ผู้เขียน หัวข้อ: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1  (อ่าน 54158 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ electron

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3289
  • ถูกใจกด Like+ 217
  • >> diy lover <<
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #150 เมื่อ: 06 เมษายน 2012, 09:25:32 PM »
แบบใหม่เสร็จแล้วครับ  ท่านที่สนใจจริงไปลงชื่อไว้ครับแล้วมาตกลงกันว่าจะทำแบบไหนอย่างไร

         

ออฟไลน์ kang2499

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 214
  • ถูกใจกด Like+ 12
  • เพศ: ชาย
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #151 เมื่อ: 06 เมษายน 2012, 09:31:29 PM »
แบบใหม่เสร็จแล้วครับ  ท่านที่สนใจจริงไปลงชื่อไว้ครับแล้วมาตกลงกันว่าจะทำแบบไหนอย่างไร

         
[roll-eyes] [clap hand2]โอ้..ว้าว มาแว้ว [thumbs-up-raccoon]

ออฟไลน์ โต้ง DIY

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 176
  • ถูกใจกด Like+ 14
  • เพศ: ชาย
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #152 เมื่อ: 08 เมษายน 2012, 10:21:39 PM »
แบบใหม่เสร็จแล้วครับ  ท่านที่สนใจจริงไปลงชื่อไว้ครับแล้วมาตกลงกันว่าจะทำแบบไหนอย่างไร

         

ผมสังเกตจากตัว limited edition ส่วนที่เป็นเนื้อทองแดง จะไม่ลาดจนเต็มทั้งหมดส่วนที่กว้างๆจะทำเป็นตาข่ายไว้ ทางเดินสัญญาณเส้นเล็ก ไม่รู้มีผลดีอย่างไร [confused-raccoon]

ออฟไลน์ electron

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3289
  • ถูกใจกด Like+ 217
  • >> diy lover <<
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #153 เมื่อ: 08 เมษายน 2012, 10:50:48 PM »
         ขอตอบเท่าที่ตอบได้ครับ.... เท่าที่ใช้มาหมดแล้ว... หลายแบบ จะเป็นตาข่ายหรือ ระบายทึบไม่มีผลใดๆทั้งสิ้นครับ มีค่าเท่ากัน(ในแบบลายทองแดงด้านเดียว)กราวด์เส้นใหญ่ๆไว้ก่อนก็ดีครับไฟวิ่งกลับสะดวก วงจรทำงานสบายยย... เท่าที่รู้มาเค้าจะทำเป็นตาข่ายในกรณีที่มีกราวด์เพลนทั้งบนและล่างตรงกันใน pcb แบบลายทองแดงสองด้านเพราะเกรงว่าจะเกิดค่า capacitance ขึ้นได้ (ค่าประจุทางไฟฟ้า) จึงหลีกเลี่ยงด้วยการไม่ระบายทึบ และ... ลายทั่วไปจะเล็กหรือใหญ่ก็ไม่ต่างกันครับ ขอให้มีขนาดลายที่พอให้สัญญาณเดินผ่านให้ดีๆก็พอแล้วครับ .. (การใช้กราวด์เพลนต้องใช้ให้เป็นและถูกต้องเพราะอาจจะกลายเป็นกราวด์ลูป...จะปวดหัวได้ในภายหลังครับ)

         ที่ใช้กันมากและดีคือกราวด์แบบสตาร์ หรือ star ground ครับ ช่วยลดปัญหากราวด์ลูปที่ทำให้เกิดเสียงฮัม (hum) ทำให้เราปวดหัวบางครั้งแทบจะท้อแท้เลิกแก้ปัญหาไปเลย ซึ่งจะเห็นว่าผมก็ใช้แบบนี้อยู่ประจำ ลายทองแดงทั่วๆไปเส้นใหนจะใหญ่หรือเล็กก็ต้องคิด... คนที่ทำแบบ pcb จะต้องเข้าใจลายทองแดงทุกเส้น การวางตำแหน่งอุปกรณ์ ทุกจุดต้องอยู่บนเหตุและผลที่เหมาะสม การแยกกราวด์ไฟออกจากกราวด์สัญญาณ ลายทองแดงเส้นนี้อยู่ไกล้เส้นนี้ได้มั๊ยต้องห่างๆกันไว้หรือเปล่าก็ต้องรู้ครับ และสุดท้ายคือการจัดวางให้สวยงามและดูดี... ประสบการณ์จะสอนเราเองครับ

        ไหนๆก็นะขอต่ออีกนิดนึงครับ... การออกแบบ pcb ในระดับอุตสาหกรรม จะมีข้อบังคับไว้ครับของ สมอ (สมาคมมาตรฐานอุตสาหกรรม) แต่ส่วนสำคัญที่บังคับไว้กำหนดลายทองแดงคือส่วนที่เกี่ยวข้องกับไฟบ้านครับ (220Vac) บังคับไว้ว่าถ้าจะให้ผ่านมาตรฐานของเค้า เอาตราการรับรองของ สมอ มาแปะที่สินค้าที่จะจำหน่าย .. ลายทองแดงต้องมีระยะห่างกันตามที่กำหนดไว้ การต่อกราวด์ของเครื่องเข้ากับปลั๊กไฟบ้านต้องตามข้อบังคับ ถ้าไม่ได้ก็ไม่ผ่าน (บางครั้งก็งง ๆนะเมื่อแกะเครื่องบางชนิดออกมาดูมันผ่านมาได้ไงฟะนี่) ต้องเอากลับมาแก้ไขให้ถูกต้อง ... ทั้งนี้และทั้งนั้นก็เพื่อประโยชน์ในด้านความปลอดภัยของผู้บริโภคครับ ก็คือเราๆท่านๆนี่ละ ... (พวกเราถึงจะแค่ทำเล่นเองก็ควรคำนึงถึงความปลอดภัยให้มากๆด้วย)... จบแล่วเรื่องกราวด์เลยเถิดมาไกลเลย อิ อิ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 08 เมษายน 2012, 11:31:33 PM โดย electron »

ออฟไลน์ electron

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3289
  • ถูกใจกด Like+ 217
  • >> diy lover <<
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #154 เมื่อ: 09 เมษายน 2012, 12:22:27 AM »
   
ผมสังเกตจากตัว limited edition ส่วนที่เป็นเนื้อทองแดง จะไม่ลาดจนเต็มทั้งหมดส่วนที่กว้างๆจะทำเป็นตาข่ายไว้ ทางเดินสัญญาณเส้นเล็ก ไม่รู้มีผลดีอย่างไร ?

             เดี๋ยวนอนไม่หลับ... ประเด็นนี้นอกจากคำตอบข้างบนแล้ว.. น่าจะเป็นการแก้ปัญหาในการใช้งาน pcb มากกว่าครับ เท่าที่เห็นมาใน pcb แบบลายทองแดงด้านเดียว ปัญหาที่เกิดคือถ้าเป็นขนาดที่ใหญ่ๆตั้งแต่หนึ่งตารางฟุตขึ้นไป แล้วมีลายทองแดงเป็นปื้นใหญ่ๆแบบนี้ จะเกิดการโค้งงอของแผ่น pcb ง่ายมากครับ เพราะในกระบวนการผลิตแผ่น pcb จะตั้องไปผ่านทั้งร้อน(การอบเมื่อผ่านเคมีในการกัดลายเสร็จก็ต้องล้างและอบและอบอีกครั้งเมื่อพิมพ์สีเคลือบลายเรียบร้อยแล้ว และอบอีกครั้งเมื่อพิมพ์สีตัวอุปกรณ์แล้ว) และเย็นคือน้ำที่ล้างก่อนสร้างลายทองแดงหลังจากผ่านการกัดลายทองแดง เมื่ออยู่ในการผลิตจะเห็นว่าผ่านร้อนผ่านเย็น จะมีการยืดตัวหดตัวของแผ่น pcb หลายครั้ง จนขั้นตอนสุดท้ายจะต้องผ่านร้อนมากๆคือการลงถัง hot air ในถังจะมีตะกั่วที่หลอมเหลวอยู่ต้องจุ่มลงไปทั้งแผ่นแล้วยกขึ้นมาผ่านการรีดด้วยลมร้อนแรงๆ(จึงเรียกว่า hot air) เพื่อให้มีตะกั่วติดตรงจุดบัดกรีอย่างที่เราเห็น พอหายร้อนก็ต้องเอาไปล้างครั้งสุดท้าย แล้วอบให้แห้งอีก ก่อนนำไปทำเป็นชิ้นๆอย่างที่เราใช้ ... ยังไม่จบครับ
           เมื่อ pcb ถูกนำไปประกอบลงตัวอุปกรณ์เยอะๆ เช่นใน A1 ในภาพ ไม่ได้มานั่งบัดกรีแบบที่เราทำกันครับ เค้าจะใส่ตัวอุปกรณ์เท่าที่จะใส่ลงไปได้(ตัดขาก่อน)แล้ววางลงบนสายพานเพื่อไปวิ่งผ่านบ่อตะกั่วร้อนๆขนาดใหญ่ครับ ทีนี้ปัญหาจะอยู่ที่ว่าส่วนที่โดนตะกั่วก่อนก็จะติด แต่พอมาประมาณกลางๆแผ่น จะเริ่มเกิดปัญหาการโค้งงอเพราะถูกความร้อนขึ้นมาอีก บางส่วนจะไม่ติดตะกั่วก็ต้องมาเก็บงานทีหลัง... ตรงนี้ละครับที่การทำเป็นตารางๆอย่างที่คุณเห็นจะช่วยลดการโค้งงอที่เกิดจากความร้อนได้ทำให้ปัญหาลดลงครับ... หมดละคำตอบ.. ไปนอนได้ละ อิ อิ
   

ออฟไลน์ โต้ง DIY

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 176
  • ถูกใจกด Like+ 14
  • เพศ: ชาย
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #155 เมื่อ: 09 เมษายน 2012, 06:30:32 AM »
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ แต่คำถามอีกข้อ ถึงแม้ว่า คุณelectron บอกว่าไม่มีผล ผมยังคาใจอยู่ครับ ว่า R13,R14 ทำไมสองข้างไม่ทำให้เท่ากันไปเลย  [confused-raccoon] 

ออฟไลน์ electron

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3289
  • ถูกใจกด Like+ 217
  • >> diy lover <<
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #156 เมื่อ: 09 เมษายน 2012, 07:08:37 AM »
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ แต่คำถามอีกข้อ ถึงแม้ว่า คุณelectron บอกว่าไม่มีผล ผมยังคาใจอยู่ครับ ว่า R13,R14 ทำไมสองข้างไม่ทำให้เท่ากันไปเลย  [confused-raccoon] 
              ผมขอตอบแบบง่ายๆนะครับว่า... จะคิดมากไปทำไมครับ... เพราะว่าถึงแม้ค่าอาร์มันจะไม่เท่ากันก็จริง แล้วจำเป็นต้องไม่เท่ากันหรือไม่ครับ ในเมื่อไฟผ่านอาร์สองตัวนี้ไปก็จะถูกจำกัดโวลท์โดยซีเนอร์ไดโอดให้เหลือเท่ากับ +12V ,-12V ให้เท่ากันอยู่ดี เว็บอื่นที่เอามาทำต่อก็เปลี่ยนใหม่ให้เท่ากันหมด ถ้าอยากได้เหตุผลที่แท้จริงคงต้องไปถามคนที่ออกแบบเจ้า A1 ขึ้นมาครับ ... ไว้พอคุณทำขึ้นมาลองเปลี่ยนดูตามของเค้าเพื่อหาคำตอบดูครับ(ไม่พังนะ)แล้วฟังดูครับ หรือท่านใดที่รู้เหตุผลที่ดีกว่านี้ช่วยตอบให้ด้วยเน้อออ ..

ออฟไลน์ โต้ง DIY

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 176
  • ถูกใจกด Like+ 14
  • เพศ: ชาย
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #157 เมื่อ: 09 เมษายน 2012, 01:59:48 PM »
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ แต่คำถามอีกข้อ ถึงแม้ว่า คุณelectron บอกว่าไม่มีผล ผมยังคาใจอยู่ครับ ว่า R13,R14 ทำไมสองข้างไม่ทำให้เท่ากันไปเลย  [confused-raccoon] 

              ผมขอตอบแบบง่ายๆนะครับว่า... จะคิดมากไปทำไมครับ... เพราะว่าถึงแม้ค่าอาร์มันจะไม่เท่ากันก็จริง แล้วจำเป็นต้องไม่เท่ากันหรือไม่ครับ ในเมื่อไฟผ่านอาร์สองตัวนี้ไปก็จะถูกจำกัดโวลท์โดยซีเนอร์ไดโอดให้เหลือเท่ากับ +12V ,-12V ให้เท่ากันอยู่ดี เว็บอื่นที่เอามาทำต่อก็เปลี่ยนใหม่ให้เท่ากันหมด ถ้าอยากได้เหตุผลที่แท้จริงคงต้องไปถามคนที่ออกแบบเจ้า A1 ขึ้นมาครับ ... ไว้พอคุณทำขึ้นมาลองเปลี่ยนดูตามของเค้าเพื่อหาคำตอบดูครับ(ไม่พังนะ)แล้วฟังดูครับ หรือท่านใดที่รู้เหตุผลที่ดีกว่านี้ช่วยตอบให้ด้วยเน้อออ ..

ไปค้นเจอแล้วครับ แต่ไม่ค่อยเข้าใจผม เป็นพวกเครื่องกลครับ fart-raccoon
http://www.mhennessy1.f9.co.uk/mf_a1/technical.htm
เค้าว่าแบบนี้ครับ

A quick note about the power supply arrangements. R13/14 drop the unregulated rails down to the Zener-regulated ?12V rails. These are separate for each channel, but the line preamp is based around a quad op-amp which is powered from these rails on the right power-amp. Hence, the left channel has higher values for R13/14 because of the reduced current demand. This also explains why the right channel disappears first at power-off...

ดูแล้วของเรามีแต่ power ก็ใช้เท่ากัน แต่เอาเท่าไรครับ 680 หรือ 470 ครับ


ออฟไลน์ electron

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3289
  • ถูกใจกด Like+ 217
  • >> diy lover <<
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #158 เมื่อ: 09 เมษายน 2012, 02:36:12 PM »
            พอคร่าวๆได้ว่า มีผลไปถึงไฟเลี้ยงปรีแอมป์ครับ ประมาณว่าไฟไม่เสถียรพอสำหรับปรี คงเป็นช่วงที่เพาเวอร์แอมป์ดึงไฟเยอะๆครับ ทำไมเค้ามาใช้ร่วมกันหมดก็ไม่รู้นะ น่าจะแยกต่างหากอีกขดนึงสำหรับภาคปรีแอมป์ ของที่ทำใช้ 470 ohm 1W ครับ

ออฟไลน์ โต้ง DIY

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 176
  • ถูกใจกด Like+ 14
  • เพศ: ชาย
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #159 เมื่อ: 09 เมษายน 2012, 09:23:54 PM »
resister ส่วนใหญ่ที่ไม่ระบุขนาดนี่ เป็น 1/4 วัตต์หรือเปล่าครับ

ออฟไลน์ electron

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3289
  • ถูกใจกด Like+ 217
  • >> diy lover <<
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #160 เมื่อ: 09 เมษายน 2012, 10:01:08 PM »
resister ส่วนใหญ่ที่ไม่ระบุขนาดนี่ เป็น 1/4 วัตต์หรือเปล่าครับ
          ในการผลิตระดับอุตสาหกรรมแบบเค้าขายเกือบทั่วโลก น่าจะใช่ครับเพราะเค้าต้องคิดถึงต้นทุน .. แต่ในแบบที่ทำขึ้นมาใหม่เปลี่ยนเป็น 1/2 W เกือบหมด เว้นแต่ภาคหน้าสาม สี่ตัวเท่านั้นครับ เพราะเราทำกันแค่คนละสองข้างเอง ใส่ๆไปเถอะครับ ดีไอวายไทยใจถึงมากๆ (ยกเว้นผมอ่ะเงินไม่ถึงใจเลยไม่ค่อยถึง)

ออฟไลน์ CreÃte_Lek ♫

  • BuRaPha_TeAm
  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 57629
  • ถูกใจกด Like+ 1370
  • เพศ: ชาย
  • DHT Crazy Club
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #161 เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 07:09:24 PM »
  คุณลุง ทันเด้อ สอนวิธีการใช้โครงเลื่อยตัดเหล็กหน่อยดิ วันนี้ไปซื้อมาแล้ว ว่าวิธีการทำอย่างไร ต้องทำที่ไหน ถึงจะตัดทองแดงได้ดี ตัดได้สวย เหมือน ของลุงน่ะ

 
Define Me Radiant Charm  เชื่อในสิ่งที่เราเลือก และ ภูมิใจในความเป็นเราในแบบที่เราเป็น    

Define Me Radiant Bright ไม่ต้องปรับตัวเองให้เป็นใคร แต่เป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกๆวัน

>>> ข้อมูลส่วนตัวครับ

ออฟไลน์ electron

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3289
  • ถูกใจกด Like+ 217
  • >> diy lover <<
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #162 เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 07:24:22 PM »
           ง่ายๆเองน้ามีปากกาจับชิ้นงาน ก็ขีดเส้นตามขนาดที่ใช้แล้วก็เลื่อยๆๆ เสร็จแล้วก็หยิบตะใบมาถูๆ ๆ ๆ ๆ ดูแล้วยังไม่พอใจก็ถู ๆ ๆ ต่อ แต่เราเอามือจับทองแดงจะหมองเพราะเกิดอ๊อกไซด์ ควรใช้ถุงมือใส่มือก่อนจับชิ้นงาน เมื่อตะใบจนพอใจละก็ลงกระดาษทรายเบอร์หยาบก่อน แล้วตามด้วยเบอร์ละเอียด แล้วเอามาเจาะรูสำหรับทรานซิสเตอร์ เก็บขอบรูด้วยดอกสว่านที่ใหญ่กว่าให้หมดคม ... ก่อนใช้ปากกาจับชิ้นงานให้เอากระดาษพันแท่งทองแดงก่อนครับ จะไม่มีรอยที่ชิ้นงาน..
           เมื่อขัดจนเอี่ยมเงาวับแล้ว นำไปล้างด้วยผงซักฟอก(เพราะมีโซดาไฟผสมอยู่)เช็ดให้แห้ง  ก็นำไปประกอบใช้งาน(ใส่ถุงมือ) ส่วนที่เกินออกมาจากตัวทรานซิสเตอร์ ผมทาเคลือบไว้ด้วยแลคเกอร์แบบขวด ด้วยภู่กันครับ ทองแดงจะไม่หมองเมื่อใช้ไปนานนน ... หรือใครมีวิธีที่ดีกว่านี้ ช่วยโพสท์แบ่งประสบการณ์กันบ้างครับ

             เวลาเลื่อย เลื่อยช้าๆนิดนึงครับ อย่ารีบร้อน
          

ออฟไลน์ CreÃte_Lek ♫

  • BuRaPha_TeAm
  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 57629
  • ถูกใจกด Like+ 1370
  • เพศ: ชาย
  • DHT Crazy Club
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #163 เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 08:01:38 PM »
ขอบคุณ คุณ ลุง ทันเด้อมากครับ  [res]
Define Me Radiant Charm  เชื่อในสิ่งที่เราเลือก และ ภูมิใจในความเป็นเราในแบบที่เราเป็น    

Define Me Radiant Bright ไม่ต้องปรับตัวเองให้เป็นใคร แต่เป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกๆวัน

>>> ข้อมูลส่วนตัวครับ

ออฟไลน์ electron

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3289
  • ถูกใจกด Like+ 217
  • >> diy lover <<
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #164 เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 08:05:51 PM »
           การเจาะรูตรงทรานซิสเตอร์ก็ไม่ยากครับ วัดตำแหน่งมาจากตัวทรานซิสเตอร์แล้วมามาร์คบนชิ้นทองแดง หรือมาร์คเฉพาะรูน๊อตก่อนก็ได้ แล้วหาฮีทซิ๊งค์ที่เจาะรูทรานซิสเตอร์แบบ TO-3 (หรือแบบจานบิน)มาวางทาบ เล็งรูน๊อตให้ตรงเซ็นเตอร์ก่อน แล้วค่อยมาร์คcopyตำแหน่งขาทรานซิสเตอร์จากฮีทซิ๊งค์ที่เรานำมาทาบครับ เสร็จแล้วควรตอกนำศูนย์ไว้ก่อนเจาะ จากประสบการณ์การเจาะโลหะทุกชนิด ถ้าเราไม่ตอกนำศูนย์ให้ดอกสว่านก่อน ดอกสว่านจะดิ้นหนีออกจากตำแหน่งที่เรามาร์คไว้ รูเบี้ยวเกือบทุกครั้งที่เจาะครับ แม้ว่าเราจะใช้สว่านแท่นก็รูเบี้ยวได้แต่อาจจะน้อยกว่าสว่านมือถือ เจาะนำศูนย์ให้ลึกๆนิดนึงจะช่วยล็อคดอกสว่านได้ครับ

ออฟไลน์ audiomania

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2455
  • ถูกใจกด Like+ 402
  • เพศ: ชาย
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #165 เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 08:10:16 PM »
พี่เล็กไม่ต้องตัดชิ้นย่อยหรอกครับ จัดแท่งยาวไปเลย สะใจโลด..  clapping-1-2

ส่วนวิธีเจาะรูทรานซิสเตอร์จานบิน ของผมเริ่มจากเปิดเครื่องพิมพ์ พิมพ์โอเวอร์เลย์ตัว TO-3 มาลงกระดาษ ขนาด 1:1 ครับ
ติดกระดาษกาวบนชิ้นงานให้แนบสนิท แล้วหาเหล็กแหลมตอกนำศูนย์ตรงรูเจาะทุกจุด(แบบเดียวกับที่พี่เฉยบอกด้านบน) แล้วค่อยเจาะรูตามที่มาร์คนำศุนย์เอาไว้ครับ งานเรียบร้อย เป๊ะทุกรู  [yes-raccoon]

ออฟไลน์ CreÃte_Lek ♫

  • BuRaPha_TeAm
  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 57629
  • ถูกใจกด Like+ 1370
  • เพศ: ชาย
  • DHT Crazy Club
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #166 เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 08:21:44 PM »
แผ่นละ 500 เชียวนา น้าแว่น ตัดซะหน่อยดีกว่านะ ของผมมันหน้ากว้าง 3 นิ้วยาว 14 นิ้ว หนา 6 มม. น่ะครับ
Define Me Radiant Charm  เชื่อในสิ่งที่เราเลือก และ ภูมิใจในความเป็นเราในแบบที่เราเป็น    

Define Me Radiant Bright ไม่ต้องปรับตัวเองให้เป็นใคร แต่เป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกๆวัน

>>> ข้อมูลส่วนตัวครับ

ออฟไลน์ YoungOne

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1049
  • ถูกใจกด Like+ 19
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #167 เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 08:48:30 PM »
ส่วนวิธีเจาะรูทรานซิสเตอร์จานบิน ของผมเริ่มจากเปิดเครื่องพิมพ์ พิมพ์โอเวอร์เลย์ตัว TO-3 มาลงกระดาษ ขนาด 1:1 ครับ
ติดกระดาษกาวบนชิ้นงานให้แนบสนิท แล้วหาเหล็กแหลมตอกนำศูนย์ตรงรูเจาะทุกจุด(แบบเดียวกับที่พี่เฉยบอกด้านบน) แล้วค่อยเจาะรูตามที่มาร์คนำศุนย์เอาไว้ครับ งานเรียบร้อย เป๊ะทุกรู  [yes-raccoon]
ตอนเจาะรูแผ่นระบายความร้อนใส่ทรานซิสเตอร์"หวานใจ" ก็ใช้วิธีนี้ใช่ไหมครับ clapping-1-2

ออฟไลน์ audiomania

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2455
  • ถูกใจกด Like+ 402
  • เพศ: ชาย
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #168 เมื่อ: 16 เมษายน 2012, 08:53:01 PM »
ส่วนวิธีเจาะรูทรานซิสเตอร์จานบิน ของผมเริ่มจากเปิดเครื่องพิมพ์ พิมพ์โอเวอร์เลย์ตัว TO-3 มาลงกระดาษ ขนาด 1:1 ครับ
ติดกระดาษกาวบนชิ้นงานให้แนบสนิท แล้วหาเหล็กแหลมตอกนำศูนย์ตรงรูเจาะทุกจุด(แบบเดียวกับที่พี่เฉยบอกด้านบน) แล้วค่อยเจาะรูตามที่มาร์คนำศุนย์เอาไว้ครับ งานเรียบร้อย เป๊ะทุกรู  [yes-raccoon]
ตอนเจาะรูแผ่นระบายความร้อนใส่ทรานซิสเตอร์"หวานใจ" ก็ใช้วิธีนี้ใช่ไหมครับ clapping-1-2

ใช่แล้วครับ  [smi_ley]

ขอเพิ่มเติม รูปแสดงลำดับใส่ส่วนฉนวน+ฮีตซิงค์ที่ถูกต้องครับ




ให้สังเกตจากรูปเมื่อรวมร่างเรียบร้อย ตัวถังของทรานซิสเตอร์ที่เป็นขา C จะไม่ช็อตกับฮีตซิงค์เพราะมีไมก้ารองอยู่ และบู๊ทพลาสติกจะประคองสกรูไม่ไห้แกว่งไปโดนขอบรูของซิงค์ได้ แต่ที่ปลายสกรูจะขันเข้ากับหัวน็อตและบัดกรีเข้ากับจุดต่อลายทองแดงเป็นเนื้อเดียว สัญญาณขา C ก็สามารถเดินทางได้ครบถ้วนครับ

แต่ถ้าเอาบู้ทไปรองด้านบน ขา C จะลอยเท้งเต้งไม่ต่อกับวงจรเลย ทำให้วงจรจะไม่ทำงานครับ [yes-raccoon]

อย่าลืมขันให้แน่นก่อนบัดกรีนะครับ ไม่งั๊นทรานซิสเตอร์ไม่แนบซิงค์ นำความร้อนไม่ดี เดี๋ยว ดีเซพติคอน เอวัน จะ เอวัง ไปซะก่อนน่ะครับ  [no-raccoon]
และให้บัดกรีหัวสกรูให้เรียบร้อยก่อน รอจุดบัดกรีเย็นลงแล้ว ค่อยบัดกรีขา B-E ทีหลังครับ จะได้ไม่เกิดแรงเค้นที่จุดบัดกรีขา ซึ่งอาจจะทำให้โคนขาร้าวได้ในระยะยาว  [c--c]

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 พฤษภาคม 2012, 03:33:06 AM โดย audiomania »

ออฟไลน์ electron

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3289
  • ถูกใจกด Like+ 217
  • >> diy lover <<
Re: ลองเล่น จัดเต็ม แบบ serious กับ musical fidelity A1
« ตอบกลับ #169 เมื่อ: 07 พฤศจิกายน 2012, 02:31:14 PM »

 
          [unde_cided] เล่น A1 ไปพลางๆกันก่อนเน้ออ ไว้ว่างๆเรามา up grade เป็น A100 กันเน้อออพี่น้องเน้ออ