www.diyaudiovillage.net

DIY มือใหม่ , TIPS & TRICKS , R&D SECTION => TIPS & TRICKS => ข้อความที่เริ่มโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 01:23:33 PM

หัวข้อ: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 01:23:33 PM
                              ครอสโอเวอร์ เนตเวอร์ก ( Crossover network )                   
                 
                        มาทำความรู้จัก และ ที่มาที่ไปของเจ้า ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก กันก่อนครับ  ในระบบไฮไฟดี ๆ ตู้ลำโพงที่ใช้ควรมีผลตอบสนองความถี่
ช่วงจาก 30Hz ถึง 15KHz  เป็นอย่างต่ำ   แต่ลำโพงตัวเดียวมีช่วงผลการตอบสนองความถี่ไม่กว้างพอ  จึงต้องใช้ลำโพงตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปประกอบอยู่ในตู้
เดียวกัน    และให้แต่ละตัวทำงานในช่วงความถี่ที่มันจะสามารถทำงานได้ดี    แต่เพื่อให้เสียงจากความถี่เดียวกันจากลำโพงต่าง ๆ ไม่กวนกัน    จึงใช้วงจร
ที่เรียกว่า "ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก " มาเป็นตัวแบ่งความถี่ออกเป็นช่วงๆ  แล้วป้อนให้แก่ลำโพง ที่มีผลการตอบสนองความถี่ช่วงนั้นๆได้ดี  ซึ่งประกอบด้วย
ตัวกรองสัญญาณอย่างน้อย 2 ตัว  จะประกอบด้วย  ตัวกรองความถี่สูงผ่าน  และ ตัวกรองความถี่ต่ำผ่านเท่านั้น  ตัวกรองความถี่สูงผ่าน จะทำหน้าที่กำหนด
ช่วงความถี่ที่ลำโพงเสียงแหลมทำงานได้ดี  โดยมันจะกั้นสัญญาณที่มีความถี่ต่ำกว่าค่า ๆ หนึ่งไว้  ไม่ให้ผ่านไปถึงลำโพงเสียงแหลมได้  ตัวกรองความถี่ต่ำ
ผ่าน  จะทำหน้าที่ กำหนดช่วงความถี่ที่ลำโพงเสียงทุ้ม  จะทำงานได้ดี โดยมันจะกั้นสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าค่า ๆ หนึ่งไว้  ไม่ให้ป้อนเข้าลำโพงเสียงทุ้ม
ได้     ถ้าในระบบที่ตู้ลำโพงประกอบด้วย ลำโพง 3 ตัว   ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก  สำหรับระบบนี้จะต้องมีตัวกรอง 3 ตัวคือ  ตัวกรองความถี่สูงผ่าน ตัวกรอง
ความถี่ต่ำผ่าน  และ ตัวกรองแถบความถี่  ซึ่งจะประกอบไปด้วย  ตัวกรองแถบความถี่สูงผ่าน และ ตัวกรองแถบความถี่ต่ำผ่าน  ก็ทำงานเหมือนในระบบตู้ 2
ลำโพง  ที่กล่าวมาแล้ว  ตัวกรองแถบความถี่ จะทำหน้าที่กำหนด  ช่วงความถี่ที่ลำโพงตัวที่สาม (ซึ่งเป็นลำโพงเสียงกลาง ไม่ทุ้มหรือแหลมเท่าสองตัวแรก)
จะทำงานได้ดี   ตัวกรองแถบความถี่จะกำหนดว่า   ถ้ามีสัญญาณมีความถี่สูงกว่าค่า ๆ หนึ่ง  หรือ  ต่ำกว่าค่า ๆ หนึ่ง   จะกั้นสัญญาณไม่ให้ผ่่่่านไปถึงลำโพง
เสียงกลางได้    การเพิ่มลำโพงตัวที่ 3 เข้ามาช่วยให้การเปลี่ยน  การทำงานของลำโพงจากตัวหนึ่ง ไปอีกตัวหนึ่ง  ทำงานเป็นไปอย่างนุ่มนวล  ไม่สะดุดหู
อนึ่ง ในระบบที่มีลำโพงตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป  ประกอบอยู่ในตู้เดียวกัน  จำเป็นต้องให้ผลตอบสนองความถี่  ของลำโพงแต่ละตัวคาบเกี่ยวกัน  เพื่อให้ผลการ
ตอบสนองรวมของระบบ  เป็นรูปเส้นราบเรียบตลอดช่วงความถี่ของเสียงที่ต้องการ
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 01:27:42 PM
                
                                 การหาจุดตัดครอสโอเวอร์ให้กับลำโพง

             วิธีการหาค่าความถี่ครอสโอเวอร์ (ความถี่ที่ครอสโอเวอร์เนตเวอร์กทำการแยกช่วงความถี่  เพื่อป้อนให้แก่ลำโพงแต่ละตัว)  ให้ได้ดีที่สุด  ควรต้อง
รู้ผลการตอบสนองความถี่ของลำโพงที่ใช้ก่อน   แล้วจัดให้เกิดจุดครอสโอเวอร์ที่ความถี่ก่อน ผลตอบสนองของลำโพงจะตกลงมา   นั่นคือการเคลื่อนที่ของ
ไดอะแฟรมเริ่มไม่เป็นเชิงเส้นแล้ว  ตัวอย่างเช่น ลำโพงเสียงทุ้มจะมีผลตอบสนองความถี่ได้สูงกว่า 2 KHz ถึง 3 KHz  ลำโพงที่จะทำงานต่อจากลำโพงเสียง
ทุ้มจะต้องเริ่มทำงานที่ความถี่ซึ่งไดอะแฟรมของลำโพงเสียงทุ้ม  ยังเคลื่อนที่ไม่เกินขีดจำกัดที่ผู้ผลิตแนะนำไว้   ดังนั้นผลตอบสนองของลำโพงตัวหลังต้อง
คลุมถึงความถี่ช่วงที่ลำโพงเสียงทุ้ม  ยังทำงานได้ดีด้วยครอสโอเวอร์เนตเวอร์กมีหน้าที่โดยตรง   ในการควบคุมช่วงความถี่ที่ลำโพงแต่ละตัวจะทำงาน  และ
ต้องป้องกันลำโพงเสียงแหลม  จากสัญญาณความถี่ต่ำที่ขับจากเครื่องขยายเสียงด้วย   มิฉะนั้น   ไดอะแฟรมของลำโพงเสียงแหลมจะเคลื่อนที่เกินขีดจำกัด 
ทำนองเดียวกัน  ลำโพงเสียงทุ้มต้องปลอดจากสัญญาณความถี่สูงที่มีขนาดมาก ๆ ด้วย  พึงรู้ได้ด้วยว่า   ครอสโอเวอร์เนตเวอร์กไม่ได้ช่วยแก้ไขข้อบกพร่อง
ของเครื่องขยายเสียง   ตัวลำโพง  และ   ตู้ลำโพงให้ดีขึ้นสำหรับระบบตู้ลำโพงที่กล่าวมาตอนต้น   ควรออกแบบให้ครอสโอเวอร์เนตเวอร์กเริ่มที่ช่วงความถี่่
ระหว่าง  800 Hz  ถึง  1KHz  ถ้าเป็นระบบสามทาง  ก็ออกแบบให้จุดครอสโอเวอร์ที่ช่วง  400 Hz  ถึง  500 Hz ช่วงหนึ่ง  และ  อีกช่วงหนึ่งก็ที่ 5 KHz

 (http://www.cybergogy.com/somsit/423231EdTEquipOpr/speakers_files/image002.gif)

หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 24 พฤศจิกายน 2010, 07:41:08 PM
                                     ชนิดของตัวกรองความถี่ที่ใช้

             ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก  แบ่งตามผลการตอบสนองความถี่ได้เป็น  2  ชนิด  คือ ชนิดที่ผลตอบสนองลดลง 12 เดซิเบล ต่อ ออคเตฟ กับ ชนิดผลตอบสนองลดลง 18  เดซิเบล ต่อ ออกเตฟ ในรูปที่ 1 แสดงผลตอบสนองความถี่ของครอสโอเวอร์เนตเวอร์กชนิดต่าง ๆ  3 ชนิด  คือ    ชนิดลดลง 6 dB  12 dB  และ  18 dB ต่อ ออกเตฟ  ตัวกรองความถี่ชนิด 6 dB/Octave ไม่นิยมใช้เป็นครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก  เพราะการลดของผลตอบสนองความถี่ไม่ชันพออาจ
จะทำให้ลำโพงเสียงสูุงกับเสียงกลางถูกขับด้วยสัญญาณที่แรงเกินไป  เพราะผลตอบสนองไม่ลดลงมากเท่าที่ควร   สำหรับนักออกแบบสมัครเล่นควรเลือใช้ตัวกรองแบบ "K คงที่ ( Constant K ) "  ถ้านักออกแบบอาชีพที่เชี่ยวชาญจะใช้ตัวกรองแบบ "m ดีไรฟ์ ( m derived) "  ซึ่งเหมาะในการออกแบบกับลำโพงคุณภาพสูงที่จะควบคุมอิมพีแดนซ์  และลักษณะสมบัติการลดลงของผลตอบสนองได้อย่างละเอียด  ขอให้รู้ไว้คร่าวๆ  ว่า ตัวกรองความถี่แบบ K คงที่  มีผลตอบสนองลดลงมากที่
สุด 12 เดซิเบลต่อออกเตฟ

         (http://i648.photobucket.com/albums/uu209/lekpk/no1.jpg)

             ครอสโอเวอร์เนตเวอร์กแบ่งตามผลตอบสนองความถี่  แต่ตัวตัวกรองที่ใช้แบ่งตามการต่อวงจรเป็นตัวกรองแบบอนุกรม และ แบบ ขนานได้อีก  ตัวกรองแบบอนุกรมมีที่ใช้กับระบบ 2 ทางเท่านั้น ( คือ ในตู้เดียวกันมีลำโพง 2 ตัว )  นอกนั้นมักจะใช้ตัวกรองแบบขนาน  เพราะค่าต่าง ๆ ของอุปกรณ์ในตัวกรองแต่ละตัวเหมือนกัน   ไม่ต้องคำนวณหลายครั้งลักษณะสมบัติทางไฟฟ้าเกี่ยวกับการส่งสัญญาณ  และ การบั่นทอนก็เหนือนกว่าแบบอนุกรมเล็กน้อย  เพื่อให้เข้าใจชนิดต่าง ๆ ของตัวกรองดี  ดูรูปประกอบเปรียบเทียบครับ

(http://i648.photobucket.com/albums/uu209/lekpk/no2.jpg)      (http://i648.photobucket.com/albums/uu209/lekpk/no3.jpg)








หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network ) ลุยกันได้แล้วครับ
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 10:13:02 PM
 เมื่อทำความเข้าใจเบี้องต้นแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาที่ รอคอย มาทำพาสซีฟกันครับ เลือกเอา ระหว่าง K คงที่ ( แนะนำแบบขนานครับ ) กับแบบ ดีไรท์

  (http://i648.photobucket.com/albums/uu209/lekpk/no4.jpg)

 
  (http://i648.photobucket.com/albums/uu209/lekpk/no5.jpg)

  จริงๆแล้วยังมีเรื่องของการสูญเสียจากแอมป์ ถึง ลำโพงอีก แต่กลัวจะเซ็งกับหลักการที่มากเกินไป มาทำกันเลยดีกว่าครับ  ส่วนการคำนวณ  แกน และ ขดลวด เดี๋ยวผมเสริมให้อีกทีหลัง หรือ ถ้าเพื่อนท่านใดใจร้อนก็ถามที่กระทู้ได้เลยครับ เดี๋ยวจัดให้

  -  ที่มาของข้อมูล SEED และ สถาบันเครื่องเสียงรถยนต์แห่งประเทศไทย

  -  ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนี้ทั้งหมดครับ
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: numz ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 10:15:05 PM
 [great] [soldier]
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: squid™ ที่ 25 พฤศจิกายน 2010, 10:34:02 PM
้เยี่ยมเลยครับ


 [))] [))] [))]


สักวัน คงจะทำเป็นมั่งครับ


 [okok] [okok] [okok]
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: golf_y ที่ 26 พฤศจิกายน 2010, 10:11:05 AM
เยี่ยมเลยคร๊าบ สักวันจากทำเองอ่า :$$$:
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: post-girl ที่ 09 ธันวาคม 2010, 08:22:21 PM
 [))]  [))]  [))]  [))] ค่ะ
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: dekdoi1963 ที่ 09 ธันวาคม 2010, 08:31:50 PM
ขอบคุณมากๆครับ  ..แล้วผมจะทำได้ป่าวเนี่ย...ยิ่งไม่ค่อยฉลาดด้วย
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network ) ลุยกันได้แล้วครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เอก-tubeamp ที่ 09 ธันวาคม 2010, 09:04:13 PM
เมื่อทำความเข้าใจเบี้องต้นแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาที่ รอคอย มาทำพาสซีฟกันครับ เลือกเอา ระหว่าง K คงที่ ( แนะนำแบบขนานครับ ) กับแบบ ดีไรท์

  ([url]http://i648.photobucket.com/albums/uu209/lekpk/no4.jpg[/url])

 
  ([url]http://i648.photobucket.com/albums/uu209/lekpk/no5.jpg[/url])

  จริงๆแล้วยังมีเรื่องของการสูญเสียจากแอมป์ ถึง ลำโพงอีก แต่กลัวจะเซ็งกับหลักการที่มากเกินไป มาทำกันเลยดีกว่าครับ  ส่วนการคำนวณ  แกน และ ขดลวด เดี๋ยวผมเสริมให้อีกทีหลัง หรือ ถ้าเพื่อนท่านใดใจร้อนก็ถามที่กระทู้ได้เลยครับ เดี๋ยวจัดให้

  -  ที่มาของข้อมูล SEED และ สถาบันเครื่องเสียงรถยนต์แห่งประเทศไทย

  -  ขอขอบพระคุณ ทุกท่านที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนี้ทั้งหมดครับ
  [))]
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 09 ธันวาคม 2010, 09:11:24 PM
ขอบคุณมากๆครับ  ..แล้วผมจะทำได้ป่าวเนี่ย...ยิ่งไม่ค่อยฉลาดด้วย
 ต้องลองทำครับ แล้วเอาปัญหามาคุยกัน ถ้าไม่ทำ ก็ไม่เกิดประสพการณ์ เป็นการเพิ่มทักษะในการฟังอย่างนึงเลยครับ  :)
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: dekdoi1963 ที่ 09 ธันวาคม 2010, 09:27:23 PM
ใช่เลยครับ ต้องลองทำ 1 ตัวดูก่อน มีคำแนะนำมั้ยครับ
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 09 ธันวาคม 2010, 09:43:50 PM
ใช่เลยครับ ต้องลองทำ 1 ตัวดูก่อน มีคำแนะนำมั้ยครับ

  ไม่มีครับ ทำตามที่เขียนไว้เลย จะมีก็ต่อเมื่อ คุณทำแล้วมีปัญหา หรือ มีคำถามมาเพื่อให้แก้ครับ นิดนึงแล้ว หาข้อมูลการตอบสนองความถี่ของลำโพงมาเป็นตัวกำหนดจุดตัดครับ  :)
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: tfender ที่ 10 ธันวาคม 2010, 10:10:20 AM
แบบ  Basic  พี่เล็กแนะนำให้ต่อแบบรูปที่ 3  ขนาน 6db/Octave  ใช่ไหมครับพี่
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 10 ธันวาคม 2010, 10:17:50 AM
 ตอนเทสหาจุดตัดใช้ 6 db ได้ครับ พอได้จุดตัดแล้ว ค่อยทำ 12 dB แต่ส่วนใหญ่ผมจะทำ 18 dB ที่ทวีตเตอร์และ 12dB ที่วูฟเฟอร์ เพราะมีผลกับ ความไว และ phase ครับ
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: tfender ที่ 10 ธันวาคม 2010, 10:25:35 AM
12DB  ขนาน  ใช่อันนี้ไหมครับ [res]

(http://upic.me/i/il/412db.jpg) (http://upic.me/show/18966789)
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: tfender ที่ 10 ธันวาคม 2010, 11:24:12 AM
พี่เล็กครับ  ในกรณีหากเราไม่ทราบค่าสเปคของดอกลำโพง  เกณฑ์ในการเลือกค่าที่วงไว้จะต้องดูอย่างไรครับ  เช่น  ดอก Woofer 5  นิ้ว 8 Ohm  , แหลม  1  นิ้ว 6Ohm  ครับ

                                     (http://upic.me/i/db/n0555.jpg) (http://upic.me/show/18968375)
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: uthen ที่ 16 ตุลาคม 2013, 10:34:17 AM
กำลังอยากตัดความถี่ที่ 10K  Hz ระหว่าง Ribbon กับ Full range

แต่อยากรู้ว่า มันมี 1-4 Order แบบไหนดีครับ
1 order มันก็ง่ายดี แต่มีข้อเสียอย่างไร

หรือฝากช่วยออกแบบให้หน่อยครับ

ribbon ตอบสนองความถี่ที่ 2k-100k Hz
Full range 30-20K  Hz

พอดีอยากทำตู้เอง เอา Ribbon มาเสริมช่วงบนๆ ครับ


รูปนี้ลองใช้โปรแกรมช่วยคำนวณที่มีตามเวปลองเล่นๆ ดู  3 order ไม่รู้จะใช้งานได้รึเปล่า และต้องปรับปรุงอะไรบ้างครับ


(http://upic.me/i/6o/3th_crossover.jpg) (http://upic.me/show/47614886)
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: uthen ที่ 16 ตุลาคม 2013, 10:52:07 AM
แต่พอ 2 order  มาเพรียบเลย อะไรดี


 (http://upic.me/i/bt/2nd_crossover.jpg) (http://upic.me/show/47615027)

หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: falakamo ที่ 16 ตุลาคม 2013, 11:34:07 AM
 [thumbs-up-raccoon]ห้ามลบรูปและกระทู้เด็จขาด [autometic weapon]
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 16 ตุลาคม 2013, 11:36:50 AM
 คงต้องดู บุคคลิกเสียง และ ช่วงการตอบสนองความถี่ของลำโพงแต่ละตัวครับ  อย่าง fullrange ช่วงการตอบสนองความถี่ที่ลงไว้ 30 -20 KHz ในความเป็นจริงผมคิดว่าทำไม่ได้แน่นอนครับ  หากนำ ribbon มาเสริมปลายเสียงย่านสูง แนะนำให้ทดลองที่ first order เป็นดูลักษณะเสียง ความกลมกลืนของรอยต่อ เมื่อได้จุดที่ต้องการแล้ว ค่อยมาดูเรื่องความชัน ว่าจะทำจริงที่ order ไหนชันมาก แอมเบี้ยนก็หาย น้อยไปก็ฟุ้ง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่างครับ อยากให้ทดลองเอง  เพราะส่วนตัวผมถ้าทำก็จะทดสอบด้วยการฟังเสียงของลำโพงแต่ละดอกก่อนแล้วค่อยนำมาผสมกัน ลองดูครับ ติดตรงไหน มีปัญหาอย่างไรค่อยเอามาคุยกัน  ส่วนที่ถามว่าทำ first order แล้วจะมีข้อเสียมั้ย ไม่มีครับ สัญญาณจะไม่กลับเฟสด้วย และ จะดียิ่งขึ้นถ้าพอใจกับเสียงที่ order 1 ก็จะประหยัดตังค์ไปได้เยอะ
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: uthen ที่ 16 ตุลาคม 2013, 12:47:19 PM
คงต้องดู บุคคลิกเสียง และ ช่วงการตอบสนองความถี่ของลำโพงแต่ละตัวครับ  อย่าง fullrange ช่วงการตอบสนองความถี่ที่ลงไว้ 30 -20 KHz ในความเป็นจริงผมคิดว่าทำไม่ได้แน่นอนครับ  หากนำ ribbon มาเสริมปลายเสียงย่านสูง แนะนำให้ทดลองที่ first order เป็นดูลักษณะเสียง ความกลมกลืนของรอยต่อ เมื่อได้จุดที่ต้องการแล้ว ค่อยมาดูเรื่องความชัน ว่าจะทำจริงที่ order ไหนชันมาก แอมเบี้ยนก็หาย น้อยไปก็ฟุ้ง ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายอย่างครับ อยากให้ทดลองเอง  เพราะส่วนตัวผมถ้าทำก็จะทดสอบด้วยการฟังเสียงของลำโพงแต่ละดอกก่อนแล้วค่อยนำมาผสมกัน ลองดูครับ ติดตรงไหน มีปัญหาอย่างไรค่อยเอามาคุยกัน  ส่วนที่ถามว่าทำ first order แล้วจะมีข้อเสียมั้ย ไม่มีครับ สัญญาณจะไม่กลับเฟสด้วย และ จะดียิ่งขึ้นถ้าพอใจกับเสียงที่ order 1 ก็จะประหยัดตังค์ไปได้เยอะ


ขอบคุณมากครับ จะลองที่ 1 order ก่อน  เผื่อเสียงดี ใช้อุปกรณ์น้อยๆ จะได้ไปลงทุนกับของดีๆ ได้

พอดีไปดู Crossover ของ B&W 805S แล้วเขาก็ใช้น้อยชิ้นครับ

เลยเอามาฝาด้วย

 (http://upic.me/i/uw/805s-1.jpg) (http://upic.me/show/47616953) (http://upic.me/i/hz/805s-2.jpg) (http://upic.me/show/47616954)
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 16 ตุลาคม 2013, 05:56:17 PM
 ครับ ลำโพงดีๆหลายๆค่ายโดยเฉพาะรุ่นใหญ่ๆมักจะใช้แค่ first order โดยเฉพาะลำโพงค่ายนี้ ผมเองเคยเปิดดูลำโพงที่ใช้อยู่ N802 ก็เป็น first order แต่พอเป็นรุ่นเล็กลงไปพวก Series 700 กับใช้ 12 และ 18 dB ครับ หรือ ลำโพงรุ่นใหม่ๆของเค้า ไม่ว่าจะ PM1 หรือ Sinature diamond ก็ล้วนแต่ใช้ first order ทั้งสิ้นครับ
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: Naimsam ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2014, 08:28:35 AM
ขอบคุณพี่เล็กครับ  มีคำถามครับ

(http://image.ohozaa.com/i/gdf/BFf3VI.jpg) (http://image.ohozaa.com/view2/xpoq5PP64IC0PJOL)

เขียนเส้นใต้หมายถึง อะไรครับ
หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: darkman ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2014, 08:46:35 AM
ช่วยตอบแทนพี่เล็กว่ามันเป็นชนิดของ Filter ในการ Design วงจรกรองความถึ่ครับ
อยากรู้แบบละเอียด มีงานวิจัยให้อ่านด้วย http://www.linea-research.co.uk/documents/CrossoverFilters%20White%20Paper%20-%20B.pdf (http://www.linea-research.co.uk/documents/CrossoverFilters%20White%20Paper%20-%20B.pdf)

เค้าสรุปว่าอย่างนี้
Summary
So, which crossover alignment is best? As you
might have expected, there is no one alignment
which is better than all others in all respects. They
each have their merits and drawbacks, and the final
selection will depend on which of these factors is of
most significance to the application.
However, it is useful to compare each of the main
features for each alignment so that it is possible to
place each alignment in order of superiority.
We will make these comparisons for the 4th order
case of each alignment, showing the traces for
each alignment on a single graph for each feature,
assuming a crossover frequency of 1kHz. In each
case, the curve for alignment (or alignments) which
is considered to be the best is shown in bold.

หัวข้อ: Re: ครอสโอเวอร์เนตเวอร์ก ( Crossover network )
เริ่มหัวข้อโดย: CreÃte_Lek ♫ ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2014, 10:13:37 AM
 ชื่อที่เห็นเป็นชื่อที่ใช้เรียกรูปแบบ หรือ ชนิดของพาสซีพนั้นๆ และชื่อนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นชื่อของผู้ที่คิดค้น ทฤษฏีนั้นครับ


 ยังมีอีกหลากหลายรูปแบบนอกจาก 3 ชื่อที่กล่าวมาข้างต้น แต่ผมไม่อยากให้ไปยึดติดกับรูปแบบแต่ให้ใช้เป็นแนวทาง และ ปรับไปสู่สิ่งที่เราต้องการ เพราะค่าต่างๆนั้นไม่สามารถที่จะจัดการได้กับ ทุกสภาพอคูสติค เราต้องปรับเปลี่ยนเองตามความเหมาะสม สุดท้ายก็คงต้องพึ่งหูของเราเอง ว่าชอบหรือไม่

 Network synthesis filters

    Butterworth filter
    Chebyshev filter
    Elliptic (Cauer) filter
    Bessel filter
    Gaussian filter
    Optimum "L" (Legendre) filter
    Linkwitz-Riley filter