ผู้เขียน หัวข้อ: เดินสายไฟบ้านใหม่เพื่อระบบที่สมบรูณ์  (อ่าน 18980 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ yoyoeiei

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 194
  • ถูกใจกด Like+ 1
เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาฝากครับ  [))]

เหมาะกับคนที่คิดจะลงทุนกับระบบแบบเต็มๆ ^^ (ซึ่งคงไม่ใช่ผม ^^)


---------------------------------------------------
โดยคุณ 108   
การเดินระบบไฟใหม่สำหรับชุดโฮมเธียเตอร์ (สำหรับมือใหม่)
? เมื่อ: 14 พฤษภาคม 2011, เวลา 18:49:23 น. ?
สวัสดีครับ

ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณพี่ก้อยมากครับที่ได้แนะนำการเดินระบบไฟสำหรับชุดโฮมเธียเตอร์ให้กับมือใหม่อย่างผม  จนนำไปสู่ภาคปฏิบัติจริงและใช้งานมาแล้วร่วม 3 เดือน (พ้นระยะ Burn ประมาณ 200 ชั่วโมง) พี่ก้อยได้แนะนำไว้ค่อนข้างละเอียดจนระดับที่ผมซึ่งไม่ค่อยมีความรู้เรื่องนี้สามารถออกแบบระบบไฟที่เหมาะตามวัตถุประสงค์ของตนเองได้

การรีวิวงานครั้งนี้ เป็นไปตามประสามือใหม่นะครับ บางจุดอาจดูแปลกๆ หรือไม่ Make Sense ก็เป็นไปตามที่ผมเข้าใจอย่างนั้น ไม่เกี่ยวกับการแนะนำของพี่ก้อยแต่อย่างใด ซึ่งพี่ก้อยไม่มีทางพลาดเรื่องเหล่านี้อยู่แล้ว

เริ่มกันเลยครับ (ส่วนเรื่องอุปกรณ์จะสรุปแยกให้ฟังทีหลังครับ ... ช่วงนี้ เอา Concept ก่อน)

1) โจทย์ของผมตอนเริ่มต้น คือ ต้องการแยกระบบไฟที่ใช้สำหรับชุดโฮมฯ ต่างหาก ออกจากระบบไฟบ้านที่ใช้อยู่ เนื่องจาก เชื่อว่าความบริสุทธิ์ของไฟฟ้าที่ไม่ใช้ปนกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นซึ่งจะมีการกวนกัน จะทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีกว่า ในระบบเครื่องเสียงทุก System จึงต้องการเครื่องกรองไฟมาช่วย (เหมือนน้ำประปาถ้าต้องการให้บริสุทธิ์ก็ต้องผ่านเครื่องกรอง ร่างกายเราก็จะได้รับน้ำบริสุทธิ์ก็จะมีสุขภาพดีไปด้วย)

2) ผมจะเดินสายไฟใหม่ตั้งแต่หลังผ่านมิเตอร์ไฟหน้าบ้าน มาเข้า Breaker ขนาด 100 แอมป์ 2 pole (ติดตั้งภายในบ้าน) เพื่อที่จะเป็นตัวหลักในการควบคุมระบบไฟทั้งหมด (ระบบไฟบ้านเดิม และระบบไฟใหม่สำหรับชุดโฮมฯ) และเดินสายไฟออกจาก Breaker นี้แยกเป็น 2 สาย (ถึงต้องใช้ Breaker เป็นแบบ 2 pole ครับ) สายแรกเข้าระบบไฟบ้านเดิม อีกสายไปเข้าระบบไฟใหม่ที่ห้องโฮมฯ

3) ระบบไฟบ้านเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงครับ แค่ต่อไฟสายแรกเข้าไปใหม่ก็จบ คือต่อเข้าตู้เมนเดิมของบ้านแหละครับ

4) ระบบไฟใหม่ ก็ต้องต่อเข้าตู้เมนไฟฟ้าใหม่ โดยในตู้เมนใหม่นี้ หรือบางทีเรียกว่า Consumer Unit ก็จะประกอบไปด้วย Main Breaker 1 ตัว และ Breaker ย่อย 4 ตัว และที่ขาดไม่ได้คือ ผมใส่ Surge Arrester เข้าไปด้วยอีก 1 ตัว เพื่อป้องกันไฟกระชากจากต้นทางนี้เลย (ทำให้ชุดโฮมฯ ของผม ไม่ต้องใช้เครื่องกรองไฟก็ได้ เนื่องจาก ไฟฟ้าเดินแยกวงจรมาเฉพาะ ก็มีความบริสุทธิ์แล้ว และไม่ต้องกังวลเรื่องไฟกระชาก)

5) Breaker ย่อย 4 ตัวของผม จะเดินสายไฟไปยังเต้ารับ 4 จุด (ภาษาชาวบ้านก็ปลั๊กไฟนั่นแหละครับ) โดยจุดที่ 1 ผมจะอยู่ชั้น 2 เผื่อไว้อนาคตผมจะซื้อชุดฟังเพลง 2 Channel อีก 1 ชุด, จุดที่ 2 อยู่บริเวณที่จะวางชุดโฮมฯ ครับ สำหรับเสียบแอมป์, จุดที่ 3 อยู่บริเวณเดียวกันสำหรับเสียบ LCD กับ เครื่องเล่น DVD (รอเปลี่ยนเป็นเครื่องเล่น Blu-ray ในอนาคตครับ) และจุดที่ 4 สำหรับเสียบ Sub Woofer ต่างหาก ซึ่งอาจจะอยู่ห่างออกไปทางซ้ายหรือทางขวาของจุดที่ 2 หรือ 3 ไปประมาณ 1-2 เมตร แล้วแต่ว่า กะจะวาง Sub Woofer ตำแหน่งใด

6) ที่ขาดไม่ได้ที่จัดได้ว่าจะทำให้ระบบไฟแยกต่างหากอย่างสมบูรณ์ก็คือ ต้องเดินสายดินใหม่เพิ่มด้วยครับ โดยหลักดินใหม่นี้ให้ปักห่างจากหลักดินเดิมไม่ต่ำกว่า 6-10 เมตร (ผมปักห่าง 10 เมตรครับ) เพื่อไม่ให้กวนกัน (อะไรกวนก็ไม่รู้ครับ) และตอกลึกไม่ต่ำกว่า 1 ฟุต
เสร็จแล้วครับ 6 ขั้นตอนง่ายๆ ใช่มั้ยครับ? ... โคตรยากเลยครับสำหรับมือใหม่อย่างผม ไม่ได้รู้เรื่องรู้ราวอะไรกับเค้าเลย แต่ใจรักทำให้ทำสำเร็จจนได้ แต่กว่าจะมาสรุปให้คุณๆ ฟังได้แบบนี้ ผมถามพี่ก้อยมาเกือบ 20-30 รอบได้มั้งครับ พี่ก้อยก็ตอบก็อธิบายกันไม่มีเบื่อ ... ขอบคุณจริงๆ ครับ

ทีนี้มาถึงอุปกรณ์/ สายไฟ ว่าใช้ขนาดหรือความยาวเท่าไหร่บ้าง ขึ้นอยู่กับสภาพบ้านและการใช้งานของคุณนะครับ ส่วนของผมเป็นดังนี้

1) มิเตอร์ไฟฟ้าหน้าบ้านครับ ? ของผมเป็นขนาด 15 (45) อยู่แล้ว ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ไฟในบ้านทั้งหมดครับ ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแต่ประการใด

2) CB100A,2 pole ครับ (Circuit Breaker) ? ของผมใช้ของ Square-D (EasyPact)EZD100H 2P : 30 kA (EZD100H2100) ผมซื้อจากที่นี่ครับ www.telepart.net


3) ตู้เมนไฟฟ้าใหม่ ? ของผมใช้ของ SEIMENS ครับ ขนาด 6 วงจรย่อย รุ่น SPC06 ...XX... โดยเลือก Main Breaker แบบ 32 แอมป์ครับ รหัสก็จะเป็น SPC0632 (คือตู้เมนไฟฟ้า ถ้าซื้อตู้แล้วเค้าจะให้ Main Breaker มาด้วยครับ โดยเลือกได้ว่าจะเอาขนาดกี่แอมป์) ส่วน Main Breaker แบบ 32 แอมป์นั้น ผมใช้รุ่น 5SJ42 MCB C32


4) Surge Arrester ? ของ SEIMENS 5SD7 4660 (1- pole, Compact (non plug-in)) ซึ่งจริงๆ แล้ว พี่ก้อยแนะนำให้เป็นรุ่น 4610 ครับ ซึ่งเป็นแบบ plug-in ดีกว่าตรงที่สามารถถอดเปลี่ยนได้เวลาเสีย แต่ของหมดครับ ไม่มีมา ซึ่งทาง SEIMENS บอกให้ผมฟังว่า แบบ plug-in ถ้าเสีย ก็ไม่มีอะไหล่ให้ซื้อ ... เออๆ เอา 4660 ก็ได้ (วะ)


5) Breaker ย่อยที่ติดตั้งในตู้เมนไฟใหม่ ก็ของ SEIMENS ครับ ใช้ขนาด 20 แอมป์ 4 ตัว ผมใช้รุ่น 5SJ6120-7SC C20 (จะใช้ Breaker ขนาดกี่แอมป์นั้น ก็แล้วแต่สภาพการใช้งานนะครับ กรณีของผมแค่ 20 แอมป์ก็เหลือครับ)
ของ SEIMENS ผมติดต่อ คุณ เพชร 084-0856655 ที่ SEIMENS โดยตรงครับ

6) สายไฟ ? ของผมจะใช้ยี่ห้อ Yazaki ครับ แต่บางอันใช้ของ Phelps Dodge แทน เนื่องจาก หาของ Yazaki ไม่ได้ (คือถ้าซื้อยกม้วน 100 เมตร คุณจะหาได้อยู่แล้วครับ แต่ถ้าแบบตัดแบ่งขายจะหาลำบากครับ หรือไม่ก็แพงจนรับไม่ได้) ) ผมซื้อจากที่นี่ครับ www.telepart.net
   a. NYY 16 มม. (1 Core) 2 เส้น ? NYY เป็นชนิดของสายไฟครับ ใช้สำหรับภายนอกอาคาร จะทนแดดทนฝนทนความชื้นได้ดี ส่วนคำว่า Core นั้น คือจำนวนแกนของทองแดงในสายไฟนั้นๆ ครับ ถ้าตัดขวางออกมาก็จะเห็นว่ามีแกนทองแดงแค่ 1 แกนเท่านั้น   ถ้าเป็น 2Core ก็จะมี 2 แกน (กรณีนี้ คุณอาจใช้ NYY 16 มม. (2 Core) เส้นเดียวก็ได้ครับ ใช้ได้เหมือนกัน แต่ราคารวมก็พอๆ กันครับ) ของผมจะใช้เดินจากมิเตอร์มายัง CB100A, 2pole ครับ ระยะทาง 30 เมตร ใช้ 2 เส้น ก็ต้องซื้อ 60 เมตรครับ (ช่างจะตัดสายไฟเดิมของการไฟฟ้าออก และจะเดินสายไฟใหม่จากมิเตอร์ เดินขึ้นเสาไฟฟ้าหน้าบ้าน และโยงเข้ามาใต้หลังคา และมาลงตรงตำแหน่งที่จะติดตั้ง CB100A, 2pole ในบ้านครับ)


   b. THW 10 มม. (1 Core) 4 เส้น ? THW ก็เป็นชนิดของสายไฟเหมือนกันครับ แต่เหมาะเดินในอาคาร ก็จะเดินคู่ 2 เส้นแรก ออกจาก pole แรกของ CB100A, 2 pole ไปเข้าตู้เมนไฟเดิมของบ้าน และอีก 2 เส้น เดินออกจากอีก pole  ที่เหลือ ไปเข้าตู้เมนไฟใหม่ชุดโฮมฯ ของผม 4 เส้น รวม 16 เมตรครับ
   c. NYY 10 มม. (1 Core) 1 เส้น ? เดินจากตู้เมนไฟใหม่ ไปยังหลักดิน ของผมใช้ 15 เมตร
ทั้งหมดนี้ เป็นสายไฟที่เกี่ยวข้องกับการนำไฟฟ้าเข้าบ้านมาถึงตู้เมนไฟฟ้านะครับ สายไฟต่อไปจะเป็นการนำไฟออกจากตู้เมนไฟฟ้าใหม่ไปยังปลั๊กไฟหรือเต้ารับซึ่งจะใช้สายไฟสำหรับเครื่องเสียงครับ JPS in Wall

7) สายไฟ JPS in Wall ? เดินจาก CB ย่อยแต่ละตัว ในตู้เมนไฟใหม่ ไปยังเต้ารับทั้ง 4 จุด ภายในสายเส้นสีแดงนี้จะมีอีก 3 สายย่อยครับ สำหรับต่อเข้าเต้ารับโดยเป็นเรื่องของ N ของ G อะไรเนี่ยแหละครับ (ช่างไฟจะทราบ) ก็มีข้อจำกัดสำหรับสาย JPS in Wall นี้อยู่ว่า หากคุณต้องการประสิทธิภาพสูงสุดของสายให้แสดงออกมาได้ ต้องยาวอย่างน้อย 3 เมตร .... เป็นเรื่องเลยครับ สาย JPS in Wall นี้ฟุตละเกือบ 800 บาท ไม่ต้องสงสัยเลยครับว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดในการสร้างระบบไฟฟ้าใหม่ของผม เกินครึ่งมาจากเจ้าสายแดงนี้ครับ


8  เต้ารับ JPS Duplex ? ผมใช้ 4 ตัวครับ ราคาตั้งก็ตัวละ 2,000 บาท ตัวนึงก็จะเสียบได้ 2 สายครับ โดยลักษณะของขาปลั๊กที่จะนำมาเสียบก็ต้องเป็นปลั๊กที่มีขากลม 1 ขา ขาแบน 2 ขา (ไม่รู้สิครับ ผมเรียกไม่ค่อยถูก)
JPS in Wall และ JPS Duplex ผมซื้อจาก ปิยะนัส ครับ www.piyanas.com

9) หลักดิน ? เคลือบทองแดง ขนาด 12 มม. ยาว 2.4 เมตร ซื้อตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปครับ

10) อุปกรณ์อื่นๆ ก็เช่น
   a. กล่องครอบ CB100A, 2 pole ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปครับ แนะนำว่า ให้เอาไอ้เจ้า CB100A, 2 pole นี้ไปลองใส่ดูเลยครับ
   b. กล่องครอบเต้ารับ ผมใช้แบบธรรมดาทั่วไปครับ ก็ 4 กล่อง ซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปครับ
   c. ฝาครอบเต้ารับ ผมใช้ของ Hubbell NP81 2PLEX Smooth Nylon Wall Plate ก็ใช้ 4 อัน ผมสั่งซื้อจาก www.avbestbuy.com ครับ
   d. หางปลา ? ใช้ตอนเข้าสาย JPS in Wall กับเต้ารับ JPS Duplex เพื่อความแน่น (ช่างไฟรู้จักครับ ผมก็ไม่รู้จักมาก่อน) หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปครับ
   e. รางเดินสายไฟ ? ก็แล้วแต่ครับว่า คุณอยากจะโชว์สายไฟต่างๆ ที่เดินในบ้านหรือไม่ ถ้าไม่อยากโชว์ก็ใช้รางนี้มาครอบครับเพื่อความเรียบร้อย ซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปครับ
งบประมาณครับ ของผมอยู่ที่ประมาณเกือบ 6 หมื่นครับ รวมทุกอย่างและค่าแรงช่าง ก็เป็นช่างไฟทั่วไปได้ครับ ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเครื่องเสียงมาก่อน แต่คุณต้องคุยและทำความเข้าใจกับช่างให้ดีๆ ก่อนนะครับว่าจะเดินอะไรยังไง

ช่างมาช่วยกัน 4 คน ก็ใช้เวลา 2 วันครับ โดยวันแรก ช่างจะเดินสายไฟและอุปกรณ์ทุกอย่างที่เป็นส่วนที่อยู่ในบ้านครับ ทำรอไว้ และวันที่สองถึงจะเป็นการตัดไฟและเดินสายไฟจากนอกบ้านเข้ามา


รูปนี้ ด้านขวาคือ CB100A, 2 pole ในกล่องครอบ ต่อเข้าตู้เมนไฟเดิมของบ้าน



รูปนี้ เป็นการเดินสาย JPS in Wall ออกจากตู้เมนไฟใหม่ (ออกจาก CB ย่อย)



รูปนี้ เดินสาย JPS in Wall เข้า JPS Duplex ครับ



รูปนี้ เดินสายเข้า JPS Duplex ทั้ง 3 จุด (ชั้นล่าง) เรียบร้อย โดย 2 ตัวบนสำหรับ AV Receiver กับ LCD+DVD   ส่วนตัวล่างซ้ายสำหรับ Sub Woofer โดยมีการใส่รางเดินสายไฟครอบเรียบร้อยแล้ว





เดินเสร็จเรียบร้อยครับสำหรับ CB100A, 2 pole ต่อเข้ากับตู้เมนไฟเดิมของบ้าน




รูปนี้ก็เดินเสร็จเรียบร้อยสำหรับตู้เมนไฟใหม่ การติดตั้งพี่ก้อย Recommend มากๆ ว่า ไม่ต้องติดตู้สูง ให้ติดในตำแหน่งที่เอื้อมถึงเพื่อความปลอดภัย ไม่ต้องเอาอะไรมาปีน   ส่วนเรื่องจะกวนกับจอภาพมั้ยถ้าตู้อยู่ใกล้กันกับ LCD เหมือนในรูป ก็คือ ไม่กวนนะครับ




ภายนอกบ้านบ้างนะครับ สายไฟที่ห้อยอยู่ด้านขวา คือสายของการไฟฟ้าที่ช่างตัดออก แล้วเดินสายออกจากมิเตอร์ใหม่ (ด้านขวา) วนขึ้นไปด้านบน เพื่อโยงเข้าบ้านอีกทีที่ใต้หลังคาบ้านครับ





สายดินครับ ที่เดินขึ้นจากตู้เมนไฟใหม่ในบ้านขึ้นฝ้า และไปลงตรงเสาที่โรงรถภายนอกบ้านครับ ในรูปคือเดินสายเก็บในท่อสีขาวนั่นแหละครับ




ครับก็หนักเอาเรื่องสำหรับค่าใช้จ่ายที่หมดไป แล้วแต่จะคิดอ่านกันครับ โดยส่วนตัวผมคิดว่า การเดินแยกระบบไฟฟ้าสำหรับเครื่องเสียงโดยเฉพาะเป็นการแก้ปัญหาความบริสุทธิ์ของไฟฟ้าจากต้นตอ เอาเงินที่จะซื้อเครื่องกรองไฟดีๆ ระดับ 3 หมื่นบาท มาลงตรงนี้แทน และใช้สายไฟสำหรับเครื่องเสียง นำไฟบริสุทธิ์มาเข้าชุดเครื่องเสียงหรือชุดโฮมฯ ของเรา น่าจะคุ้มค่า ทำทีเดียวจบ แต่แน่นอนครับ ระบบโฮมเธียร์เตอร์จะให้ดีต้องลงทุนอีกมาก เช่น ห้อง และ เรื่องอคูสติกของห้อง แต่ผมพอแค่นี้ครับ ก็เลยตัดสินใจคิดว่าเป็นการลงทุน ก็เลยยอมทุ่มทุนเกือบ 6 หมื่นนี้ไปครับ (ถ้าคุณไม่ใช้ของ JPS in Wall, Duplex งบก็ลดลงไป 60% ได้มั้งครับ)

คำถามที่น่าสนใจครับ

1) การเรียงลำดับ CB ย่อย ? พี่ก้อยแนะนำไว้อย่างนี้ครับ ในตู้เมนไฟจะเริ่มจาก Main CB32 A ครับ ตามด้วย Surge Arrester ตามด้วย CB20 A ตัวแรกใช้สำหรับเต้ารับของเครื่องเสียง 2 Channel ก่อน (เช่น Integrate Amp. + เครื่องเล่น CD), CB20 A ตัวที่ 2 ใช้สำหรับเต้ารับของ AV Receiver (แอมป์) ของชุดโฮมฯ ครับ, CB20 A ตัวที่ 3 ใช้สำหรับเต้ารับของ LCD + เครื่องเล่น Blu-ray และ CB20 A ตัวที่ 4 ใช้สำหรับเต้ารับของ Sub Woofer ซึ่งเป็นการเรียงตามลำดับเพื่อไม่ให้เกิดการกระชากไฟกันขณะใช้งาน (ตามความเข้าใจของผมนะครับ) เหมือนที่ในตู้เมนไฟบ้านจะมีตำแหน่งของ CB สำหรับแอร์หรือน้ำอุ่นไว้ท้ายสุด

2) สายไฟกับสายสัญญาณ เช่น สายลำโพง เดินขนานคู่กันไป หรือเดินใกล้กันได้หรือไม่? ? ได้ครับ เนื่องจากกระแสไม่มาก จึงไม่กวนกันอะไรทำนองนี้ครับ

3) สาย JPS in Wall สายแรกของผมที่เดินขึ้นชั้นบน ผมเจาะทะลุเพดานชั้นล่างขึ้นไปเลยครับ ผ่านช่องว่างในฝ้าแล้วก็ทะลุพื้นชั้น 2 ? ตรงนี้ ถ้ากังวลเรื่องความชื้นของช่องว่างใต้ฝ้านั้นก็ให้ใส่ท่อร้อยสายเอาได้ครับ แต่ผมมารู้ทีหลัง ก็เลยไม่ทันแล้วครับ

ผลการใช้งานระบบไฟใหม่กับชุดโฮมฯ

ชุดโฮมฯ ของผมก็ประกอบด้วย
1)   LCD ? Philips 42PFL9532/98
2)   AV Receiver ? Harman Kardon HK360
3)   Speakers ? Klipsch Reference II Series 6
4)   Sub Woofer ? PARADIGM ULTRACUBE-10 V.2
5)   DVD Player ? Pioneer DV ? 410 VK
6)   Speaker Cable - Merrex Kable spk2 (Front & Center), HT Series (Surround)
7)   Sub Cable - Merrex Kable sub 1
   HDMI Cable - Merrex Kable HDMI-2 low loss V 1.4

ผมเดินระบบไฟเสร็จก็ประมาณกลางเดือนก.พ. ครับ ก็รอ Burn ทุกอย่างเสร็จ 200 ชั่วโมง ทั้งสายไฟ เครื่องเสียง สายสัญญาณ ก็เดือน พ.ค. นี้แหละครับ เสียงที่ได้เป็นยังไง??

ผมไม่มีชุดเครื่องเสียงที่เป็นชุดอ้างอิงอ่ะครับ แต่ดีกว่าเดิมแน่นอนครับ หนักแน่นดี แล้วเสียงเบสก็มากโขอยู่ ไม่รู้ว่า ถ้าเปลี่ยนเอาสายไฟรุ่นสะเทือนเลือนลั่นไปทั้งบางของพี่ก้อยมาลง HK360 แล้วจะบ้าไปเลยหรือเปล่า ขนาดพื้นที่ผมไม่ได้กว้างอะไร ก็ 3x4 เมตรได้ครับ ฝ้าก็สะเทือนหึ่งๆๆๆๆ อยู่บางฉากบางตอน ก็อยากลองเสียงจากเครื่องเล่น Blu-ray นะครับ เล็งไว้ที่ OPPO 95 ล่ะครับ เก็บตังค์ก่อน ผมอธิบายรูปลักษณ์ของเสียงไม่เป็นนะครับ ไม่รู้จักว่าแบบไหนเรียกอิ่มหวาน บาง หนา เก็บตัวเร็วช้า ฯลฯ ... แต่ไม่มีอะไรต้องกังวลเกี่ยวกับระบบไฟแล้วครับ คิดว่า ทำดีที่สุดแล้วตามสภาพครับ

ผมขอเอาแบบแปลนง่ายๆ ของผมลงให้ดูเพื่อความเข้าใจกันครับ



สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณพี่ก้อยอีกครั้งครับ เพราะผมเกือบเดินระบบไฟมั่วๆ ไปแล้ว ดีที่ได้มาคุยมาซักถามกับพี่ก้อยก่อน หากมีอะไรติชมกันหรือตรงไหนผมเข้าใจอะไรผิดไป ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

ทั้งนี้ ระบบไฟใหม่ของผมเป็นเพียงตัวอย่างเฉพาะเท่านั้นนะครับ หากคุณสนใจจะทำจริงๆ อาจต้องปรับเปลี่ยนและดูให้ตรงตามสภาพการใช้งานและวัตถุประสงค์ของแต่ละคนไปนะครับ ...


ขอตอบแทนคำปรึกษาจากพี่ก้อยด้วยบทรีวิวนี้นะครับ และขอปิดท้ายด้วยแบบแปลนแบบ Perfect จากพี่ก้อยซึ่งเป็นแบบแปลนเริ่มแรกไว้ให้ดูด้วยครับ คุณสามารถทำความเข้าใจและนำไปปรับใช้ได้ครับขอบคุณครับ






เว็บเต็มๆ ของพี่เค้าก็ http://www.teerawatj.com/webboard/index.php?topic=63.0   

ออฟไลน์ squid™

  • ++ทีมพาออกทะเล++
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 5275
  • ถูกใจกด Like+ 150
  • เพศ: ชาย
  • "อย่าทิ้งความกระหาย อย่าคลายความเชื่อ"
Re: เดินสายไฟบ้านใหม่เพื่อระบบที่สมบรูณ์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2011, 03:57:52 PM »
มีเต้า jps แบบนี้อยู่อันแต่ผมเอาไปใส่ไว้ใน power bridge duo ใช้กับพลาสม่า ไม่ได้ต่อที่ผนัง ที่ผนังเป็น cooper ที่ถอดจาก PB เอาไปใส่แทน พานาโซนิค ได้แค่นี้ล่ะงบหมดล่ะ [HAHAHA]
กดเลยนะตะเองที่อยู่เค้าเองล่ะ "Seize the day"

[tig12]

squid --> GolDFish --> ปลาทองคะนอง Valve --> เข้น้อยคอย DAC --> จิ้งจกจ๋า AMP ข้าอยู่ไหน -->อุย ดุก ดุก...-->
โดมคูล่า...หล่อค่อดเรยย -->Liberty--> Mike Lowery-->C3po™-->View Smith™ เหล่านี้คือชื่อ ยูสเซอร์ที่ผมใช้ครับ ไล่เรียงมาเรื่อย

LongPlay ADDICT

ออฟไลน์ Freeman

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 130
  • ถูกใจกด Like+ 3
Re: เดินสายไฟบ้านใหม่เพื่อระบบที่สมบรูณ์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2011, 05:01:07 PM »

  [))]

 จะเก็บเอาไว้เป็นตัวอย่าง Refference ครับ...
  [great]


ออฟไลน์ MAX

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 846
  • ถูกใจกด Like+ 29
  • 2A3 THE POWER
Re: เดินสายไฟบ้านใหม่เพื่อระบบที่สมบรูณ์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 13 มิถุนายน 2011, 05:39:15 PM »
 [great]