www.diyaudiovillage.net

DIY มือใหม่ , TIPS & TRICKS , R&D SECTION => Transformer => ข้อความที่เริ่มโดย: birdwhistle ที่ 21 ธันวาคม 2011, 02:01:09 PM

หัวข้อ: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: birdwhistle ที่ 21 ธันวาคม 2011, 02:01:09 PM
ตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า (ท่อนบน)

เป็นไฟล์ word...office2003  

ไฟล์ตารางไม่สามารถอัพโหลดในครั้งเดียวได้ครับ มัน ร้อยกว่า KB

ผมเลยแยกออกเป็น 2 ไฟล์ มีท่อนบน กับท่อนล่าง

ดาวน์โหลดไปเก็บใน word แล้วเอามาต่อเป็นหน้าเดียวกันได้ครับ

ไฟล์ต้นฉบับ Print เป็น A4  แผ่นเดียวแจก นศ. ที่สาขาวิชา ฯ ครับ
หัวข้อ: Re: ตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า ท่อนบน
เริ่มหัวข้อโดย: birdwhistle ที่ 21 ธันวาคม 2011, 02:05:13 PM
ตารางท่อนล่างครับ

ผมอัพโหลดมาเป็นไฟล์ word...office2003

เพื่อนสมาชิกดาวน์โหลดไปต่อกันเป็นไฟล์เดียวกันได้  เพราะไฟลฺ์มันโตเกิน 80 KB ครับ อัพโหลดไม่ได้จึงแยกออก

 



หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: numz ที่ 21 ธันวาคม 2011, 02:09:24 PM
 clapping-1-2 clapping-1-2  เดี๋ยวไปลากคอ บังๆมาปักหมุด
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: numz ที่ 21 ธันวาคม 2011, 02:10:04 PM
 clapping-1-2 clapping-1-2  เดี๋ยวไปลากคอ บังๆมาปักหมุด
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: คนเผาถ่าน ที่ 21 ธันวาคม 2011, 02:41:59 PM
ขอบคุณครับ  [entreat-raccoon]  ผมเปิดไม่ได้เครื่องผมไม่มี word...office  [entreat-raccoon] [entreat-raccoon]
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: birdwhistle ที่ 21 ธันวาคม 2011, 02:42:42 PM
ตัวอย่าง  คำนวณด้วยหน่วย SI  

จากวงจร EL34SE+12AT7 โมดิฟาย ไฟเลี้ยงไส้หลอด 12AT7 ด้วย D.C. Regulated จาก LT1085

ขดที่ 1  280-0-280 V 220 mA  = (280x2) x 0.22 = 123.2 VA
ขดที่ 2  5 V  3 A  =  5 x 3  = 15 VA  จ่ายให้ไส้หลอด 5U4 หรือ GZ34
ขดที่ 3  6.3 V  3.5 A  =  6.3 x 3.5  =  22.05 VA  จ่ายให้ไส้หลอด EL34
ขดที่ 4  6.3 V  1.5 A  = 6.3 x 1.5  = 9.45 VA  เอาไป Regulated ด้วย LT1085 เลี้ยงไส้หลอด 12AT7 x 2 ชุดนี้ โม ฯ เพิ่มเอาเองครับ

A1 =  SQR(VA)/8650        หน่วยเป็น ตารางเมตร
A  =  A1 x Areafactor       ค่า Area factor ประมาณ 1.05
A11 = A x 1000000  ตร.มม.

VA(total) = 123.2 + 15 + 22.05 + 9.45 = 162.6 VA

A1  =   SQR(162.6) / 8650  =  0.001474176 ตารางเมตร
A   =  0.001474176 x 1.05  =  0.001547885 ตารางเมตร  (พ.ท.หน้าตัดที่ใช้จริง)
A11 =  0.001547885 x 1000000  =  1547.88 ตารางมิลลิเมตร

  T/V =   1 / (4.44 x Bm x f x A1)

เมื่อ
Bm =  Flux density ของแกนเหล็ก (ตามท้องตลาดประมาณ 0.95-1 Tesla)
f    =  ความถี่  (Hz)
A1  =  พ.ท.หน้าตัด  (ตารางเมตร)          

ในที่นี้เลือกค่า Bm = 0.95 Tesla
T/V  =  1 / (4.44 x 0.95 x 50 x 0.00147476)  =  3.215156 รอบต่อโวลต์

Primary current....  Ip =  VA/vp   = 162.6/220  =  0.739 A
จำนวนรอบขด Primary = 3.215156 x 220 = 707 รอบ  
จากตางราง 0.739 A  ใช้เบอร์  S.W.G. 25
    
 
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: tfender ที่ 21 ธันวาคม 2011, 02:47:12 PM
ป๋า birdwhistle  สวัสดีครับ    ไม่ทราบว่ารับพันหม้อไหมครับ
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: numz ที่ 21 ธันวาคม 2011, 02:49:20 PM
ม็อด (mod) ห้องนี้ติดงานหมดเลย เอิ๊กๆ
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: birdwhistle ที่ 21 ธันวาคม 2011, 03:12:36 PM
Secondary

ขดที่ 1  280-0-280 V 220 mA
จำนวนรอบ  =  280 x 3.215156 =  901 รอบ
จากตาราง กระแส 220 mA ใช้ลวดเบอร์ S.W.G. 32
เวลาพันก้พันไป 901 รอบ แล้ว Tap ออกมาเป็น C.T. จากนั้นพันต่ออีก 901 รอบ

ขดที่ 2  5 V  3 A
จำนวนรอบ  =  5 x 3.215156  =  16 รอบ
จากตาราง กระแส 3 A  ใช้ลวดเบอร์ S.W.G. 19

ชุดที่ 3  6.3 V  3 A
จำนวนรอบ  = 6.3 x 3.215156 = 21 รอบ  
จากตาราง กระแส 3 A  ใช้ลวดเบอร์ S.W.G. 19

ชุดที่ 4  6.3 V  1.5 A
จำนวนรอบ  = 6.3 x 3.215156 = 21 รอบ  
จากตาราง กระแส 1.5 A  ใช้ลวดเบอร์ S.W.G. 22

หาขนาดแกนเหล็ก
จาก พ.ท.หน้าตัด ที่ชดเชยฉนวนเคลือบและช่องว่างการวางซ้อนแล้ว
A11 = 1547.88 ตร.มม.

ขั้นแรก ถอดสแควร์รู้ทของ A11 ให้ได้ พ.ท.หน้าตัด เป้นสี่เหลี่ยมจตุรัส
จะได้ SQR(A11)  =  SQR(1547.88)  =  39.343 มม.
เลือกแกนมาตรฐานที่เล็กลงใกล้เคียง 39.343 ที่สุด ในที่นี้คือ 38 มม.

ถ้าใช้แกนขนาด 38 มม. จะต้องลึกเท่ากับ  1547.88/38 = 41 มม.
ถ้าใช้แกนขนาด 32 มม. จะต้องลึกเท่ากับ  1547.88/32 = 49 มม.
ถ้าใช้แกนขนาด 28 มม. จะต้องลึกเท่ากับ  1547.88/28 = 56 มม.

แกนยิ่งเล็ก พ.ท. ช่องหน้าต่าง ก็ยิ่งน้อย อาจไม่พอที่จะพันลวดทั้ง 4 ขด โดยเฉพาะแกนขนาด 28 มม. (ล้นแน่นอน)

จากประสบการณ์ Secondary 4 ขด  ความลึก/ความกว้าง โดยประมาณไม่เกิน 1.5.......[49/32] จะพันลวดได้ทั้งหมดโดยไม่ล้น    
ถ้าใช้แกนขนาด 32 มม. ซึ่งแกน 32 มม. จะมีบ๊อบบิ้น มาตรฐานลึก 50 มม.จำหน่ายไม่ต้องทำเอง

ส่วนแกนขนาด 38 มม. ก็ใช้ได้สบาย พ.ท.ช่องหน้าต่างมีมากเหลือพอ พันแล้วอาจเหลือ พ.ท.ช่่องหน้าต่าง ตัวจะใหญ่และหนักกว่า

 


 
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: Bang doi ที่ 21 ธันวาคม 2011, 04:56:20 PM
clapping-1-2 clapping-1-2  เดี๋ยวไปลากคอ บังๆมาปักหมุด
 


ปักหมุดให้แล้วครับ  [res]
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: weera1 ที่ 21 ธันวาคม 2011, 09:12:30 PM
ขอบคุณครับ
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: Alcohol ที่ 21 ธันวาคม 2011, 10:00:57 PM
คุณ birdwhistle มาต่อเรื่อย ๆ นะ  [clap hand2] [clap hand2]
เพื่อน ๆ สมาชิกได้ความรู้อีกแล้ว สุดยอดมากครับ
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: birdwhistle ที่ 22 ธันวาคม 2011, 11:31:27 AM
Loss ในหม้อแปลงประกอบด้วย

1. Core Loss หรือ Iron Loss คือกำลังไฟฟ้าสูญเสียที่แกนเหล็ก แม้เพียงป้อนไฟเข้าหม้อแปลงโดย Secondary ยังไม่ต่อโหลดใด ๆ ก็มี Core Loss แล้ว หากนึกถึง Distribution Transformer เช่น ขนาด 1000 kVA จะมี Core loss ประมาณ 1900 W  ซึ่งหมายถึงเมื่อต่อไฟแรงสูง เข้าขดPrimary แม้ด้านแรงต่ำ จะยังไม่ต่อโหลด ก็มีกำลังไฟฟ้าสูญเสีย 1900 W เหมือนเปิดแอร์ขนาด 24000 BTU ทิ้งไว้กลางแจ้งตลอดปีตลอดชาติ
   ในหม้อแปลงขนาดเล็ก 200 VA อาจมีค่า Core loss = 3-5 W แล้วแต่คุณภาพของแกนเหล็ก+การวางซ้อนและอัดแกนเหล็ก

2. Copper Loss หรือ I2R Loss  เกิดเมื่อต่อโหลดและมีกระแสไหลทั้งทางด้านไพรมารี่และเซคั่นดารี่ ความจริงแล้ว แม้ No Load ก็มี Copper Loss จาก ไหรมารี่ เล็กน้อย ตัวอยางหม้อแปลง 1000 kVA เมื่อทำงานที่ 100 % Load ค่า Copper Loss จะมีค่าประมาณ 13500 W (13.5kW)  
เนื่องจาก Copper Loss ขึ้นอยู่กับค่า I2 กราฟจึงเป้นแบบ Parabola นั่นคือจะชันมากยิ่ง ๆ ขึ้นเมื่อหม้อแปลงรับโหลดใกล้ ๆ เต็มพิกัดกำลัง

จุดที่หม้อแปลงจะมีประสิทธิภาพสูงสุดคือ จุดที่ Core Loss = Copper Loss

ซึ่งจะอยู่ที่ประมาณ 75-80 % ของ Full Load

ดังนั้น การออกแบบหม้อแปลงให้ทำงาน ณ จุดที่ประสิทธิภาพดีที่สุด จึงควรให้ทำงานที่ประมาณ 75-80 % ของพิกัด

จากตัวอย่างการออกแบบด้านบน หากมีข้อมูลด้านกระแสแต่ละขดที่ใช้จริง ๆ โดยเฉพาะ ขด 280-0-280 V ถ้าวัดกระสจริง ๆ แบบ Stereo ก็จะเผื่อกำลังของหม้อแปลงและคำนวณขนาด VA ที่เหมาะสมและประสิทธิภาพดีที่สุดได้

ใครประกอบชุดนี้แล้ว ลองวัดกระแสจากขดไฟเลี้ยงเพลต ที่ใช้จริงมาก็จะสามารถ เผื่อพิกัด VA เข้าหาจุดที่ประสิทธิภาพสูงสุดได้

Class A ง่ายหน่อยเพราะที่จุด Q Operated มักเป้นจุดที่กำลังไฟฟ้าสูญเสียที่เพลตและสกรีนกริดมากที่สุด
เมื่อมีสัญญาณเข้ามันจะมีกำลังไฟฟ้าสูญเสียมากขึ้นและลดลง ตามสมการ sine ซึ่งก็เฉลี่ยเท่ากับที่จุด Q

ส่วนใน Class B หรือ AB คงต้องวัดกระแสตอนที่ปรับวอลลุ่มให้มันดังที่สุด  
  

  

 
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: sumran ที่ 22 ธันวาคม 2011, 12:43:23 PM
    [clap hand2]เพิ่งเห็น..น่าสนใจจะติดตามอ่านครับ ...ขอบคุณครับ clapping-1-2
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: BlackUnicorn ที่ 07 กุมภาพันธ์ 2012, 09:00:37 PM
ขอบคุณท่าน birdwhistle ครับ
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: กำล้งใจ ที่ 27 พฤษภาคม 2013, 03:37:26 PM
มีตัวพ้นหม้อแปลง  แต่ทำมายเปน ใครก็ได้จับมือสอนหน่อยคราบ  [pig90124]
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: Chian ที่ 23 ธันวาคม 2014, 04:40:20 PM
[YL76]  ผมอยาก ลองทำดู ครับ   มีหม้อแปลง UPS เก่าลูกหนึง ครับ  จะลองทำปรีหลอดดู  อยากได้ ไฟ 200 V 500 ma   6.3V 3A ครับ ผมงงลองแล้ว งงกับ พวก A1 ครับผม   [YL76]
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: Ravenza_02 ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2017, 05:07:46 PM
 [chick-clap] [chick-clap] [chick-clap]
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: birdwhistle ที่ 25 ธันวาคม 2022, 07:48:45 PM
สวัสดีครับ...ผมไม่ได้เข้ามานานมาก น่าจะเกือบ 10 ปี...ตอนนี้ตกงานอยู่ที่บ้านมานานกว่า 6 ปีแล้วครับ ที่ทำงานเขาให้ออกมาอยู่เฉย ๆ เอาลมหายใจแลกเงินรายเดือน หมดลมก็หมดเงิน ดังนั้นจึงต้องพยายามให้มีลมหายใจให้นานที่สุด

อยากทำอะไร ๆ เล่นแบบเดิม แต่ติดตรงไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือวัดครบครันเหมือนตอนที่ยังทำงานอยู่  [finger1]
หัวข้อ: Re: การคำนวณหม้อแปลงและตารางเทียบขนาดลวดทองแดงและสายไฟฟ้าแบบเก่า
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 26 ธันวาคม 2022, 06:47:02 AM
สวัสดีครับ...ผมไม่ได้เข้ามานานมาก น่าจะเกือบ 10 ปี...ตอนนี้ตกงานอยู่ที่บ้านมานานกว่า 6 ปีแล้วครับ ที่ทำงานเขาให้ออกมาอยู่เฉย ๆ เอาลมหายใจแลกเงินรายเดือน หมดลมก็หมดเงิน ดังนั้นจึงต้องพยายามให้มีลมหายใจให้นานที่สุด

อยากทำอะไร ๆ เล่นแบบเดิม แต่ติดตรงไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือวัดครบครันเหมือนตอนที่ยังทำงานอยู่  [finger1]
เอาความรู้ + ประสพการณ์ สอนน้องๆ เพื่อนๆก็น่าจะเพียงพอแล้วหล่ะครับ จะได้มีกิจกรรมแก้เหงาได้บ้าง [yemo20]