Source & Line amp & Amplifier Project ผลงาน DIY > Headphone Amp

=========== เปิดกล่อง Questyle – QP1R ===========

(1/3) > >>

Guy_Audio:




=========== Questyle – QP1R ===========
:: QP1R ::
เป็นชื่อรหัส DAP ตัวแรกของค่าย Questyle ซึ่งรหัสต่อท้ายด้วย “R” หมายถึง “Reference”
ตัวเครื่องเมื่อแรกเห็นจะสัมผัสได้ถึงความเนี๊ยบ และใส่ใจต่อการผลิตของเคส
ที่ใช้อลูมินั่มอัลลอยขุดด้วยระบบ CNC จากการประกอบของโรงงาน Foxconn ที่คงมาตรฐานสูง
จอหน้าสัมผัสมีความแกร่ง ไม่ทิ้งรอยนิ้วมือได้โดยง่าย ใช้งานได้โดยไม่จำเป็นต้องติดฟิล์มกันรอย

Guy_Audio:


::  Current Mode ::
ระบบที่ QP1R ได้บรรจงเลือกใช้ บวกกับภาคแอมป์ Class A
ที่คงความบริสุทธิ์ของเสียงให้ได้มากที่สุด และกำลังสำรองที่มากไม่มีปัญหาเรื่อง Impedance Matching


จากการที่ระบบ Current Mode จ่ายกระเเสได้คงที่สม่ำเสมอไม่ใช้การขยายแบบ Voltage
ที่สัมพันธ์กับค่าของโอห์ม ตามกฎของ Ohm's law ที่ V = IR 
หูฟังมีค่าโอห์มที่สูง จะต้านกระเเสและทำให้ภาคแอมป์ขาดกำลังสำรองที่จ่ายกระแสได้ทัน
ส่งผลต่อไดร์เวอร์เกิดการบิดเบือน คุณภาพเสียงที่ได้ไม่เต็มความสามารถของหูฟัง
และอาจสัมพันธ์ไปถึงค่า Damping Factor  ทำให้ไดร์เวอร์เก็บตัวได้ผิดเพี้ยนไป

- ต่างจากระบบ Current Mode จ่ายกระแสได้คงที่ไม่ว่าหูฟังตัวนั้นๆ
จะมีค่าโอห์มที่แปรผันไปเท่าใด รวมถึง QP1R มีเกนปรับได้ถึง 3 ระดับ ให้เลือกใช้งานอย่างเหมาะสม
สำหรับหูฟังในขณะที่ใช้งานอยู่ ทำให้เสียงมีความเที่ยงตรง มีกำลังสำรองมากพอจะขับหูฟังได้อย่างหมดจรด
คงความสะอาดของเสียง รวมถึงมิติที่นิ่ง ในส่วนนี้มีผลต่อคุณภาพเสียงโดยรวมจนผู้ฟังรู้สึกได้ถึงความแตกต่าง
ระหว่าง DAP ที่มีระบบ Current Mode หรือไม่มี เมื่อฟังจากหูฟังตัวเดียวกัน
ส่วนดีมากๆของ QP1R คือไม่มี Negative Feedback ไร้การป้อนกลับแบบลบ
ให้เสียงเที่ยงตรงเป็นธรรมชาติมากกว่า เก็บรายละเอียดรวมถึงส่วนต่างของไดนามิกออกมาได้ดี
พร้อมทั้งคงความเป็นดนตรีที่สูง ให้ความไพเราะจากไฟล์เพลงที่ได้รับการมาสเตอร์ริ่งมาอย่างดี
จากการที่ไม่มีปัญหาเรื่องความไม่เสถียรของไดร์เวอร์ ซึ่งระบบ Current Mode Amplification
จะใช้ในแอมป์ไฮเอ็นด์ระดับโลกอย่างเช่น Vitus Audio
และไม่ใช้การป้อนกลับแบบลบเช่นเดียวกับ Questyle QP1R

Guy_Audio:


:: Headphone AMP Output Power ::
จากการที่มีเกนให้เลือกปรับถึง 3 ระดับ Low  >>  Middle >> High
ถ้าหูฟังตัวนั้นๆ ค่าโอห์มที่ผู้ผลิตระบุว่าต่ำกว่า 32 โอห์ม ควรตั้งเกนไว้ที่ระดับ Low เสียก่อน
หรือมีค่าโอห์มที่สูงกว่านั้นควรใช้เกน Middle และ High
หากหูฟังระดับ 150 โอห์มขึ้นไปควรใช้ในเกน High
จากการตั้งค่าเกน อาจจะต้องใช้การฟังประกอบไปด้วย
หูฟังบางตัวอาจใช้ได้ทั้ง Low (ระดับวอลลุ่มอยู่ที่ประมาณ 35 )
และ Middle (ระดับวอลลุ่มอยู่ที่ประมาณ 25 ) แต่เสียงที่ได้ กลับฟังต่างกันบ้างเล็กน้อย
ถ้า Low จะให้เสียงที่โปร่งกว่า แต่ Middle ให้ย่านกลางต่ำและต่ำพั้นช์ออกมาได้ดีมากกว่า
มีความอิ่มข้นกว่า ซึ่งนำมาจับแมทช์ชิ่งจูนเสียงกับหูฟังในขณะฟังได้อีก

kakamax:
 [frightened-12]ไม่ต่ำกว่า 20 K ทั้งนั้นเลย

Guy_Audio:
พี่ kakamax ล่ะก็
อย่าพูดเรื่องราคาสิครับ เด๋วแม่ต่ายรู้เข้าครับ  [chick1]

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

Go to full version