โดยการเทสครั้งนี้ผมเลือกเน้นเฉพาะ แทร็คที่ 1 - 5 เพราะหลังยิ่งโหดขึ้นเรื่อย แต่ทำการฟังเพื่อทดสอบลำโพงเท่านั้นครับ
หนังตัวอย่างใน track 2 Trumpet concerto in E flat major " allegro " [gr_in]
เริ่มจากหลอดต้นตระกูลก่อนครับ 6n6p foton factory 1964's ขอเล่าย้อนนิดนึงครับ จากการเปรียบในครั้งก่อนซึ่งผมมีโอกาสได้ฟังเต็มๆประมาณ 1 สัปดาห์ พอจะจำเสียงของหลอดทั้งสองเบอร์ว่าแตกต่างกันอยู่ค่อนข้างมาก เรียกว่าห่างก็ไม่ผิดครับ แม้ว่าจะมีฐานเสียงมาในทิศทางเดียวกัน แต่รายละเอียด ทรวดทรงความเป็นดนตรี ไม่มีทางสู้เจ้า 6n30p ได้เลย จากวันนั้นผมก็พยายามคิดหาวิธีที่จะทำให้เสียงเข้าใกล้ 6n30p มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะจากที่ฟังแล้วแทบจะไม่มีทางขึ้นเทียบชั้นได้เลย เลยขอแค่หายใจรดต้นคอก็ยังดี เพราะราคาค่าตัวที่ต่างกันหลายช่วงตัวครับ แนวทางของผมคือปรับลดไฟ และ bias ใหม่จากวงจรที่คุณฉัตรชัยได้ออกแบบไว้ อย่างแรกเลย สามารถลดเสียงที่ล้ำเกินงาม และ ไม่พึงปรารถนาไปได้พอสมควรโดยเฉพาะเสียงตัว ซ ตัว S ที่ทำให้เสียงร้องในภาพรวมที่ได้ยินเสียไป ผลจากการปรับให้เสียงร้องที่เป็นตัวเป็นตนมากขึ้น การแยกแยะชิ้นดนตรีมีความเป็นอิสระมากขึ้น เบสอิ่มทอดตัวได้ยาวขึ้น และ roll off ช้าลง คราวนี้มาเข้าสู่การทดสอบ 6n6p ให้โทนเสียงที่ อวบอิ่ม และ หนากว่า ในทุกย่านความถี่ เมื่อเทียบกับ 6n30p แต่เนื้อเสียงมีความหยาบกว่าเล็กน้อย และ เหมือนมีหมอกบางๆทำให้ขาดความชัดเจน และ ความใสในแต่ละตัวโน๊ตลงไป แต่ก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้นอยู่ในเกณฑ์ที่รับได้ ซึ่งบางท่านอาจจะชอบแบบนี้ โดยเฉพาะแนวเพลงไทยก็ลูกทุ่งพวกโจ๊ะๆ หรือ แนวคลาสสิค ก็พวก symphony orchestra ซึ่งมีเครื่องดนตรีมากชิ้น ไมต้องการความชัดเจนในรายละเอียดมานักยกเว้น เสียงร้อง อย่างใน track 1 Fanfare for the common man ฮาโมนิคที่ 2 (สัมผัสได้เล็กน้อยแทบจะต้องเพิ่ง ทั้งที่เป็นแท็รคที่ผมใช้ทดสอบอยู่ประจำ) และ 3 ไม่มีให้เห็นเลยครับ และ หาเปรียบเป็น
หญิงสาว 6n6p เปรียบได้ดั่งสาวสวยที่ออกอวบเจ้าเนื้อเล็กน้อย ประมาณ เจนนี่ เทียน... ประมาณนั้น เชฟ (เสียง) ไม่สวยเท่า อั้ม พัช.... (6n30p)