ผู้เขียน หัวข้อ: รหัสหลอดอเมริกัน  (อ่าน 5916 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ CreÃte_Lek ♫

  • BuRaPha_TeAm
  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 57603
  • ถูกใจกด Like+ 1370
  • เพศ: ชาย
  • DHT Crazy Club
รหัสหลอดอเมริกัน
« เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2010, 10:57:24 PM »
                    รหัสผู้ผลิตหลอด

                    ในยุคนั้นมีรหัสมาตรฐานของ RMA-EIA ที่สามารถย้อนรอยไปหาที่มาของผู้ผลิตหลอดได้ด้วย เช่น หลอดของ Emerson ผลิตโดย GE (รหัส 188) หรือ Philco ผลิตโดย National Union (รหัส 247)    รหัสเหล่านี้ไม่เพียงบอกถึงผู้ผลิต แต่ยังสามารถบอกได้ว่าถูกนำเข้าโดยใคร จัดจำหน่ายโดยใครได้อีกด้วย
   รหัส ในตารางต่อไปนี้ถูกใช้สำหรับหลอดที่ผลิตส่งค่ายทหารอีกด้วย เช่น JAN-CIM-2C39 เป็นหลอดที่ผลิตโดย Eimac เป็นต้น เรามาดูตารางรหัสกันครับ (บางรหัสเราไม่มีโอกาสเจอก็ได้ครับ เพราะเป็นหลอดเครื่องส่ง หรือใช้งานด้านอุตสาหกรรม)


            111: Amperex (CEP)
                       
         
            117: Arpin Mfg. Co. (CAPQ)
                       
         
            158: Du Mont (CDU)
                       
         
            162: Eimac (CIM)
                       
         
            170: Electronic Tube Crop. General Atronics (CVG)
                       
         
            177: Fransworth Tel. & Radio Crop. (CFN)
                         
         
            179: Federal T. & R. Co. (CFT)
                       
         
            188: GE (Ken-Rad) (CG, CKR)
                         
         
            189: General Electronics (CDR)
                         
         
            210: Hytron/CBS-Hytron (CHY)
                         
         
            212: Ind'l & Comm'l Elect. (CIZ)
                       
         
            226: Kuthe Labs (CADK)
                         
         
            231: Machlett Labs (CAGD)
                       
         
            247: National Union Lansdale Tube Co. (CNU)
                         
         
            260: Phico
                         
         
            274: RCA (CRC)
                         
         
            280: Raytheon (CRP)
                       
         
            301: Sperry Gyroscope Co. (CS)
                         
         
            308: Stromberg-Carlson
                         
         
            312: Sylvania (CHS)
                         
         
            322: Tung-Sol (CTL)
                         
         
            323: United Electronics (CUE)
                         
         
            336: Western Eelectric (CW)
                         
         
            337: Westinghouse (CWL)
                       
         
            354: Lewis Electronics (CYN)
                         
         
            423: North Am. Philips (CNY)
                       
         
            431: Waterman Prod. Co. (CAGX)
                         
         
            557: Electronic Producs Co.
                         
         
            562: Polarad Electronics
                       
         
            636: Sheldon Electronics Co.
                       
         
            653: American Telev. Inc. (CAGE)
                       
         
            672: Thomas Electronics (CBUP)
                         
         
         
                         677: Rogers Elect. Corp. (CQ)
         
       
                         713: Taylor Tubes, Inc. (CTY)
         
     
                         738: Lewis & Kaufman, Ltd.
         
           
                         744: Hughes Aircraft Co.
         
           
                         749: National Electronics (C)
         
           
                         771: Penta Labs
         
           
                         781: Vacuum Tube Products
         
           
                         787: Sonotone Corp. (COZ)
         
         
                         803: Microwave Associates
         
           
                         806: Gordos Corp.
         
           
                         809: Varian Associates
         
           
                         818: Tel-O-Tube Corp.
         
           
                         879: Litton Industries
         
           
                         884: C.R.T. Electronics Corp.
         
           
                         886: Calvideo Tube Corp.
         
           
                         935: Electrons, Inc. (CEL)
         
           
                         940: Bomac Labs. (CBNQ)
         
           
                         964: Huggins Labs
         
           
                         1012: Bendix Red Bank (CJEA)
         
           
                         1101: Rauland (CIY, CBQZ)
         
           
                         1120: General Electrodyn. Corp.
         
           
                         - Arcturus (CAA)
         
           
                         - Cable (Speed) (CRS)
         
           
                         - Champion (CRS)
         
           
                         - Daven (CDN)
         
           
                         - Duovac (CBW)
         
           
                         - Electronic Enterprises (CDZ)
         
           
                         - Heintz & Kaufman (CKH)
         
           
                         - Johnsonburg (CJR)
         
           
                         - Majestic (CMW)
         
           
                         - Northern Electric (CT)
         
           
                         - Victoreen (CBBM)
         
                - Canadian Westinghouse (CK)
         
                - Chatham Electronics (CAHG)                 
             
Define Me Radiant Charm  เชื่อในสิ่งที่เราเลือก และ ภูมิใจในความเป็นเราในแบบที่เราเป็น    

Define Me Radiant Bright ไม่ต้องปรับตัวเองให้เป็นใคร แต่เป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกๆวัน

>>> ข้อมูลส่วนตัวครับ

ออฟไลน์ CreÃte_Lek ♫

  • BuRaPha_TeAm
  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 57603
  • ถูกใจกด Like+ 1370
  • เพศ: ชาย
  • DHT Crazy Club
Re: รหัสหลอดอเมริกัน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2010, 10:57:57 PM »
           รหัสวันที่ผลิต   
        หลอดส่วนมากที่ผลิตกลางปี 30 เป็นต้นไป มักจะมีการระบุรหัสวันที่ผลิตเข้าไปด้วย รูปแบบวันที่พิมพ์ลงบนตัวหลอดหรือฐานหลอดใช้กันมาจนถึงปี 1950 รูปแบบที่ว่านี้ก็คือ YY-WW โดย YY จะเป็นตัวบอกเลขสองหลักสุดท้ายของปี ค.ศ. และ WW เป็นลำดับสัปดาห์ที่ในปีนั้นๆ
   รหัสวันที่ผลิตค่อนข้างจะ กำกวมหน่อย เพราะมันอาจจะบอกเป็นเดือนที่ผลิต หรือเดือนที่หมดการรับประกัน และค่อนข้างสับสนมากเข้าไปอีกถ้าโรงงานแต่ละที่ใช้มาตรฐานไม่เหมือนกันอีก มาไล่ดูวิธีการระบุรหัสวันที่ของหลอดแต่ละยี่ห้อกันครับ
   RCA แรกๆจะใช้รหัสเป็นการเข้ารหัสโดยใช้สัญลักษณ์ ซึ่งมีความซับซ้อน แถมยังมีโอกาสซ้ำอีกต่างหาก จนมาถึงกลางปี 30 การกำหนดรหัสเริ่มมีรูปแบบง่ายขึ้น โดยใช้ตัวอักษรเป็นตัวบอกปีดังนี้
   U: 1937   R:1939      Y:1941   K:1943   V:1945
   T: 1938   X:1940   S: 1942   H:1944   F:1946
   ตามด้วยการใช้ตัวเลขเป็นตัวบอกเดือนดังนี้
   1: Jan-Feb   3: May-June   5: Sept.-Oct.
   2: Mar.-Apr. 4: July-Aug   6: Nov.-Dec.
   ตามด้วยตัวอักษร "E" สำหรับหลอด OEM
   มา ถึงปี 1946 ได้เริ่มมีการเปลี่ยนรูปแบบรหัสไปเป็นตัวเลข เช่น 7-26 หมายถึงผลิตในสัปดาห์ที่ 26 ของปี 1947 ขีดคั่นจะเป็นตัวบอกว่าเป็นหลอด OEM ถ้าไม่มีขีดก็จะเป็นของ RCA เอง จนมาถึงปี 1956 RCA ก็ใช้รหัส YY-WW ตามมาตรฐาน RMA-EIA แต่บางหลอดยังมีการกำหนดรหัสตัวอักษรควบคู่ไปด้วย เช่น AW, BF เป็นต้น
   Sylvania ในช่วงปี 30 ใช้รหัสตัวเลขและตัวอักษร โดยตัวอักษรเป็นตัวบอกถึงเดือนที่ผลิต ตามด้วยตัวเลขปีสองหลัก รหัสตัวอักษรที่บอกเดือน จะมีการเปลี่ยนเป็นช่วงๆดังนี้
   ปี 1930-1935 ใช้รหัสเดือนดังนี้
   C: January   D: April   A: July      B: October
   H: February   J: May      D: August   F: November
   M: March   N: June   K: September   L: December
   รหัสปีจะใช้ตัวเลขหลักสุดท้ายเป็นเป็นตัวบอกปี เช่น N5 หมายถึงผลิตในเดือนมิถุนายน (June) ปีค.ศ 1935
   หลังปี 1935 ซิลวาเนียได้ทำการเปลี่ยนรหัสเดือนใหม่อีกรอบ และใช้งานมาจนถึงปี 1938 ดังนี้
   A: January   D: April   G: July      J: October
   B: February   E: May   H: August   K: November
   C: March   F: June      I: September   L: December
   รหัส รูปแบบนี้ถูกใช้งานมาจนถึงกลางปี 1938 ใช้การสลักด้วยความร้อน ทั้งโลโก และรหัสวันที่ผลิตลงที่ฐานหลอด พอหลังจากเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนก็เปลี่ยนมาใช้การสกรีนด้วยหมึกสีเขียว ถ้ารหัสวันที่ผลิตถูกเอทช์ หรือพิมพ์ลงบนตัวแก้ว ให้อนุมาณได้เลยว่าเป็นหลอดที่ซิลวาเนียจ้างผู้ผลิตรายอื่นทำให้
   ในปี 1939 รหัสถูกเปลี่ยนอีกครั้งโดยใช้ตัวอักษร Z-V-T-N เป็นตัวบอกไตรมาสที่ทำการผลิตหลอด และกำหนดตัวอักษร R ต่อท้ายเพื่่อบอกว่าเป็นหลอดของ Sylvania เองไม่ได้เป็นหลอด OEM (R หมายถึง Replacement หรือสำหรับเปลี่ยนกับหลอดของซิลวาเนียเอง) และใช้ตัวเลขหลักสุดท้ายของปีเป็นตัวระบุปี เช่น Z9 หมายถึงผลิตไตรมาสที่ 1 ของปี 1939 เป็นต้น
   มาถึงปี 1947 ซิลวาเนียได้เปลี่ยนมาใช้รหัสตัวเลขสามหลักเป็นตัวบอกรหัสวันที่ผลิต โดยใช้ตัวเลขปีเพียงหลักเดียวเหมือนกับ RCA
   เราอาจจะเจอหลอด Zenith หลังปี 30 และ 40 ที่พิมพ์รหัสวันที่เหมือนกับ Sylvania ซึ่งพอจะเดาๆได้ว่าผลิตโดยซิลวาเนีย
Define Me Radiant Charm  เชื่อในสิ่งที่เราเลือก และ ภูมิใจในความเป็นเราในแบบที่เราเป็น    

Define Me Radiant Bright ไม่ต้องปรับตัวเองให้เป็นใคร แต่เป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกๆวัน

>>> ข้อมูลส่วนตัวครับ

ออฟไลน์ CreÃte_Lek ♫

  • BuRaPha_TeAm
  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 57603
  • ถูกใจกด Like+ 1370
  • เพศ: ชาย
  • DHT Crazy Club
Re: รหัสหลอดอเมริกัน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2010, 11:00:49 PM »
              Philco หลอดทั้งหมดของยี่ห้อนี้ผลิตโดย Sylvania และรหัสวันที่ผลิตหลอดก็ใช้ตรงกันจนถึงปี 1935 พอหลังปี 1935 Philco ได้กำหนดรหัสตัวอักษรสี่ตัวคือ O-P-U-S เป็นตัวบอกไตรมาสที่ผลิตหลอด เช่นเดียวกับหลอดซิลวาเนียที่ผลิตกลางปี 1938 จะใช้การสลักด้วยความร้อนลงที่ฐานหลอด ทั้งโลโกและรหัสผลิต และเปลี่ยนมาใช้การสกรีนด้วยหมึกเหลือง มาตรฐานนี้ใช้มาจนถึงปี 1949 และในปี 1950 ค่อยเปลี่ยนมาใช้ตามมาตรฐาน EIA
   Ken-Rad บริษัทนี้ยึดการระบุรหัสแบบตายตัว และใช้มาตั้งแต่ก่อนสมัยสงครามโลก โดยมีรหัสดังนี้ (เดือน-ปี ค.ศ.)
   H9: 7-40   N0: 1-41   V0: 7-41
   I9: 8-40   P0: 2-41   W0: 8-41
   J9: 9-40   R0: 3-41   X0: 9-41
   K9: 10-40   S0: 4-41   Y0: 10-41
   L9: 11-40   T0: 5-41   Z0: 11-41
   M0: 12-40   U0: 6-41   A1: 12-41

   Raytheon ใช้การระบุรหัสแบบนับไตรมาส แต่จะเป็นช่วงวันที่ของการส่งสินค้าแทน รูปแบบรหัสดังนี้ (เดือน-วันสิ้นเดือน-ปี ค.ศ.)
   C9: 3-31-39   L9: 12-31-39   I0: 9-30-40
   F9: 6-30-39   C0: 3-31-40   L0: 12-31-40
   I9: 9-30-39   F0: 6-30-40   C1: 3-31-41

   Western Electric ใช้เพียงรหัสตัวอักษร สองตัว ตัวแรกบอกถึงปี ดังนี้ A: 1936, B:1937, C: 1938 และตัวอักษรตัวที่สองเป็นตัวบอกเดือนดังนี้
   A: January   D: April   K: July      N: October
   B: Febuary   E: May   L: August   P: November
   C: March   H: June   M: September   S: December
   หลอดทรง ST จะฝังรหัสผลิตล้อมรอบโลโก WE ตรงด้านบนของหลอด โดยด้านบนของโลโกจะบอกเดือน และด้านล่างโลโกจะบอกปีดังนี้
   W: 1938 Jan.      N: 1944 July
   E: 1939 Feb.      E: 1945 Aug.
   S: 1940 March   L: 1946 Sept.
   T: 1941 April      E: 1947 Oct.
   E: 1942 May      C: 1948 Nov.
   R: 1943 June      T: 1949 Dec.
   ต่อ มาในไตรมาสที่สองของปี 1947 ก็เปลี่ยนมาใช้ระบบตัวเลขสามหลักเหมือนกับ RCA และเปลี่ยนมาใช้ตามมาตรฐาน EIA ในไตรมาสแรกของปี 1956


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 พฤศจิกายน 2010, 11:10:02 PM โดย create »
Define Me Radiant Charm  เชื่อในสิ่งที่เราเลือก และ ภูมิใจในความเป็นเราในแบบที่เราเป็น    

Define Me Radiant Bright ไม่ต้องปรับตัวเองให้เป็นใคร แต่เป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกๆวัน

>>> ข้อมูลส่วนตัวครับ

ออฟไลน์ CreÃte_Lek ♫

  • BuRaPha_TeAm
  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 57603
  • ถูกใจกด Like+ 1370
  • เพศ: ชาย
  • DHT Crazy Club
Re: รหัสหลอดอเมริกัน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2010, 11:04:07 PM »
              ระบบตัวเลขรหัสหลอดมาตรฐาน RMA (Radio Manufacturers Association)

       ปี 1942-1944 เริ่่มมีการกำหนดให้เป็นมาตรฐานเบอร์หลอดอเมริกา เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันโดยใช้ระบบตัวเลขผสมตัวอักษร เพื่อใช้อธิบายพื้นฐานข้อมูลคุณสมบัติเกี่ยวกับหลอดนั้นๆ


หมาย เหตุ: เบอร์หลอดที่มีเลขสองหลัก ( เช่น #45, #50, #80) และเลขสามหลัก (เช่น #245, #845) เป็นหลอดที่ผลิตมาก่อนกำหนดมาตรฐาน RMA หลอดเลขสี่หลักที่ใช้ในอุตสาหกรรมไม่ได้อยู่ในมาตรฐาน RMA เช่นกัน


เบอร์ หลอดตามมาตรฐาน RMA จะประกอบไปด้วยตัวแรกเป็นตัวเลข ตามด้วยตัวอักษรหนึ่งหรือสองตัว ตามด้วยตัวเลข และอาจจะมีปิดท้ายด้วยตัวอักษรมากกว่าหนึ่งตัว

เบอร์หลอดบางเบอร์ดูเหมือนจะคล้ายมาตรฐาน RMA แต่จริงๆแล้วอาจจะไม่ใช่ก็ได้ เช่น 2D21 เป็นต้น


ความหมายของตัวอักษรและตัวเลขที่ใช้ตามมาตรฐาน RMA จะมีดังนี้:

I. ตัวเลขชุดแรก

ตัวเลขหนึ่งหรือสองตัวแรกจะบอกถึงแรงดันจุดไส้หลอด/ฮีตเตอร์ โดยตัดทศนิยมทิ้่ง หลอดคาโธดเย็น (Cold-cathode) ใช้เลข ?0?

ยกเว้นหลอดเหล่านี้:

    * หลอดที่มีแรงดันไส้หลอดเท่ากับ 2.0V หรือต่ำกว่าจะใช้เลข ?1?
    * หลอดขาแบบ Loctal จะใช้เลข ?7? สำหรับแรงดันไส้หลอด 6.3V และเลข ?14? สำหรับแรงดันไส้หลอด 12.6V

ตัวอย่าง:

    * 2A3 แรงดันไส้หลอดเท่ากับ 2.5V  โดย 2.5 ถูกตัดทศนิยมทิ้งเหลือ 2,
    * 1LA6 แรงดันไส้หลอด 1.4V โดยตัดทศนิยมทิ้งให้เหลือเลข ?1?
    * 1A6 แรงดันไส้หลอด 2.0V ใช้ตัวเลข ?1?
    * 7N7 เป็นหลอดขา Loctal แรงดันจุดไส้หลอด 6.3V 14A4 เป็นหลอด Loctal แรงดันจุดไส้หลอด 12.6V
    * 0A2 เป็นหลอดเรกูเลตแบบคาโธดเย็น

II. ชุดตัวอักษรที่อยู่ระหว่างตัวเลข

      ตัวอักษรหนึ่ง หรือสองตัวที่อยู่ระหว่างตัวเลขจะเรียกว่า  ?serial letter?

    * หลอดเรคติฟายจะเริ่มต้นด้วยตัวอักษร Z ไล่ย้อนหลังตามลำดับตัวอักษร (เช่น: 5Z3)
    * หลอดอื่นๆจะไล่ตามลำดับตัวอักษรปกติเริ่มจาก A (เช่น: 6A3)

ลำดับ จะเริ่มจากตัวอักษรตัวเดียว เมื่อใช้ไปจนหมดจึงจะเพิ่มตัวอักษรตัวที่สองนำหน้าตัวอักษรเดิมโดยเริ่มจาก A ถ้าซ้ำกับตัวแรกก็จะใช้ตัวอักษรถัดไปเช่น ?B? หรือ ?C? เป็นต้น

ตัวอย่าง:

    * 6K6 เป็นเบอร์ที่มีการกำหนดไปแล้ว ถ้ามีการพัฒนาหลอดขึ้นมาใหม่ที่มีแรงดันจุดไส้หลอด 6.3V และมีส่วนประกอบภายใน 6 ส่วนก็จะใช้เบอร์หลอดเป็น 6AK6 ถ้ามีการพัฒนาหลอดขึ้นมาใหม่อีกที่มีแรงดันจุดไส้หลอด 6.3V และมีส่วนประกอบภายใน 6 ส่วนก็จะใช้เบอร์หลอดเป็น 6BK6

ข้อยกเว้นการใช้ตัวอักษร ?S? :

    * ตัวอักษร ?S? ที่ใช้นำหน้าชุดตัวอักษรหมายถึง ?single-ended?  จะบอกถึงหลอดที่พัฒนาจากหลอดที่มีแนวการออกแบบหลอดในยุคเก่าที่จะมีส่วนควบ คุมปกติจะเป็นคอนโทรลกริดอยู่ตรงหัวจุกของหลอด ถ้าเป็นแนวการออกแบบหลอดยุคใหม่จะให้ส่วนควบคุมอยู่ตรงฐานหลอด
    * ตัวอย่าง: 6K7 เป็นหลอดหัวจุก หลอด 6SK7 จะไม่มีหัวจุก
    * อย่าสับสนกับ ?S? ที่อยู่ต่อท้ายเช่นหลอดเบอร์ 57S จะไม่เกี่ยวข้องกัน

III. ตัวเลขชุดท้าย

      ตัวเลขชุดท้ายที่อยู่ต่อกับ ?serial letter? จะบอกถึงจำนวนส่วนประกอบที่ใช้งานภายในหลอดเบอร์นั้นๆ ส่วนประกอบที่ใช้งานจะเชื่อมต่อกับขาหลอดที่สามารถต่อใช้งานกับวงจรภายนอก ได้ โดยส่วนประกอบที่จะงานจะนับรวมทั้งไส้หลอด ซัพเพรสเซอร์กริด ถ้าชีลด์ถูกต่อกับขาหลอดก็จะถูกนับรวมด้วยเช่นกัน

ตัวอย่าง:

    * 6L6 = ตัวเลขสุดท้าย ?6? จะบอกถึงว่าหลอด 6L6 มีส่วนประกอบที่ใช้งาน 6 ส่วนคือ: ไส้หลอด, เพลท, คอนโทรลกริด, สกรีนกริด, คาโธด และซัพเพรสเซอร์กริด
    * 2A5 = จะมีส่วนประกอบที่ใช้งาน 5 ส่วนคือ ไส้หลอด, เพลท, คอนโทรลกริด, สกรีนกริด และคาโธด หลอดเพนโทดจะมีซัพเพรสเซอร์กริด แต่ซัพเพรสเซอร์กริดไ่ม่ได้ต่อกับขาหลอด จึงไม่นับว่าเป็นส่วนประกอบที่ใช้งาน

IV. ตัวอักษรต่อท้าย


       ตัวอักษรต่อท้ายเป็นตัวบอกถึงคุณสมบัติทางกายภาพของหลอดชนิดเดียวกัน ตัวอักษรที่ต่อท้ายอาจจะมีมากกว่าหนึ่งตัว

เช่น: 5Y3WGTA เป็นหลอดที่ออกแบบมาสำหรับงานทางการทหาร จะมีขนาดตัวแก้วที่เล็กกว่า และแนวการออกแบบที่ใหม่กว่า 5Y3G เดิม

ตัวอักษรต่อท้ายที่ควรจำ:

    * G = ตัวหลอดชั้นนอกสุดเป็นแก้ว
    * W = โครงสร้างแน่นตามมาตรฐาน ?MIL-1-A? ทางการทหาร ดังนั้นหลอดที่มีตัวอักษรต่อท้าย W จะเป็นหลอดในคลังของทหาร

เพื่อให้ครอบคลุมกับทุกกรณีตัวอักษรต่อท้ายอื่นๆมีความหมายดังนี้:

    * (ไม่มีตัวต่อท้าย) = ถ้าไม่มีตัวต่อท้ายใดๆก็ไม่ได้บอกถึงคุณสมบัติอะไรเพิ่มเติม ถ้าเราทราบว่าหลอดเบอร์นั้นๆมีทั้งหลอดแก้วและหลอดเหล็ก หลอดที่ไม่มีตัวต่อท้ายก็จะเป็นหลอดเหล็ก เช่น 6L6, 6F6, 6V6, 6N6 เป็นต้น ถ้ามีเฉพาะหลอดแก้วอย่างเดียวหลอดที่ไม่มีตัวอักษรต่อท้ายก็จะเป็นต้นฉบับ การออกแบบ (original design) เช่น 2A3, 6A3 เป็นต้น
    * A = เป็นลำดับการพัฒนาในลำดับที่สอง ของหลอดเบอร์เดียวกัน โดยปรับปรุงให้ดีขึ้นมาอีกระดับ หรืออาจจะมีความทนทานมากกว่าเดิม โดยยังคงคุณสมบัติการทำงานเหมือนเดิม ปกติหลอดที่ลงท้ายด้วย ?A? จะปรับปรุงในเรื่องการลดเวลาการอุ่นไส้หลอด การลดสัญญาณรบกวน การลดฮัม
    * B = เป็นลำดับการพัฒนาในลำดับที่สาม ของหลอดเบอร์เดียวกัน โดยปรับปรุงให้ดีขึ้นมาอีกระดับ หรืออาจจะมีความทนทานมากกว่าเดิม โดยยังคงคุณสมบัติการทำงานเหมือนเดิม
    * C = เป็นลำดับการพัฒนาในลำดับที่สาม ของหลอดเบอร์เดียวกัน โดยปรับปรุงให้ดีขึ้นมาอีกระดับ หรืออาจจะมีความทนทานมากกว่าเดิม โดยยังคงคุณสมบัติการทำงานเหมือนเดิม
    * G = เป็นหลอดแก้ว ฐานหลอด Octal เบอร์จะเหมือนกับหลอดเหล็ก
    * GB = เป็นหลอดแก้วขนาด T-5?
    * GL = เป็นหลอดแก้วขนาด T9 ฐานหลอด Loctal
    * GM or MG = หลอดแก้วหุ้มด้วยโลหะ ฐานหลอด Octal
    * LM = เป็นหลอดเหล็กขนาด MT-8 ฐานหลอด Octalox
    * LT = เป็นหลอดแก้ว T9 ฐานหลอด Octalox
    * M = เป็นหลอดเหล็ก ฐานหลอด Octal
    * ML = เป็นหลอดเหล็ก ขนาด T9 ฐานหลอด Loctal
    * M-R = ไม่เกี่ยวกับการบ่งบอกเชิงเทคนิคใดๆ ตัวอักษร ?MR? จะบอกถึงว่าเป็นหลอดที่ผลิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บอกถึงว่าเป็นหลอดสำหรับ  ?Maintenance and Repair? สำหรับวิทยุของพลเรือน (ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทางการทหารจำเป็นต้องใช้หลอดจำนวนมาก จึงมีการผลิตหลอดออกมาจำนวนมาก และยังจำหน่ายให้กับพลเรือนด้วย) M-R จึงไม่มีนัยใดๆเป็นพิเศษสำหรับออดิโอไฟล์
    * S= บอกถึงมีการพ่นชีลด์เคลือบภายในหลอดแก้ว
    * T = เป็นหลอดแก้วสั้น
    * W = โครงสร้างแน่นหนา ตามมาตรฐานทางการทหาร ?MIL-1-A?
    * Y = หลอดมีฐานเป็นไมกานอน

สรุปส่งท้าย

     การกำหนดเบอร์หลอดตามมาตรฐาน RMA ช่วยให้เราทราบข้อมูลพื้นฐานของหลอดแต่ละเบอร์ดังนี้:

    * ทำให้ทราบถึงแรงดันจุดไส้หลอด
    * Serial Letter ที่อยู่ติดกับตัวเลขชุดหลัง ทำให้เราทราบว่าเป็นหลอดเรคติฟาย หรือเป็นหลอดอะไร หลอดที่มีลำดับอักษรท้ายๆมักจะเป็นหลอดเรคติฟายเช่น  5Z3, 6W4, 6AX5GT, 5AS4A เป็นต้น แต่ก็มีข้อยกเว้นเช่นเบอร์ 6CA4  ก็เป็นหลอดเรคติฟาย
    * ตัวอักษรต่อท้ายทำให้เราทราบถึงคุณสมบัติทางกายภาพของหลอด
Define Me Radiant Charm  เชื่อในสิ่งที่เราเลือก และ ภูมิใจในความเป็นเราในแบบที่เราเป็น    

Define Me Radiant Bright ไม่ต้องปรับตัวเองให้เป็นใคร แต่เป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกๆวัน

>>> ข้อมูลส่วนตัวครับ

ออฟไลน์ CreÃte_Lek ♫

  • BuRaPha_TeAm
  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 57603
  • ถูกใจกด Like+ 1370
  • เพศ: ชาย
  • DHT Crazy Club
Re: รหัสหลอดอเมริกัน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 24 พฤศจิกายน 2010, 11:09:27 PM »
                     ตารางเทียบสัปดาห์เป็นเดือน

  

ที่มา: Tube Lore
ละเลงไทย: AnalogLism



   ขอขอบคุณ  คุณ AnalogLism และ  www.thaidiyaudio.net  สำหรับข้อมูล ภาคภาษาไทยครับ [res]
Define Me Radiant Charm  เชื่อในสิ่งที่เราเลือก และ ภูมิใจในความเป็นเราในแบบที่เราเป็น    

Define Me Radiant Bright ไม่ต้องปรับตัวเองให้เป็นใคร แต่เป็นเราในเวอร์ชั่นที่ดีขึ้นในทุกๆวัน

>>> ข้อมูลส่วนตัวครับ