเกินไป มันจะดังหนวกหู

ช่วงที่ 6 เรียกว่าย่านเสียงกลางสูง (mid hi)ประมาณ 2,000-5,000 ย่านนี้จะมีเสียงเครื่องเป่า พวกกีต้าร์สายเส้นเล็ก ถ้าย่านนี้มากเกินไป ฟังนานๆหูจะล้า แต่ถ้ามากเกินไปเยอะจะแสบหูเลย

ช่วงที่ 7 เรียกว่าย่านเสียงแหลม (hi) ประมาณ 5,000-10,000 ย่านนี้ผมเรียกว่าย่านเนื้อเสียงแหลมแล้วกัน เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเคาะทองเหลือง (เหล็ก) ทั้งหลาย ถ้าช่วงนี้หายไป เสียงจะดูทึบๆ แต่ถ้ามากเกินไปเสียงเครื่องเคาะประเภทนี้จะฟังดูพุ่งเกินจริง

ช่วงที่ 8 เรียกกว่าย่านปลายแหลม ประมาณ 10,000-20,000 ย่านนี้จะมีเสียงฉาบอยู่ด้วย แล้วจริงๆย่านนี้จะไม่ค่อยมีเสียงหลักของเครื่องดนตรีอะไร แต่ว่ามันจะเป็นลักษณะของบรรยากาศมากกว่า ถ้าขาดย่านนี้ไป อาจจะฟังดูเสียงเครื่องดนตรีครบอยู่ ฟังดูเผินๆอาจจะเหมือนย่านนี้ไม่สำคัญ แต่จริงๆผมว่าสำคัญไม่น้อยเลย ถ้าขาดย่านนี้ เสียงจะไม่มีความไพเราะ ขาดบรรยากาศที่น่าฟัง

(http://www.emotioncaraudio.com/board/index.php?PHPSESSID=7d477101d8f007f8ade737a6ad311839&action=dlattach;topic=166.0;attach=1037;image)


   การหัดฟังเพื่อจับใจความคุณภาพของเสียงจากระบบเสียง ที่ถูกต้องเราควรจะได้ทราบถึงย่านเสียงของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด ที่นำมาประกอบขึ้นเป็นเสียงเพลง เพื่อใช้เป็นแนวทางของการวิเคราะห์อย่างตรงจุดมากที่สุด

ประเภทของเสียงร้อง

เสียงร้องประเภท Bass (เสียงร้องในระดับต่ำของผู้ชาย) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 70 Hz ? 380 Hz และมีความถี่รอง(หางเสียง) จาก 380 Hz ? 10 kHz

เสียงร้องประเภท Baritone (เสียงร้องระหว่างต่ำกับสูงของผู้ชาย) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 90 Hz ? 400 Hz และมีความถี่รองจาก 400 Hz ? 10 kHz

เสียงร้องประเภท Tenor (เสียงร้องระดับสุงสุดของผู้ชาย) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 130 Hz ? 500 Hz และมีความถี่รองจาก 500 Hz ? 10 kHz

เสียงร้องประเภท Alto (เสียงร้องระดับต่ำสุดของผู้หญิง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 160 Hz ? 950 Hz และมีความถี่รองจาก 950 Hz ? 10 kHz

เสียงร้องประเภท Soprano (เสียงร้องระดับสูงของผู้หญิง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 210 Hz ? 1.2 kHz และมีความถี่รองจาก 1.2 kHz ? 10 kHz

ประเภทเครื่องดนตรีแบบดีด/สี/ตี

เสียงเครื่องเล่น Bass Viola (เบสชนิดสีตัวใหญ่ทำจากไม้หรือเสียงหนังที่ตีด้วยหัวยาง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 30 Hz ? 210 Hz และมีความถี่รองจาก 210 Hz ? 15 kHz

เสียงเครื่องเล่น Cello (เครื่องสีขนาดใหญ่) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 50 Hz ? 650 Hz และมีความถี่รองจาก 650 Hz ? 15 kHz

เสียงเครื่องเล่น Viola (เครื่องสีขนาดกลาง หรือเสียงกีต้าร์โปร่ง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 130 Hz ? 1.2 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 1.2 kHz ? 15 kHz

เสียงเครื่องเล่น Violin (เครื่องสีขนาดเล็ก) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 180 Hz ? 4 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 4 kHz ? 15 kHz

ประเภทของเครื่องดนตรีชนิดเป่า

เสียงเครื่องเล่น Basstuba (เครื่องเป่าขนาดใหญ่หรือเครื่องหนังที่ตีด้วยไม้) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 40 Hz ? 380 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 380 Hz ? 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Bassoon (เครื่องเป่าชนิดยาว) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 45 Hz ? 500 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 500 Hz ? 10 kHz
เสียงเครื่องเล่น BassClarinet (เครื่องเป่าขนาดกลาง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 80 Hz ? 500 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 500 Hz ? 10 kHz

เสียงเครื่องเล่น French Horn (เครื่องเป่าปากแตรกว้าง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 120 Hz ? 800 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 800 Hz ? 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Trumpet (เครื่องเป่าปากแตรทองเหลือง) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 140 Hz ? 850 Hz และมีช่วงความถี่รองจาก 850 Hz ? 9 kHz

เสียงเครื่องเล่น Clarinet (เครื่องเป่าชนิดเล็ก) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 160 Hz ? 1.6 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 1.6 kHz ? 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Oboe (เครื่องเป่าเสียงแหลม) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 240 Hz ? 1.6 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 1.6 kHz ? 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Flute (เครื่องเป่าผิวทำด้วยโลหะ) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 240 Hz ? 2.2 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 2.2 kHz ? 16 kHz

เสียงเครื่องเล่น Piccolo (เครื่องเป่าขลุ่ยผิว) มีช่วงความถี่หลักประมาณ 500 Hz ? 7 kHz และมีช่วงความถี่รองจาก 7 kHz ? 16 kHz

ประเภทของเครื่องดนตรีชนิดเคาะ

เสียงเครื่องเล่น Piano (แกรนด์เปียโน) มีช่วงความถี่หลักตั้งแต่ 25 Hz ? 7 kHz

หมายเหตุ: จะสังเกตุเห็นได้ว่าแต่ละชิ้นเครื่องดนตรีจะมีความถี่หลัก/ความถี่รอง ดังนั้นย่านเสียงที่สัมพันธ์กันตลอดย่านการตอบสนองความถี่เสียง การปรับเพื่อเน้นเสียงดนตรีชิ้นหนึ่งชิ้นใดเป็นพิเศษ ก็อาจมีผลกระทบกับเสียงของดนตรีชิ้นอื่นๆได้เช่นกัน
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Kang-Pla ที่ 10 มีนาคม 2013, 02:49:34 PM
 :angel:

ถ้าผมได้ยินเสียงร้องของนักร้องคนที่สองเบาๆ  กับ รู้ขนาดของห้องอัด เสียงความถี่สูงที่ทอดยาวค่อยๆหายไป คือชั้นใหนครับชั้นใหนครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: electron ที่ 10 มีนาคม 2013, 03:19:10 PM

   
        มีอีกคำนึงที่ผมได้ยินบ่อยคือ แอมเบี้ยน (ปะกิตพิมพ์ไม่ถูก) คืออะไรยังไงครับ คือบรรยากาศของห้องอัดช่วงเวลานั้น ใช่รึปล่าวครับ ?  [confused-raccoon]
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 03:22:17 PM
:angel:

ถ้าผมได้ยินเสียงร้องของนักร้องคนที่สองเบาๆ  กับ รู้ขนาดของห้องอัด เสียงความถี่สูงที่ทอดยาวค่อยๆหายไป คือชั้นใหนครับชั้นใหนครับ
 อันนี้ผมคุยด้วยไม่ได้แล้วครับ เพราะท่านไปไกลกว่าผมมาก ต้องจัดอยู่ในกลุ่มผู้มีสัมผัสพิเศษ  ผมแค่คนธรรมดาที่ฝึกฝนตามขั้นตอน รับรู้ได้เหมือนคนธรรมดาทั่วๆไปครับ  [gr_in]
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Guy_Audio ที่ 10 มีนาคม 2013, 03:22:55 PM
:angel:

ถ้าผมได้ยินเสียงร้องของนักร้องคนที่สองเบาๆ  กับ รู้ขนาดของห้องอัด เสียงความถี่สูงที่ทอดยาวค่อยๆหายไป คือชั้นใหนครับชั้นใหนครับ

ขออนุญาตคอบคุณ Kang-Pla ครับ เสียงความถี่สูงที่ทอดยาว ถ้าฟังอย่างจับประเด็น
จะได้ยินเสียงที่ค่อยแปรเปลี่ยนไปตามความดังที่ค่อยจางหายไปนั่นก็คือ ฮาโมนิก เช่นกันครับ
อย่างเช่นลองเปิดเพลงที่เป็นกีต้าร์โปร่ง 2 ตัวจะเห็นได้ชัดว่าเสียงทั้งสองตัวจะไม่เหมือนกันเลย
เพราะโครงสร้างของเสียงจะต่างกันในแง่ของฮาโมนิกทั้งๆที่เล่นอยู่ในโน๊ตตัวเดียวกัน
และหางเสียงที่ทอดยาวออกมาก็ไม่เหมือนกันด้วย
ลักษณะของเสียงกีต้าร์ในสัมผัสแรกที่ได้ยิน จะมีเนื้อและแรงตกกระทบตามต่อด้วยหางเสียงที่เรียวเล็ก(ฮาโมนิก)ไปเรื่อยๆจนสุดปลายเสียง
ลองฟังเพลงนี้ดูครับ  กีต้าร์ ที่อยู่ด้านขวามือตั้งแต่เวลา 0.06  กำลังเล่นอยู่กับฮาโมนิกโดยการใช้เทคนิคที่แตะสายเบาๆด้วยมือซ้ายพร้อมดีดด้วยมือขวา
และปล่อยมือซ้ายออกมาให้สายสั่น โดยโน๊ตต้นเสียงที่เป็นเสียงจริงจะถูก Mute เหลือแต่เสียงฮาโมนิก
ส่วนกีต้าร์ด้านซ้ายที่เล่น picking ก็โชว์ความกังวาลที่ทอดยาวซึ่งก็จะมีเสียงฮาโมนิก ตามหางเสียงออกมาเช่นกันครับ
http://www.youtube.com/watch?v=WxF9ErDdLvM
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 03:26:10 PM
Airy ( Ambient )

จริงๆ Airy กับ Ambient มีความหมายคล้ายๆกันครับ  ถ้าว่ากันตามหลักการแล้ว Ambient จะหมายถึง การสะท้อนของเสียงที่เกิดตามสภาพแวดล้อมนั้นๆ เช่น เวลาอยู่ในห้องแคบๆแล้วเราพูดออกมา เสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นจะถูกเรียกว่า Ambient ครับ ลักษณะของเสียงเกิดขึ้นจะมีทั้ง "เสียงรีเวิร์บ" และ " เสียงเอคโค่"  

ถ้าจะให้อธิบายกันให้ละเอียด ลักษณะแบบ airy หรือ ambient ก็คือความรู้สึกที่เหมือนมีเสียงก้องสะท้อนเบาๆตามลักษณะอะคูสติกของห้อง เสียงเหล่านั้นจะทำให้เรารู้สึกว่ามันเปิดกว้าง โล่ง โปร่ง นั่นแหละครับ ชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นจะให้ความรู้สึกว่ามีมวลอากาศห่อหุ้มอยู่ ถ้าไม่เคยฟังอาจจะนึกภาพตามไม่ออกน่ะครับ  คือ อย่างจังหวะการสีไวโอลีน ถ้าห้องมีอะคูสติคที่ดี และมีการ set ลำโพงที่ได้ตำแหน่งถูกต้อง เราจะรับความรู้สึกได้เลยว่า นักดนตรีที่กำลังสีไวโอลีนตรงหน้าเหมือนมีมวลอากาศห่อหุ้มและลื่นไหลไปตาม จังหวะของการสี

ลักษณะเหล่านั้นเรามักเรียกกันว่า ชิ้นดนตรีมีแอมเบี๊ยนต์ห่อหุ้มอยู่

นอกจากนี้ ถ้าพูดถึง airy ก็จะหมายถึงชิ้นดนตรีที่ให้ความรู้สึกเปิดโล่ง ให้อารมณ์เหมือนมีอากาศรอดผ่านไหลเวียนในแต่ละชิ้นดนตรีค่ะ การมี airy หรือ ambient จะทำให้เราสัมผัสชิ้นดนตรีได้ชัดเจนมากขึ้น และยังให้ความรู้สึกถึงชีวิตชีวา หรือ live ของดนตรีอีกด้วยครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Kang-Pla ที่ 10 มีนาคม 2013, 03:48:37 PM
 [unde_cided]  ฟังดนตรีเป็นมันก็มีข้อเสีย เพราะจะฟังเพลงไทยไม่ค่อยได้ ซื้อมาแล้วเสียงไม่ดีเก็บเข้ากรุเอาไปบ่มทั้งๆที่ฟังยังไม่ครบ เพราะจะรู้เลยว่าเขาอัดมาแบบใด
แต่ก็แปลกแผ่นที่เสียงดีมักจะเป็นแผ่นที่ยืมเขามาแล้วก็ยืมนาน [roll]
วันนี้จะลองโม จ้าว SACD 7001 ให้เป็น 7001 KP ซะหน่อย เจอจุดที่ไม่ยากที่จะทำให้ดีกว่า
(http://image.ohozaa.com/i/507/VHhPG6.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wHdVaTwGENN5m7TW)
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Guy_Audio ที่ 10 มีนาคม 2013, 03:54:42 PM
(http://image.ohozaa.com/i/ef8/Hv8I7s.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/wzWvkpFCifVLfJX4)
http://www.youtube.com/watch?v=LhHPiToEVF4
http://www.youtube.com/watch?v=-Z-kXOluhks

ลองหาซีดี แผ่นนี้ มาฟังนะครับ Lincoln Mayorga - Sheffield Lab ?? Lab-1
แล้วจะเข้าใจในเรื่อง Airy ( Ambient ) ที่ คุณเล็ก อธิบายได้อย่างชัดเจนที่เดียวครับ
เพราะเป็นการบันทึกเสียงแบบพร้อมกันทั้งหมดและตรงแบบ Direct-to-disk
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนหระรี ที่ 10 มีนาคม 2013, 04:23:11 PM
        ประเด็นที่ผมสงสัยคือเขาฟังรู้กันได้ยังไงว่าเป็นฮาร์โมนิคที่สองหรือสามครับ มีข้อแนะนำอะไรในการฟังบ้างครับ
อีกนิดนึงครับตามความเข้าใจของผมไม่ว่าจะเป็นช่วง Attack Decay Sustain Release มันล้วนแต่มีฮาร์โมนิคทั้งนั้น
ไม่รู้ว่าตรงนี้ผมเข้าใจผิดอะไรหรือไม่อย่างไรรบกวนเพื่อนๆให้ความรู้ด้้วยครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: LAK Klongklue ที่ 10 มีนาคม 2013, 04:32:49 PM
 [roll-eyes]คำว่าฮาร์โมนิคนักทดสอบมักจะใช้กันบ่อยสมัยก่อนๆที่บ้าเครื่องเสียงใหม่ๆผมก็ชอบอ่านจังเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้
ฮาร์โมนิคถ้าจะอธิบายเป็นคำพูดก็ลำบากเหมือนกัน ตามความเข้าใจของผม ฮาร์โมนิคก็คือความฉํ่าความกังวานของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดครับ
ยกตัวอย่างให้เห็นเด่นชัดเช่นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องเคาะ เช่นท่อโมบาย พวกฉิ่งฉาบ ถ้าทำมาจากทองเหลืองเนื้อดี
มันจะมีความฉํ่ากังวานในตัวมันเองและจางหายไปในที่สุด เพราะฉะนั้นเครื่องเสียงที่ดีย่อมถ่ายถอดฮาร์โมนิคความฉํ่ากังวานและการจางหาย
ของเครื่องดนตรีแต่ละชนิดได้อย่างไม่ตกหล่นครับ ยิ่งพูดก็ยิ่งงงครับอธิบายเป็นคำพูดลำบากครับ สรุปง่ายๆคือฮาร์โมนิคไม่ใช่เสียงปรุงแต่ง
เช่นความกังวานของเสียงที่มาจากแอคโค่ แต่มันเป็นความฉํ่งกังวานของเครื่องดนตรีชนิดดีที่มีในตัวมันเองครับผม [yes-raccoon]
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 04:51:18 PM
 ถ้าเข้าใจ ADSR แล้วจริงๆ ก็น่าจะเข้าใจ Harmonic นะ  เพราะมันเรื่องที่คาบเกี่ยวกัน แต่ไม่ใช่เรื่องเดียวกัน [gr_in]
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: track ที่ 10 มีนาคม 2013, 05:22:09 PM
 [clap hand2] [clap hand2]

ผมเองเคยพูดคุยกับท่านที่เล่นเครื่องเสียงนานๆ แล้วได้มีโอกาสลองฟังเพลงกับเขา แล้วเขาก็อธิบายว่าที่ได้ยินคืออะไร สังเกตุอะไร ก็ถึงเห็นความแตกต่าง

ผมก็รู้แค่ว่า ถ้ามีความกังวานของเสียงร้องสุงๆ หรือเครื่องดนตรีบางชิ้น ว่านั้นคือ harmonic แค่นั้นเองครับ ส่วนเจ้า Harmonic ตอนที่เรียนวิศวะกับใช้งาน

ในระบบไฟฟ้าโรงงานตอนนี้ ไม่อยากให้มี Harmonic ครับ มันเป็นขยะในระบบไฟฟ้า อาจทำให้เครื่องจักรเสียหายและ MDB Trip ได้ครับ

มันแตกต่างตรงข้ามกับเครื่องเสียงจริงๆ 555
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: malako ที่ 10 มีนาคม 2013, 06:19:33 PM
     

ข้อที่หนึ่ง   ประเด็นที่ผมสงสัยคือเขาฟังรู้กันได้ยังไงว่าเป็นฮาร์โมนิคที่สองหรือสามครับ ?

             มีข้อแนะนำอะไรในการฟังบ้างครับ

ข้อที่สอง   อีกนิดนึงครับตามความเข้าใจของผมไม่ว่าจะเป็นช่วง  Attack , Decay ,  Sustain และ  Release มันล้วนแต่มีฮาร์โมนิคทั้งนั้น

             ไม่รู้ว่าตรงนี้ผมเข้าใจผิดอะไรหรือไม่อย่างไรรบกวนเพื่อนๆให้ความรู้ด้้วยครับ


คำตอบตามสไตล์ผมนะครับ

ข้อที่หนึ่ง   ฟังออกเพราะฟังบ่อย  ฟังจนชิน  เลยรู้  นะครับ

อธิบาย     น้องสาวผมสองคน  น้ำเสียงเหมือนกันมาก  นอกจากญาติพี่น้องและเพื่อนที่สนิทมากถึงจะรู้
             คนอื่นรับรองทายผิดหมด  
             ยิ่งเวลาฟังโทรศัพท์  บางครั้งตัวผมเองยังหลง  
            
             harmonic   จะเป็นตัวบอกให้เรารู้ว่า  ประโยค  หรือคำเดียวกัน  ของทั้งสองคนเวลาที่พูดออกมาคือใครพูด
             คือถ้าเหมือนกันมากต้องฟังบ่อยๆ  เท่านั้นครับ


ข้อที่สอง   พวกเครื่องดนตรี  จำพวกเครื่องเคาะ  เครื่องตี  ไม่มี  ฮาร์โมนิค  นะครับ

การฟังเพลงให้สนุกสนาน  รับรู้ด้วยความรู้สึก  และสิ่งที่ตามมาคือ  อารมณ์  ผมชอบแบบนี้มากกว่า
จึงชอบฟังเพลงที่มีดนตรีน้อยชิ้น นักร้องคนเดียว  ไม่ต้องคอยแยกแยะว่ามีกีตาร์กี่ตัว  ขลุ่ยกี่เลา ฯลฯ
ถ้าจะฟังมากกว่านั้นผมจะเลือกดูการแสดงสด  สามารถมองเห็นด้วยตาครับ

การฟังเพลงให้ถึงขั้นแยกแยะได้  เหมือนคนจับไม่บาตองที่ยืนอยู่หน้าเวที  
มันเป็นหน้าที่ของเขาที่ต้องฝึกมา  เพื่อควบคุมกำกับวง  และ  มีคนดูและฟัง  โดยมีหนังสือบอกเรื่องราว

เสียงเกิดจากการสั่นทั้งสิ้น
เมื่อมีเสียง  นั่นคือมีความถี่  
ความถี่แบ่งออกเป็นย่านสูง กลาง ต่ำ  อย่างที่เรารู้กัน

harmonic  คือ  องค์ประกอบของความถี่
เสียงจากเครื่องดนตรี  เสียงจากปากคน  มีองค์ประกอบของความถี่เฉพาะของใครของมันครับ

ภายในปาก  อวัยวะ  เช่น ฟัน ลิ้น เพดานปาก ริมฝีปาก  ไม่เหมือนกัน
เสียงที่เปล่งออกมาถึงแม้จะเป็นเสียงเหมือนกัน  ตัวโน๊ตคีย์เดียวกัน
แต่องค์ประกอบของความถี่  ย่อมไม่เหมือนกัน
ฟังบ่อยๆ  จะจับได้เองครับและเกิดความเข้าใจ

แต่มิใช่ว่า  จับเสียงฮาร์โมนิค ได้นะครับ  
ผมเองยังฟังไม่ออกเลย  ได้แค่รับรู้ได้เท่านั้นเองจริงๆ  




หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: malako ที่ 10 มีนาคม 2013, 07:33:41 PM
มีต่ออีกนิด  

เมื่อมีองค์ประกอบของความถี่   คำถามต่อไปคือ

 ความถี่ (Frequency)  คืออะไร?  และทำไมต้องมีองค์ประกอบ?


When talking about sound, frequency means the number of cycles of sound in a second.


(http://image.ohozaa.com/i/0c5/f8pIyO.gif) (http://image.ohozaa.com/view2/wHf5KRFUdmb8ZlP2)


(http://image.ohozaa.com/i/a12/BZ49Kn.gif) (http://image.ohozaa.com/view2/wHf5QTjv27sXcvLZ)


(http://image.ohozaa.com/i/e57/vnRjpi.gif) (http://image.ohozaa.com/view2/wHf5RfibjzZgDhXj)


ให้สังเกตุว่า  มีเวลา(Time)  เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย   
ให้นึกถึงการแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกาโบราณ  จากจุดเริ่มต้นไปแล้วกลับ  เรียกว่า 1 ครั้ง
ในหนึ่งวินาทีนับได้กี่ครั้ง  นั่นคือจำนวนความถี่
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 10:08:19 PM
     
ข้อที่สอง   อีกนิดนึงครับตามความเข้าใจของผมไม่ว่าจะเป็นช่วง  Attack , Decay ,  Sustain และ  Release มันล้วนแต่มีฮาร์โมนิคทั้งนั้น

             ไม่รู้ว่าตรงนี้ผมเข้าใจผิดอะไรหรือไม่อย่างไรรบกวนเพื่อนๆให้ความรู้ด้้วยครับ


คำตอบตามสไตล์ผมนะครับ

ข้อที่สอง   พวกเครื่องดนตรี  จำพวกเครื่องเคาะ  เครื่องตี  ไม่มี  ฮาร์โมนิค  นะครับ

  ผมขอแย้งในสิ่งที่ผมเห็นว่าไม่ถูกต้องนะครับ  จริงอยุ่ว่าเครื่องดนตรีประเภท เครื่องเคาะ  เครื่องตี   นั้น   harmonic content  ที่เกิดขึ้นจะไม่ได้มีความสัมพันธ์ในลักษณะที่เป็นจำนวน เท่าตัว ของ fundamental note  แบบที่ผมได้อธิบายมาแล้วในข้างต้น   แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเครื่องดนตรีเหล่านี้ ไม่มีฮาโมนิค (harmonic)  หรือ ถ้าพี่มีสมมุติฐาน หรือ เหตุผลมารองรับคำกล่าวอ้างนั้น รบกวนอธิบายต่อให้กระจ่างด้วยครับ   ด้วยปุจฉานี้มิได้มีเจตนาอื่นใดแอบแฝง แต่เพื่อคงไว้ซึ่งความถูกต้อง นะครับพี่ ด้วยความเคารพครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Kang-Pla ที่ 10 มีนาคม 2013, 10:30:17 PM
ข้อที่สอง   พวกเครื่องดนตรี  จำพวกเครื่องเคาะ  เครื่องตี  ไม่มี  ฮาร์โมนิค  นะครับ
 [unde_cided] ความถี่ก็ครอบคุมมากนะ หรือว่าเสียงมันเร็วไปจนไม่ได้ยิน เสียงไม้ทีกระทบ กับเสียงทีมันกำลังสั่นคลอน
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนหระรี ที่ 10 มีนาคม 2013, 10:42:03 PM
ถ้ามีกลองสองใบคนละยี่ห้อกันปรับหนังกลองที่โน๊ตตัวเดียวกันและตีพร้อมกันทุกๆคนจะสามารถฟังออกได้ไหมว่ามีเสียงกลองสองใบครับ

หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 10:51:24 PM
ถ้ามีกลองสองใบคนละยี่ห้อกันปรับหนังกลองที่โน๊ตตัวเดียวกันและตีพร้อมกันทุกๆคนจะสามารถฟังออกได้ไหมว่ามีเสียงกลองสองใบครับ


แยกได้ชัดเจนครับพี่  แล้วถ้าพี่คุยกับ ด็อกเค้าจะบอกพี่อีกว่ายี่ห้ออะไร  laughhahaha

 ผมยกตัวอย่างของหนังกลองสองชนิดนะ กลองจัดอยู่ในกลุ่มของ purcussion ซึ่งตรงกับที่พี่มะละกอกล่าวถึงด้วย

 Uncoated Head
คือหนังชันเดียวแบบความหนามาตรฐาน หนังชนิดนี้จะมีวอลลุ่มของเสียง,Sustain และฮาโมนิค เร้นจ์ อยุ่ในเกณฑ์สูง หนังชนิดนี้อาจจะทำมาในรูปแบบหนังใส,หนังขาว(แต่ไม่สากมือ) ฯลฯ และส่วนมากจะผลิตมาจากแผ่นฟิลม์ที่เรียกว่า Mylar (เป็นวัสดุท่คิดค้นขึ้นโดย Du Pont USA หรือ Plastic Polyester Nylon)


 Coated Head
หนังแบบ Coated คือหนังที่ทำมาจากแผ่นฟิลม์ใสและขุ่น เช่นกัน แต่มีการพ่น Coated อาจเป็นสีขาวหรือดำ เพื่อให้เกิดพื้นผิวที่หยาบ ซึ่งจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการเลือกใช้หนังแบบนี้ก้เพื่อใช้กับ Brushes (แส้) ซึ่งทำให้เกิด Scratch Sound พื้น(ผิวที่หยาบสากเมื่อมีการใช้Brushes จะมีเสียงลากยาวต่อเนื่องที่เกิดจากการเสียดสี ระหว่าง พื้นผิวของหนัง (Head Texture)กับ Brushes) บรรดามือกลอง, โปรดิวเซอร์และซาวด์เอ็นจิเนียร์เลือกใช้หนังกลองชนิดนี้เพื่อเ สียงที่กระชับเฉียบคม เมื่อตีด้วยไม้กลอง และเมื่อใช้ไมโครโฟนจ่อใกล้กับหนังกลองเสียงที่ได้จะกลมกล่อมละ เอียดอย่างสมบูรณ์แบบ

 จากคุณสมบัติที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าหนังกลองสองชนิดให้เสียงที่แตกต่างกันอย่างแน่นอนแม้จะเล่นโน๊ตตัวเดียวกันก็ตาม
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 มีนาคม 2013, 10:54:33 PM
ข้อที่สอง   พวกเครื่องดนตรี  จำพวกเครื่องเคาะ  เครื่องตี  ไม่มี  ฮาร์โมนิค  นะครับ
 [unde_cided] ความถี่ก็ครอบคุมมากนะ หรือว่าเสียงมันเร็วไปจนไม่ได้ยิน เสียงไม้ทีกระทบ กับเสียงทีมันกำลังสั่นคลอน
เสียงสั่นค้างที่ลอยอยู่ในอากาศที่เกิดจากหนังกลองขยับหลังจากตีไปแล้วเค้าเรียกว่าอะไรน้า ติ๊กต๊อก......


 
ไปนอนละ bye ฝันดีราตรีสวัสดิ์ครับทุกท่าน
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: weera1 ที่ 10 มีนาคม 2013, 11:03:36 PM
ในกีต้าร์ สายทั้ง 6 เส้นมีบ้างไหมครับที่เล่นแล้วเป็นโน๊ตตัวเดียวกัน
แล้วถ้ามีเสียงต่างกันไหมครับ อย่างไร
(เห็นมีมือกีต้าร์หลายคน ในเวปเราน่าจะให้คำตอบได้ (อยากรู้อยู่เหมือนกันครับ) )

เพราะโดยส่วนตัวเล่นดนตรีไม่เป็น
แต่ในความเข้าใจส่วนตัว เข้าใจเองว่า น่าจะมีที่โน๊ตซ้ำกัน แต่น่าจะให้เสียงที่ไม่เหมือนกัน
และ/หรือ สายเส้นเดียวกัน(เช่นสายที่1) แต่คนละยี่ห้อให้โน๊ตตัวเดียวกันแต่เสียงก็ยังไม่เหมือนกัน

รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ ว่าผมเข้าใจผิดหรือเปล่า

หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนหระรี ที่ 10 มีนาคม 2013, 11:07:08 PM
ถ้ามีกลองสองใบคนละยี่ห้อกันปรับหนังกลองที่โน๊ตตัวเดียวกันและตีพร้อมกันทุกๆคนจะสามารถฟังออกได้ไหมว่ามีเสียงกลองสองใบครับ


แยกได้ชัดเจนครับพี่  แล้วถ้าพี่คุยกับ ด็อกเค้าจะบอกพี่อีกว่ายี่ห้ออะไร  laughhahaha

 ผมยกตัวอย่างของหนังกลองสองชนิดนะ กลองจัดอยู่ในกลุ่มของ purcussion ซึ่งตรงกับที่พี่มะละกอกล่าวถึงด้วย

 Uncoated Head
คือหนังชันเดียวแบบความหนามาตรฐาน หนังชนิดนี้จะมีวอลลุ่มของเสียง,Sustain และฮาโมนิค เร้นจ์ อยุ่ในเกณฑ์สูง หนังชนิดนี้อาจจะทำมาในรูปแบบหนังใส,หนังขาว(แต่ไม่สากมือ) ฯลฯ และส่วนมากจะผลิตมาจากแผ่นฟิลม์ที่เรียกว่า Mylar (เป็นวัสดุท่คิดค้นขึ้นโดย Du Pont USA หรือ Plastic Polyester Nylon)


 Coated Head
หนังแบบ Coated คือหนังที่ทำมาจากแผ่นฟิลม์ใสและขุ่น เช่นกัน แต่มีการพ่น Coated อาจเป็นสีขาวหรือดำ เพื่อให้เกิดพื้นผิวที่หยาบ ซึ่งจุดประสงค์ที่ชัดเจนในการเลือกใช้หนังแบบนี้ก้เพื่อใช้กับ Brushes (แส้) ซึ่งทำให้เกิด Scratch Sound พื้น(ผิวที่หยาบสากเมื่อมีการใช้Brushes จะมีเสียงลากยาวต่อเนื่องที่เกิดจากการเสียดสี ระหว่าง พื้นผิวของหนัง (Head Texture)กับ Brushes) บรรดามือกลอง, โปรดิวเซอร์และซาวด์เอ็นจิเนียร์เลือกใช้หนังกลองชนิดนี้เพื่อเ สียงที่กระชับเฉียบคม เมื่อตีด้วยไม้กลอง และเมื่อใช้ไมโครโฟนจ่อใกล้กับหนังกลองเสียงที่ได้จะกลมกล่อมละ เอียดอย่างสมบูรณ์แบบ

 จากคุณสมบัติที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าหนังกลองสองชนิดให้เสียงที่แตกต่างกันอย่างแน่นอนแม้จะเล่นโน๊ตตัวเดียวกันก็ตาม


มาีอีกแล้วครับ  ฮาโมนิค เร้นจ์ คืออะไร
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: LAK Klongklue ที่ 10 มีนาคม 2013, 11:11:50 PM
ข้อที่สอง   พวกเครื่องดนตรี  จำพวกเครื่องเคาะ  เครื่องตี  ไม่มี  ฮาร์โมนิค  นะครับ
 [unde_cided] ความถี่ก็ครอบคุมมากนะ หรือว่าเสียงมันเร็วไปจนไม่ได้ยิน เสียงไม้ทีกระทบ กับเสียงทีมันกำลังสั่นคลอน
เสียงสั่นค้างที่ลอยอยู่ในอากาศที่เกิดจากหนังกลองขยับหลังจากตีไปแล้วเค้าเรียกว่าอะไรน้า ติ๊กต๊อก......


 
ไปนอนละ bye ฝันดีราตรีสวัสดิ์ครับทุกท่าน
clapping-1-2 [c--c] clapping-1-2 3-2-1-raccoon
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: WIND ที่ 10 มีนาคม 2013, 11:13:22 PM
 สงสัยต้องให้พี่เล็กรื้อความหลังเปิดคอร์สเทรนแบบตอนทำร้านซะอีกทีละมั้งครับเนี่ย ผมไ้ด้ไปขอทบทวนความจำด้วยคน
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Kang-Pla ที่ 10 มีนาคม 2013, 11:59:26 PM
ข้อที่สอง   พวกเครื่องดนตรี  จำพวกเครื่องเคาะ  เครื่องตี  ไม่มี  ฮาร์โมนิค  นะครับ
 [unde_cided] ความถี่ก็ครอบคุมมากนะ หรือว่าเสียงมันเร็วไปจนไม่ได้ยิน เสียงไม้ทีกระทบ กับเสียงทีมันกำลังสั่นคลอน
เสียงสั่นค้างที่ลอยอยู่ในอากาศที่เกิดจากหนังกลองขยับหลังจากตีไปแล้วเค้าเรียกว่าอะไรน้า ติ๊กต๊อก......


 
ไปนอนละ bye ฝันดีราตรีสวัสดิ์ครับทุกท่าน
[unde_cided].........า

ถ้ามีกลองสองใบคนละยี่ห้อกันปรับหนังกลองที่โน๊ตตัวเดียวกันและตีพร้อมกันทุกๆคนจะสามารถฟังออกได้ไหมว่ามีเสียงกลองสองใบครับ


ถึงเป็นยี้ห้อเดียวกันแบบเดียวกันตีพร้อมกันก็ฟังออกครับว่าเป็นสองใบ อันนี้ไม่นับการบันทึกมานะอาจจะเพี้ยนแล้วฟังไม่ออก แต่ถ้าปิดตาฟังสดๆ ก็ฟังออกครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: malako ที่ 11 มีนาคม 2013, 06:50:26 AM


ท่านประธาน  ผมถูกพาดพิง....

ตามนี้นะครับ


ข้อที่สอง   พวกเครื่องดนตรี  จำพวกเครื่องเคาะ  เครื่องตี  ไม่มี  ฮาร์โมนิค  นะครับ


ผมขอรับสารภาพว่า  อันที่จริงผมก็ไม่รู้เหมือนกันครับ  ว่า มี หรือ ไม่มี
เพียงแต่คล้ายว่าเคยอ่านเจอที่ไหนสักแห่ง
หรือเสมือนคนตาบอดคลำช้าง หยิบเอาส่วนที่คลำได้มาบอก

และยังขอสารภาพต่อไปอีกว่า.....

 เป็นความตั้งใจที่จะเขียนขึ้น ให้เป็นคำตอบในลักษณะ เป็นคำถามเพื่อนำไปสู่การ  "สัมมนา"  ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
 การสัมมนา  หมายถึงการ  ตั้งหัวข้อขึ้นมาหัวข้อหนึ่ง  แล้วนำมาถกเถียงกันเพื่อหาข้อยุติ  หรือข้อสรุปร่วมกัน
 จะนำเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ หรือไม่ก็ตาม   ข้อสรุปหรือข้อยุตินั้น  อาจจะถูกต้องหรือไม่ก็ตามครับ

ผมเห็นว่าภาษาเครื่องเสียง หรือคำศัพท์ของคนเล่นเครื่องเสียง  เป็นเรื่องที่สนุกและให้ประโยชน์
ไม่อยากเห็นแค่คำถามตอบสั้นๆ  แล้วจางหายไปนะครับ

ต้องขออภัยทุกท่านมานะที่นี้ด้วย 

อย่างไรก็ตามโพสหัวข้อนี้เป้นโพสที่ดีมาก  ถ้าช่วยกันตอบช่วยกันถามจะนำมาซึ่งดอกผลแห่งความรู้
สามารถนำไปอ้างอิงได้ครับ


ขอแก้ไขข้อที่สองเป็นแบบนี้ไปก่อนนะครับ


ข้อที่สอง     จำพวก  "เสียง ตี  เสียงเคาะ  เสียงครูด"  มักจะ  "ขาด"  ฮาร์โมนิค  นะครับ

หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: malako ที่ 11 มีนาคม 2013, 07:44:52 AM

ต่ออีกหน่อย

เสียงพยัญชนะ กำหนดทิศทาง
  เสียงสระ กำหนดความดัง
   เสียงวรรณยุกต์ หรือ เสียงดนตรี

และเรากำลังคุยกันถึงเสียงดนตรี  ว่าด้วยเรื่องของฮาร์โมนิก

ผมแยกแยะการตอบแบบนี้ไม่ทราบว่าพอจะได้ไหมนะครับ

คือ  ตอบแบบนักดนตรี
      ตอบแบบนักวิทยาศาสตร์
       และตอบแบบนักเล่นเครื่องเสียง นักฟังเพลงจากเครื่องเสียง


ไม่ว่าจะตอบแบบใด  เสียงทั้งหมดไปเกี่ยวข้องกับ  "หู"  
หูคนเราเก่งมากครับสามารถแบ่งแยกเสียงออกได้ในตัว

เสียงวรรณยุกต์หรือเสียงดนตรี    จะมี 8  คู่เสียงที่เราเรียกว่า  โด เร มี ฟา ซอล ลา ที และโด
จะเป็นเสียง สูง ต่ำ  ตามความถี่ของการสั่นพ้อง  (ตอนนี้มีคำว่า  พ้อง เพิ่มขึ้นมาอีก)

เสียงที่ว่าในทางดนตรีอาจจะเรียกว่า  ระดับเสียง (Pitch)  ฟังการไล่เสียงเปียโนจะเข้าใจครับ
หูชั้นในของคนเรา  สามารถแยกแยะว่า  อะไรเป็น  Pitch  และ  อะไรเป็น  Nonpitch

คำถาม  เสียงกลองถือได้ว่าเป็น  pitch  หรือ  nonpitch  หรือเป็นทั้งคู่  หรือ  ฯลฯ

หรือกลองหลายๆ ใบ  ทำเสียง  โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด  ได้อย่าง ชัดเจนแม่นยำ เหมือนดนตรีชิ้นอื่นหรือไม่?
  



หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: fender ที่ 11 มีนาคม 2013, 09:02:35 AM
ถ้ามีกลองสองใบคนละยี่ห้อกันปรับหนังกลองที่โน๊ตตัวเดียวกันและตีพร้อมกันทุกๆคนจะสามารถฟังออกได้ไหมว่ามีเสียงกลองสองใบครับ



ผมขอแบ่งความคิดเห็นผมบ้างครับ  จากคำถามของพี่เกรียง

1. ผมมีสมมติฐานว่าเนื่องจาก (ตำราฝรั่งบอกมา) หูคนเรา (ปกติ) สามารถแยกแยะแหล่งกำเนิดเสียงความถี่ 1 khz ที่อยู่ห่างกัน 3 องศา ที่อยู่ห่างออกไป 10 เมตรได้ เนื่องจากหูแต่ละข้างของเราอยู่ห่างกัน 22cm และสมมติว่าความเร็วเสียงอยู่ที่ 340เมตรต่อวินาที

2. การตีกลอง 1 ใบกับการตีกลอง 2 ใบ น้ำหนักเสียงมันไม่เท่ากันครับ

3. ปกติแล้ว เสียงกลองคนละยี่ห้อกัน (เอาแบบที่มียี่ห้อนะครับ ไม่มียี่ห้อเนี่ยฟังยากมาก ว่าเป็นเสียงกลองหรือเปล่า  [c--c]) เสียงมันต่างกันอยู่แล้วครับ มันคล้ายๆ กีต้าร์ตรงที่แต่ละยี่ห้อเค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะเช่น fender ต้อง twang, Gibson ต้อง sustain ยาวๆ อะไรประเภทนี้ นักดนตรีเค้าก็จะเลือกจุดเด่นของยี่ห้อนั้นๆ มา กลองก็น่าจะเหมือนกัน แต่ผมเล่นกลองไม่ค่อยเป็นนะครับ เลยไม่ค่อยรู้เรื่องกลองเท่าไหร่


หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: fender ที่ 11 มีนาคม 2013, 09:57:11 AM

คำถาม  เสียงกลองถือได้ว่าเป็น  pitch  หรือ  nonpitch  หรือเป็นทั้งคู่  หรือ  ฯลฯ

หรือกลองหลายๆ ใบ  ทำเสียง  โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด  ได้อย่าง ชัดเจนแม่นยำ เหมือนดนตรีชิ้นอื่นหรือไม่?
  

1. เวลาตั้งเสียงกลองชุด (กลองอื่นผมไม่ทราบ)  มาตรฐานคนไทย (ผมไม่เคยเห็นฝรั่งใช้) จะใช้คำว่า รสกลมกล่อม เป็นคีย์มาตรฐาน ไล่จาก snare tom1 tom2 โดย snare ต้องปลดโซ่ก่อน

2. คนที่เคยตีกลองจะรู้ว่า เวลามากีต้าร์เบสมาเล่นใกล้ๆ แล้วเสียงหรือโน๊ตมันตรงกับ snare เสียง snare มันจะดังหึ่งๆ (Resonanant)

3. ถ้าเคยใช้ alesis D4 จะรู้เลยครับ เพราะมันบอกเราเลยกลองใบที่เราเลือกเป็นโน๊ตอะไร

น่าจะช่วยเป็นแนวทางในการตอบได้ว่า เสียงกลอง เป็น pitch หรือ nonpitch ครับ ผมออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่พวก perfect pitch ที่สามารถบอกเสียงของตัวโน๊ตได้จากการฟังเพียงแค่ครั้งเดียว
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: fender ที่ 11 มีนาคม 2013, 10:11:23 AM
ในกีต้าร์ สายทั้ง 6 เส้นมีบ้างไหมครับที่เล่นแล้วเป็นโน๊ตตัวเดียวกัน
แล้วถ้ามีเสียงต่างกันไหมครับ อย่างไร
(เห็นมีมือกีต้าร์หลายคน ในเวปเราน่าจะให้คำตอบได้ (อยากรู้อยู่เหมือนกันครับ) )

เพราะโดยส่วนตัวเล่นดนตรีไม่เป็น
แต่ในความเข้าใจส่วนตัว เข้าใจเองว่า น่าจะมีที่โน๊ตซ้ำกัน แต่น่าจะให้เสียงที่ไม่เหมือนกัน
และ/หรือ สายเส้นเดียวกัน(เช่นสายที่1) แต่คนละยี่ห้อให้โน๊ตตัวเดียวกันแต่เสียงก็ยังไม่เหมือนกัน

รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยครับ ว่าผมเข้าใจผิดหรือเปล่า


ในกีต้าร์ 6 สาย มีโน๊ตที่เล่นโน๊ตตัวเดียวกันเยอะมากครับ ลองสังเกตุเวลาเค้าตั้งสาย โดยมากจะเทียบจากสายบนกดที่ fret 5 กับสายเปล่าด้านล่าง แต่กีต้าร์มีอย่างน้อย 20-24 fret

โน๊ตตัวเดียวกัน เล่นคนละสาย เสียงก็ต่างกันครับ เพราะลักษณะของลวด (String) แตกต่างกัน
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนหระรี ที่ 11 มีนาคม 2013, 10:32:35 AM
ถ้ามีกลองสองใบคนละยี่ห้อกันปรับหนังกลองที่โน๊ตตัวเดียวกันและตีพร้อมกันทุกๆคนจะสามารถฟังออกได้ไหมว่ามีเสียงกลองสองใบครับ



ผมขอแบ่งความคิดเห็นผมบ้างครับ  จากคำถามของพี่เกรียง

1. ผมมีสมมติฐานว่าเนื่องจาก (ตำราฝรั่งบอกมา) หูคนเรา (ปกติ) สามารถแยกแยะแหล่งกำเนิดเสียงความถี่ 1 khz ที่อยู่ห่างกัน 3 องศา ที่อยู่ห่างออกไป 10 เมตรได้ เนื่องจากหูแต่ละข้างของเราอยู่ห่างกัน 22cm และสมมติว่าความเร็วเสียงอยู่ที่ 340เมตรต่อวินาที

2. การตีกลอง 1 ใบกับการตีกลอง 2 ใบ น้ำหนักเสียงมันไม่เท่ากันครับ

3. ปกติแล้ว เสียงกลองคนละยี่ห้อกัน (เอาแบบที่มียี่ห้อนะครับ ไม่มียี่ห้อเนี่ยฟังยากมาก ว่าเป็นเสียงกลองหรือเปล่า  [c--c]) เสียงมันต่างกันอยู่แล้วครับ มันคล้ายๆ กีต้าร์ตรงที่แต่ละยี่ห้อเค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะเช่น fender ต้อง twang, Gibson ต้อง sustain ยาวๆ อะไรประเภทนี้ นักดนตรีเค้าก็จะเลือกจุดเด่นของยี่ห้อนั้นๆ มา กลองก็น่าจะเหมือนกัน แต่ผมเล่นกลองไม่ค่อยเป็นนะครับ เลยไม่ค่อยรู้เรื่องกลองเท่าไหร่




     ที่ผมหยิบยกตัวอย่างเรื่องกลองนั้น เนื่องมาจากข้อความของคุณพี่มะละกอที่ว่า "ข้อที่สอง     จำพวก  "เสียง ตี  เสียงเคาะ  เสียงครูด"  มักจะ  "ขาด"  ฮาร์โมนิค  นะครับ" ซึ่งถ้าฮาร์โมนิคเป็นตัวบ่งชี้ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไรแล้ว และกลองสองใบก็มีเสียงที่แตกต่างกันตามที่คุณ fender ว่า ดังนั้นการตีกลองสองใบในเวลาเดียวกันย่อมทำให้ทุกคนสามารถรับรู้ได้ว่ามีกลองสองใบจริงครับ ผมจึงคิดว่าเสียงกลองก็ต้องมีฮาร์โมนิคของมันนะครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 11 มีนาคม 2013, 10:48:11 AM
ถ้ามีกลองสองใบคนละยี่ห้อกันปรับหนังกลองที่โน๊ตตัวเดียวกันและตีพร้อมกันทุกๆคนจะสามารถฟังออกได้ไหมว่ามีเสียงกลองสองใบครับ



ผมขอแบ่งความคิดเห็นผมบ้างครับ  จากคำถามของพี่เกรียง

1. ผมมีสมมติฐานว่าเนื่องจาก (ตำราฝรั่งบอกมา) หูคนเรา (ปกติ) สามารถแยกแยะแหล่งกำเนิดเสียงความถี่ 1 khz ที่อยู่ห่างกัน 3 องศา ที่อยู่ห่างออกไป 10 เมตรได้ เนื่องจากหูแต่ละข้างของเราอยู่ห่างกัน 22cm และสมมติว่าความเร็วเสียงอยู่ที่ 340เมตรต่อวินาที

2. การตีกลอง 1 ใบกับการตีกลอง 2 ใบ น้ำหนักเสียงมันไม่เท่ากันครับ

3. ปกติแล้ว เสียงกลองคนละยี่ห้อกัน (เอาแบบที่มียี่ห้อนะครับ ไม่มียี่ห้อเนี่ยฟังยากมาก ว่าเป็นเสียงกลองหรือเปล่า  [c--c]) เสียงมันต่างกันอยู่แล้วครับ มันคล้ายๆ กีต้าร์ตรงที่แต่ละยี่ห้อเค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะเช่น fender ต้อง twang, Gibson ต้อง sustain ยาวๆ อะไรประเภทนี้ นักดนตรีเค้าก็จะเลือกจุดเด่นของยี่ห้อนั้นๆ มา กลองก็น่าจะเหมือนกัน แต่ผมเล่นกลองไม่ค่อยเป็นนะครับ เลยไม่ค่อยรู้เรื่องกลองเท่าไหร่




     ที่ผมหยิบยกตัวอย่างเรื่องกลองนั้น เนื่องมาจากข้อความของคุณพี่มะละกอที่ว่า "ข้อที่สอง     จำพวก  "เสียง ตี  เสียงเคาะ  เสียงครูด"  มักจะ  "ขาด"  ฮาร์โมนิค  นะครับ" ซึ่งถ้าฮาร์โมนิคเป็นตัวบ่งชี้ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไรแล้ว และกลองสองใบก็มีเสียงที่แตกต่างกันตามที่คุณ fender ว่า ดังนั้นการตีกลองสองใบในเวลาเดียวกันย่อมทำให้ทุกคนสามารถรับรู้ได้ว่ามีกลองสองใบจริงครับ ผมจึงคิดว่าเสียงกลองก็ต้องมีฮาร์โมนิคของมันนะครับ


พี่เข้าใจ ถูกต้องแล้วครับ   [yes-raccoon]

  ผมถามพี่มะละกอกลับแล้วกันว่า " Harmonic minor " คืออะไร และ มีไว้เพื่อการใด ???
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนหระรี ที่ 11 มีนาคม 2013, 11:18:01 AM
    ถ้าความเข้าใจผมถูกต้องแล้วตามข้อความที่ว่า "ฮาร์โมนิคเป็นตัวบ่งชี้ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไรแล้ว" ผมจึงไม่เข้าใจกับคำพูดที่ว่า...ได้ยินเสียงฮาร์โมนิคที่สองหรือที่สามชัดขึ้นไงละครับ จึงเป็นที่มาของคำถามข้างบนว่า...เขาฟังเสียงฮาร์โมนิคกันยังไงละครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: malako ที่ 11 มีนาคม 2013, 11:50:36 AM
ถ้ามีกลองสองใบคนละยี่ห้อกันปรับหนังกลองที่โน๊ตตัวเดียวกันและตีพร้อมกันทุกๆคนจะสามารถฟังออกได้ไหมว่ามีเสียงกลองสองใบครับ



ผมขอแบ่งความคิดเห็นผมบ้างครับ  จากคำถามของพี่เกรียง

1. ผมมีสมมติฐานว่าเนื่องจาก (ตำราฝรั่งบอกมา) หูคนเรา (ปกติ) สามารถแยกแยะแหล่งกำเนิดเสียงความถี่ 1 khz ที่อยู่ห่างกัน 3 องศา ที่อยู่ห่างออกไป 10 เมตรได้ เนื่องจากหูแต่ละข้างของเราอยู่ห่างกัน 22cm และสมมติว่าความเร็วเสียงอยู่ที่ 340เมตรต่อวินาที

2. การตีกลอง 1 ใบกับการตีกลอง 2 ใบ น้ำหนักเสียงมันไม่เท่ากันครับ

3. ปกติแล้ว เสียงกลองคนละยี่ห้อกัน (เอาแบบที่มียี่ห้อนะครับ ไม่มียี่ห้อเนี่ยฟังยากมาก ว่าเป็นเสียงกลองหรือเปล่า  [c--c]) เสียงมันต่างกันอยู่แล้วครับ มันคล้ายๆ กีต้าร์ตรงที่แต่ละยี่ห้อเค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะเช่น fender ต้อง twang, Gibson ต้อง sustain ยาวๆ อะไรประเภทนี้ นักดนตรีเค้าก็จะเลือกจุดเด่นของยี่ห้อนั้นๆ มา กลองก็น่าจะเหมือนกัน แต่ผมเล่นกลองไม่ค่อยเป็นนะครับ เลยไม่ค่อยรู้เรื่องกลองเท่าไหร่




     ที่ผมหยิบยกตัวอย่างเรื่องกลองนั้น เนื่องมาจากข้อความของคุณพี่มะละกอที่ว่า "ข้อที่สอง     จำพวก  "เสียง ตี  เสียงเคาะ  เสียงครูด"  มักจะ  "ขาด"  ฮาร์โมนิค  นะครับ" ซึ่งถ้าฮาร์โมนิคเป็นตัวบ่งชี้ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไรแล้ว และกลองสองใบก็มีเสียงที่แตกต่างกันตามที่คุณ fender ว่า ดังนั้นการตีกลองสองใบในเวลาเดียวกันย่อมทำให้ทุกคนสามารถรับรู้ได้ว่ามีกลองสองใบจริงครับ ผมจึงคิดว่าเสียงกลองก็ต้องมีฮาร์โมนิคของมันนะครับ


พี่เข้าใจ ถูกต้องแล้วครับ   [yes-raccoon]

  ผมถามพี่มะละกอกลับแล้วกันว่า " Harmonic minor " คืออะไร และ มีไว้เพื่อการใด ???


กินกาแฟแทนมื้อเช้าแล้วก็นอนตามปรกติ  ตื่นมาอีกทีเกือบเที่ยง  เป็นอย่างนี้ทุกวันครับ

Harmonic minor  คืออะไรนี่  ไม่รู้จริงๆ  ครับเป็นความสัตย์

หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 11 มีนาคม 2013, 11:57:11 AM
      ผมยังไม่บอกดีกว่าครับผมอยากให้พี่เข้าใจด้วยตัวเอง  ถ้าพี่เข้าใจในจุดเริ่มต้น(กำเนิด) ของเสียงแล้ว ลองอ่านและทำความเข้าใจต่ออีกหน่อย ผมว่าพี่น่าจะพอเข้าใจในหลักการแล้วต่อไปไปยากแล้วที่เหลือก็ต้อง listening และ จะค่อยๆเข้าใจในความหมายที่ผมบอกมามากขึ้นครับ  เดี๋ยวผมจะเลือกแผ่นสำหรับฝึกมาหนึ่งแผ่น แล้วจะส่งไปให้เพื่อนทำ โคลน เพราะต้องใช้วิธีการบันทึกแบบพิเศษเพื่อสร้างบรรยากาศจำลองเสมือนจริง ( Image simulation ) ครับ แต่ขอให้เสร็จภารกิจหลักก่อนผมจะจัดทำขึ้นมาให้ 1 ชุดส่วนใครจะโคลนต่อก็ยินดี แต่ห้ามนำไปเพื่อการค้าโดยเด็ดขาดเพราะเป็นของมีลิขสิทธิ์ นะครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 11 มีนาคม 2013, 12:07:45 PM
ถ้ามีกลองสองใบคนละยี่ห้อกันปรับหนังกลองที่โน๊ตตัวเดียวกันและตีพร้อมกันทุกๆคนจะสามารถฟังออกได้ไหมว่ามีเสียงกลองสองใบครับ



ผมขอแบ่งความคิดเห็นผมบ้างครับ  จากคำถามของพี่เกรียง

1. ผมมีสมมติฐานว่าเนื่องจาก (ตำราฝรั่งบอกมา) หูคนเรา (ปกติ) สามารถแยกแยะแหล่งกำเนิดเสียงความถี่ 1 khz ที่อยู่ห่างกัน 3 องศา ที่อยู่ห่างออกไป 10 เมตรได้ เนื่องจากหูแต่ละข้างของเราอยู่ห่างกัน 22cm และสมมติว่าความเร็วเสียงอยู่ที่ 340เมตรต่อวินาที

2. การตีกลอง 1 ใบกับการตีกลอง 2 ใบ น้ำหนักเสียงมันไม่เท่ากันครับ

3. ปกติแล้ว เสียงกลองคนละยี่ห้อกัน (เอาแบบที่มียี่ห้อนะครับ ไม่มียี่ห้อเนี่ยฟังยากมาก ว่าเป็นเสียงกลองหรือเปล่า  [c--c]) เสียงมันต่างกันอยู่แล้วครับ มันคล้ายๆ กีต้าร์ตรงที่แต่ละยี่ห้อเค้ามีเอกลักษณ์เฉพาะเช่น fender ต้อง twang, Gibson ต้อง sustain ยาวๆ อะไรประเภทนี้ นักดนตรีเค้าก็จะเลือกจุดเด่นของยี่ห้อนั้นๆ มา กลองก็น่าจะเหมือนกัน แต่ผมเล่นกลองไม่ค่อยเป็นนะครับ เลยไม่ค่อยรู้เรื่องกลองเท่าไหร่




     ที่ผมหยิบยกตัวอย่างเรื่องกลองนั้น เนื่องมาจากข้อความของคุณพี่มะละกอที่ว่า "ข้อที่สอง     จำพวก  "เสียง ตี  เสียงเคาะ  เสียงครูด"  มักจะ  "ขาด"  ฮาร์โมนิค  นะครับ" ซึ่งถ้าฮาร์โมนิคเป็นตัวบ่งชี้ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไรแล้ว และกลองสองใบก็มีเสียงที่แตกต่างกันตามที่คุณ fender ว่า ดังนั้นการตีกลองสองใบในเวลาเดียวกันย่อมทำให้ทุกคนสามารถรับรู้ได้ว่ามีกลองสองใบจริงครับ ผมจึงคิดว่าเสียงกลองก็ต้องมีฮาร์โมนิคของมันนะครับ


พี่เข้าใจ ถูกต้องแล้วครับ   [yes-raccoon]

  ผมถามพี่มะละกอกลับแล้วกันว่า " Harmonic minor " คืออะไร และ มีไว้เพื่อการใด ???


กินกาแฟแทนมื้อเช้าแล้วก็นอนตามปรกติ  ตื่นมาอีกทีเกือบเที่ยง  เป็นอย่างนี้ทุกวันครับ

Harmonic minor  คืออะไรนี่  ไม่รู้จริงๆ  ครับเป็นความสัตย์


  เดี๋ยวผมวานให้  ด็อกเตอร์มาอธิบายให้ก็แล้วกัน เค้าน่าจะเข้าใจ และ อธิบายได้ดีกว่าผมมากครับ เพราะเค้าทั้งเล่น ทั้งสอน และ เรียนดนตรีมาโดยตรง จบวิศวะทั้งคู่ (ผมน่ะ ME  ส่วนด็อกน่ะ instrument ) แต่ต้องมาคุยเรื่องอะไรที่ไม่เกี่ยวกับที่เรียนมาเลยสักนิด  laughhahaha
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: YukAudible ที่ 11 มีนาคม 2013, 12:29:08 PM
 เรื่องนี้ผมเคยอ่านบทวิจัยต่างประเทศมาบ้างเรื่อง 'anatomy in ear' ชึ่งเขาเขียนถึงการตอบสนองของโพรงหูของมนุษย์ที่มีผลตอบสนองต่อความถี่ที่เป็น harmonic คู่หรือคี่ แรกเริ่มเลยที่ผมมาหาข้อมูลตรงนี้เพราะว่าผลการทดสอบใน lab ครับผมพบว่าเครื่องหลอดโดยส่วนใหญ่มันจะให้ความเพี้ยนหลักออกมาเป็น Harmonic คู่เมื่อทดสอบโดย spectrum และที่แปลกเหมื่อนกันที่เครื่อง solid state ส่วนใหญ่ให้ความเพี้ยนหลักออกมาเป็น Harmonic คี่ และแปลอีกอย่างพบว่าเครื่องที่ให้ความเพี้ยนหลักออกมาเป็น Harmonic คู่จะเป็นเสียงที่ผู้ฟังชอบเสมอ สำหรับเครื่อง solid state ที่ให้เป็นลักษณะแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นวงจรแบบ class-a
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: YukAudible ที่ 11 มีนาคม 2013, 12:42:53 PM
 ลองเข้าไปที่ web stereophile http://www.stereophile.com/content/audio-research-reference-5-se-line-preamplifier-measurements (http://www.stereophile.com/content/audio-research-reference-5-se-line-preamplifier-measurements) ตาม link นี้ดูนะครับ ดูผลทดสอบในรูปที่ 8 นะครับเขาป้อน test signal ที่ 50Hz ผลทดสอบความเพี้ยนออกมาเป็น Harmonic คู่ครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Guy_Audio ที่ 11 มีนาคม 2013, 12:52:52 PM
    ถ้าความเข้าใจผมถูกต้องแล้วตามข้อความที่ว่า "ฮาร์โมนิคเป็นตัวบ่งชี้ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไรแล้ว" ผมจึงไม่เข้าใจกับคำพูดที่ว่า...ได้ยินเสียงฮาร์โมนิคที่สองหรือที่สามชัดขึ้นไงละครับ จึงเป็นที่มาของคำถามข้างบนว่า...เขาฟังเสียงฮาร์โมนิคกันยังไงละครับ
กระผมคิดว่าเสียงทุกเสียง น่าจะมีฮาโมนิกประกอบอยู่ในโครงสร้างของคลื่นเสียง ซึ่งนั่นคือสิ่งที่บอกบุคลิกของเสียง
อย่างเวลาผมเลือกกีต้าร์โปร่ง สิ่งแรกที่ผมเลือกผมจะไม่ดีดก่อนครับ
แต่ผมจะใช้นิ้วชี้เคาะเบาๆที่สะพานสาย เพื่อที่จะดูความกังวาลของเนื้อไม้ก่อน(ซึ่งจะมีเสียงของการสั่นของสายตามมาด้วยเล็กน้อย)
และจะไล่ที่ละเฟรตเพื่อจะตรวจดูว่ามี Dead Note หรือเปล่า(ความถี่ที่ไม้ให้ไม่ได้หรืออาจจะเกิดจากการหักล้างกันพอดี
ซึ่งจะทำให้โน๊ตตัวนั้นมีแต่เสียงต้น fundamental เพียงอย่างเดียว แต่ Sustain ซึ่งมาพร้อมกับ ฮาโมนิกจะกุดสั้น )
แต่ถ้าถามผมว่า ที่ได้ยินเป็น ฮาโมนิกที่เท่าไหร่ 2 หรือ 3 ผมคงตอบไม่ได้ แต่ผมคืดว่าน่าจะจับ ฮาโมนิกที่ 2 ได้ง่ายกว่า
เพราะเป็นความถี่ควบคู่ ที่ คูณ 2
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: YukAudible ที่ 11 มีนาคม 2013, 12:57:54 PM
    ถ้าความเข้าใจผมถูกต้องแล้วตามข้อความที่ว่า "ฮาร์โมนิคเป็นตัวบ่งชี้ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไรแล้ว" ผมจึงไม่เข้าใจกับคำพูดที่ว่า...ได้ยินเสียงฮาร์โมนิคที่สองหรือที่สามชัดขึ้นไงละครับ จึงเป็นที่มาของคำถามข้างบนว่า...เขาฟังเสียงฮาร์โมนิคกันยังไงละครับ
กระผมคิดว่าเสียงทุกเสียง น่าจะมีฮาโมนิกประกอบอยู่ในโครงสร้างของคลื่นเสียง ซึ่งนั่นคือสิ่งที่บอกบุคลิกของเสียง
อย่างเวลาผมเลือกกีต้าร์โปร่ง สิ่งแรกที่ผมเลือกผมจะไม่ดีดก่อนครับ
แต่ผมจะใช้นิ้วชี้เคาะเบาๆที่สะพานสาย เพื่อที่จะดูความกังวาลของเนื้อไม้ก่อน(ซึ่งจะมีเสียงของการสั่นของสายตามมาด้วยเล็กน้อย)
และจะไล่ที่ละเฟรตเพื่อจะตรวจดูว่ามี Dead Note หรือเปล่า(ความถี่ที่ไม้ให้ไม่ได้หรืออาจจะเกิดจากการหักล้างกันพอดี
ซึ่งจะทำให้โน๊ตตัวนั้นมีแต่เสียงต้น fundamental เพียงอย่างเดียว แต่ Sustain ซึ่งมาพร้อมกับ ฮาโมนิกจะกุดสั้น )
แต่ถ้าถามผมว่า ที่ได้ยินเป็น ฮาโมนิกที่เท่าไหร่ 2 หรือ 3 ผมคงตอบไม่ได้ แต่ผมคืดว่าน่าจะจับ ฮาโมนิกที่ 2 ได้ง่ายกว่า
เพราะเป็นความถี่ควบคู่ ที่ คูณ 2

 อ่านแล้วเห็นภาพเลยครับ [clap hand2] [clap hand2]
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: YukAudible ที่ 11 มีนาคม 2013, 01:06:14 PM
  ผมว่าหัวข้อนี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเพราะเรากำลังหาคำตอบกันว่าทำอย่างไรที่ไม่ให้เครื่องขยายเสียงทำหน้าที่เป็นแค่ตัวขยายระดับสัญญาณแต่มันต้องสามารถถ่ายทอดความเป็นพื้นฐานขององค์ประกอบของเครื่องดนตรีใด้ด้วยนั้นคือการถ่ายทอดใด้ใกล้เคียงจริงมากที่สุด เมื่อก่อนมีคนถามผมว่ากลับขั้วฟิวส์คุณฟังออกหรือไม่ผมตอบใด้เลยว่าไม่ออกครับ แต่ผมตอบใด้แบบเต็มปากเลยว่าเครื่องขยายเสียงแต่ละวงจรแต่ละแบบการออกแบบให้เสียงที่ต่างกันจริงทั้งที่ performance spec มันใกล้เคียงกัน
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: ฅนหระรี ที่ 11 มีนาคม 2013, 01:14:12 PM
   ถ้าความเข้าใจผมถูกต้องแล้วตามข้อความที่ว่า "ฮาร์โมนิคเป็นตัวบ่งชี้ว่าเสียงนั้นคือเสียงอะไรแล้ว" ผมจึงไม่เข้าใจกับคำพูดที่ว่า...ได้ยินเสียงฮาร์โมนิคที่สองหรือที่สามชัดขึ้นไงละครับ จึงเป็นที่มาของคำถามข้างบนว่า...เขาฟังเสียงฮาร์โมนิคกันยังไงละครับ

กระผมคิดว่าเสียงทุกเสียง น่าจะมีฮาโมนิกประกอบอยู่ในโครงสร้างของคลื่นเสียง ซึ่งนั่นคือสิ่งที่บอกบุคลิกของเสียง
อย่างเวลาผมเลือกกีต้าร์โปร่ง สิ่งแรกที่ผมเลือกผมจะไม่ดีดก่อนครับ
แต่ผมจะใช้นิ้วชี้เคาะเบาๆที่สะพานสาย เพื่อที่จะดูความกังวาลของเนื้อไม้ก่อน(ซึ่งจะมีเสียงของการสั่นของสายตามมาด้วยเล็กน้อย)
และจะไล่ที่ละเฟรตเพื่อจะตรวจดูว่ามี Dead Note หรือเปล่า(ความถี่ที่ไม้ให้ไม่ได้หรืออาจจะเกิดจากการหักล้างกันพอดี
ซึ่งจะทำให้โน๊ตตัวนั้นมีแต่เสียงต้น fundamental เพียงอย่างเดียว แต่ Sustain ซึ่งมาพร้อมกับ ฮาโมนิกจะกุดสั้น )
แต่ถ้าถามผมว่า ที่ได้ยินเป็น ฮาโมนิกที่เท่าไหร่ 2 หรือ 3 ผมคงตอบไม่ได้ แต่ผมคืดว่าน่าจะจับ ฮาโมนิกที่ 2 ได้ง่ายกว่า
เพราะเป็นความถี่ควบคู่ ที่ คูณ 2


รูปนี้คงอธิบายโพสแรกๆของคุณ Guy_Audio ในเรื่องการเล่นเสียง Mute Harmonic ได้ครับ
(http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/61/Flageolette.svg/529px-Flageolette.svg.png)

ส่วนรูปนี้ที่ทำให้ผมเข้าใจมาโดยตลอดว่าต้นโน้นไม่ได้มีแค่เพียง fundamental เพียงอย่างเดียวครับ
(http://www.selectricity.com/images/HD2.jpg)
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: track ที่ 11 มีนาคม 2013, 01:20:20 PM
     ผมยังไม่บอกดีกว่าครับผมอยากให้พี่เข้าใจด้วยตัวเอง  ถ้าพี่เข้าใจในจุดเริ่มต้น(กำเนิด) ของเสียงแล้ว ลองอ่านและทำความเข้าใจต่ออีกหน่อย ผมว่าพี่น่าจะพอเข้าใจในหลักการแล้วต่อไปไปยากแล้วที่เหลือก็ต้อง listening และ จะค่อยๆเข้าใจในความหมายที่ผมบอกมามากขึ้นครับ  เดี๋ยวผมจะเลือกแผ่นสำหรับฝึกมาหนึ่งแผ่น แล้วจะส่งไปให้เพื่อนทำ โคลน เพราะต้องใช้วิธีการบันทึกแบบพิเศษเพื่อสร้างบรรยากาศจำลองเสมือนจริง ( Image simulation ) ครับ แต่ขอให้เสร็จภารกิจหลักก่อนผมจะจัดทำขึ้นมาให้ 1 ชุดส่วนใครจะโคลนต่อก็ยินดี แต่ห้ามนำไปเพื่อการค้าโดยเด็ดขาดเพราะเป็นของมีลิขสิทธิ์ นะครับ


ของผมมีแผ่นนี้ครับพี่ ใช่ที่จะโคลนแจกใหมครับ ผมใช้แผ่นนี้ในการหัดฟังเพลง รายระเอียดเสียง บรรยากาศ เครื่องดนตรีห่างไมด์ห่างผนัง และอื่นๆ ตามที่ Disc พูดเกริ่นก่อนให้ฟังเพลงครับ

The Ultimate Demonstration Disc ของ Chesky Records ตามลิ้งเลยครับ

http://www.chesky.com/various-artists--ultimate-demonstration-disc.html
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Guy_Audio ที่ 11 มีนาคม 2013, 02:16:23 PM

คำถาม  เสียงกลองถือได้ว่าเป็น  pitch  หรือ  nonpitch  หรือเป็นทั้งคู่  หรือ  ฯลฯ

หรือกลองหลายๆ ใบ  ทำเสียง  โด เร มี ฟา ซอล ลา ที โด  ได้อย่าง ชัดเจนแม่นยำ เหมือนดนตรีชิ้นอื่นหรือไม่?
  

1. เวลาตั้งเสียงกลองชุด (กลองอื่นผมไม่ทราบ)  มาตรฐานคนไทย (ผมไม่เคยเห็นฝรั่งใช้) จะใช้คำว่า รสกลมกล่อม  เป็นคีย์มาตรฐาน ไล่จาก snare tom1 tom2 โดย snare ต้องปลดโซ่ก่อน

2. คนที่เคยตีกลองจะรู้ว่า เวลามากีต้าร์เบสมาเล่นใกล้ๆ แล้วเสียงหรือโน๊ตมันตรงกับ snare เสียง snare มันจะดังหึ่งๆ (Resonanant)

3. ถ้าเคยใช้ alesis D4 จะรู้เลยครับ เพราะมันบอกเราเลยกลองใบที่เราเลือกเป็นโน๊ตอะไร

น่าจะช่วยเป็นแนวทางในการตอบได้ว่า เสียงกลอง เป็น pitch หรือ nonpitch ครับ ผมออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่พวก perfect pitch ที่สามารถบอกเสียงของตัวโน๊ตได้จากการฟังเพียงแค่ครั้งเดียว
กระผมพึ่งนึกออกครับ พี่ fender ว่าเพื่อนผมตั้งเสียงกลองก็ใช้สูตรนี้เหมือนกัน แต่ของพี่คงซื้อด้วยเงินสด เลยใช้ รสกลมกล่อม ได้
แต่เพื่อนผมไม่ได้ซื้อด้วยเงินสด เลยใช้วลีตั้งกลองว่า ซื้อเงินผ่อน  ซึ่งเป็นบันไดเสียงเดียวกันเลย  [roll] laughhahaha [roll]
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: YukAudible ที่ 14 มีนาคม 2013, 10:50:02 AM
 ด้วยความสงสัยในเรื่องนี้เมื่อคืนเลยลองไปค้นข้อมูลเก่าใน com ดูเลยไปจองานวิจัยเข้าชิ้นหนึ่ง ' Power Amplifier testing based on psychoacoustic '
 ในงานวิจัยเขาพูดถึงการเปรียบเทียบระหว่าง AMPLIFIER ที่มี spec ที่ดีเยี่ยม low T.H.D , low harmonic distortion เปรียบเทียบกับ amp หลอด Cary 300SEI ที่ spec ทุกอย่างแย่หมด T.H.D ที่สูง ,  harmonic distortion เพี้ยบแต่ไหงทุกคนฟังบอกว่าชอบฟังเสียงจากเจ้า Cary 300SEI ใด้ไงซึ่งเขาสรุปว่าไอ้ความเพี้ยน harmonic นี่แหละที่มันสำคัญ ทานใดต้องการเอาไปอ่าน email มาใด้ครับแต่เป็น ภาษาอังกฤษนะครับ
 
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Kang-Pla ที่ 14 มีนาคม 2013, 11:10:45 AM
ด้วยความสงสัยในเรื่องนี้เมื่อคืนเลยลองไปค้นข้อมูลเก่าใน com ดูเลยไปจองานวิจัยเข้าชิ้นหนึ่ง ' Power Amplifier testing based on psychoacoustic '
 ในงานวิจัยเขาพูดถึงการเปรียบเทียบระหว่าง AMPLIFIER ที่มี spec ที่ดีเยี่ยม low T.H.D , low harmonic distortion เปรียบเทียบกับ amp หลอด Cary 300SEI ที่ spec ทุกอย่างแย่หมด T.H.D ที่สูง ,  harmonic distortion เพี้ยบแต่ไหงทุกคนฟังบอกว่าชอบฟังเสียงจากเจ้า Cary 300SEI ใด้ไงซึ่งเขาสรุปว่าคุณความเพี้ยน harmonic นี่แหละที่มันสำคัญ ทานใดต้องการเอาไปอ่าน email มาใด้ครับแต่เป็น ภาษาอังกฤษนะครับ
 
ถ้าในทางหลักการนะดูดีครับแต่ปฏิบัติแตกต่างกันมาก เอาไว้อ้างอิง ผลรับคือหูเราที่ตัดสิน แต่ก็แปลกเหมือนกันนะ เอาสแปคเป็นตัวแสดงประสิทธิภาพ แล้วทำไม่ไม่เอาไมร์มาวัดประสิทธิผลถึงจะถูกหลักกาณ์ แต่เอาหูอนาล๊อคมาตัดสินเพราะฉนั้นต้นเสียงก็ต้องเป็นอนาล็อค ก็ไม่ผิดอะไรที่จะไปกันได้
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: YukAudible ที่ 14 มีนาคม 2013, 11:20:15 AM
ด้วยความสงสัยในเรื่องนี้เมื่อคืนเลยลองไปค้นข้อมูลเก่าใน com ดูเลยไปจองานวิจัยเข้าชิ้นหนึ่ง ' Power Amplifier testing based on psychoacoustic '
 ในงานวิจัยเขาพูดถึงการเปรียบเทียบระหว่าง AMPLIFIER ที่มี spec ที่ดีเยี่ยม low T.H.D , low harmonic distortion เปรียบเทียบกับ amp หลอด Cary 300SEI ที่ spec ทุกอย่างแย่หมด T.H.D ที่สูง ,  harmonic distortion เพี้ยบแต่ไหงทุกคนฟังบอกว่าชอบฟังเสียงจากเจ้า Cary 300SEI ใด้ไงซึ่งเขาสรุปว่าคุณความเพี้ยน harmonic นี่แหละที่มันสำคัญ ทานใดต้องการเอาไปอ่าน email มาใด้ครับแต่เป็น ภาษาอังกฤษนะครับ
 
ถ้าในทางหลักการนะดูดีครับแต่ปฏิบัติแตกต่างกันมาก เอาไว้อ้างอิง ผลรับคือหูเราที่ตัดสิน แต่ก็แปลกเหมือนกันนะ เอาสแปคเป็นตัวแสดงประสิทธิภาพ แล้วทำไม่ไม่เอาไมร์มาวัดประสิทธิผลถึงจะถูกหลักกาณ์ แต่เอาหูอนาล๊อคมาตัดสินเพราะฉนั้นต้นเสียงก็ต้องเป็นอนาล็อค ก็ไม่ผิดอะไรที่จะไปกันได้

 ในงานวิจัยนี้เขาเสนอวิธีการทดสอบในอีกแบบหนึ่งที่ไม่เน้นเรื่อง performance Spec แต่นำเสนอถึงความสัมพันธ์ระหว่างเสียงที่เป็นธรรมชาติกับเสียงที่ผ่านกระบวนการขยายเสียงจากเครื่องขยายเสียงว่ามีความสัมพันธ์กันอยางไรและจะวัดออกมาใด้ยังไงครับ
 ซึ่งผมมั่นใจว่าเครื่องเสียง high-end ที่ขายกันเป็นล้านเขาต้องศึกษาเรื่อง harmonic,oral harmonic เหมือนกันแน่นอนเพื่อปรับแต่งให้ผลของการขยายที่ใด้ยังคงเป็นธรรมชาติไม่ใด้แค่ขยายขนาดของ amplitude ครับ
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 14 มีนาคม 2013, 11:21:16 AM
 สำหรับหลอดแล้ว ตัวเลขเหล่านี้ผมไม่ได้มองว่าแย่ครับ เพราะจะไปเทียบกับ โซลิตคงไม่ได้ เพราะว่ามันต่างกันสุดขั้ว  หรือ ตัวประหลาดอย่าง Damping factor ซึ่งของหลอดน้อยกว่าทางโซลิตชนิดเทียบไม่ติด แต่ก็ได้ผลลัพธ์ ออกมาได้ดีไม่แพ้กัน  คนชอบเสียงหลอดก็เพราะว่าความเพี้ยน  คนเขียนบทความหลายคนติด ego ส่วนตัวออกมาในลักษณะการชี้นำ จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่เรื่องของความชอบ ไม่มีเครื่องมือตัวใดสามารถวัดได้นอกจากใจเรา  อ่านเยอะเสพข้อมูลเยอะก็ดีครับจะได้รู้เท่าทัน แต่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดเลยคือใจเรา เล่นแล้วจะได้ไม่ "หลง"
หัวข้อ: Re: ฮาร์โมนิค
เริ่มหัวข้อโดย: Kang-Pla ที่ 14 มีนาคม 2013, 11:30:40 AM
สำหรับหลอดแล้ว ตัวเลขเหล่านี้ผมไม่ได้มองว่าแย่ครับ เพราะจะไปเทียบกับ โซลิตคงไม่ได้ เพราะว่ามันต่างกันสุดขั้ว  หรือ ตัวประหลาดอย่าง Damping factor ซึ่งของหลอดน้อยกว่าทางโซลิตชนิดเทียบไม่ติด แต่ก็ได้ผลลัพธ์ ออกมาได้ดีไม่แพ้กัน  คนชอบเสียงหลอดก็เพราะว่าความเพี้ยน  คนเขียนบทความหลายคนติด ego ส่วนตัวออกมาในลักษณะการชี้นำ จะด้วยเหตุผลใดก็แล้วแต่เรื่องของความชอบ ไม่มีเครื่องมือตัวใดสามารถวัดได้นอกจากใจเรา  อ่านเยอะเสพข้อมูลเยอะก็ดีครับจะได้รู้เท่าทัน แต่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดเลยคือใจเรา เล่นแล้วจะได้ไม่ "หลง"
นี่แหละ ที่ผมชอบตัวเราเอง หมดน้อยด้วย laughhahaha