www.diyaudiovillage.net
DIY มือใหม่ , TIPS & TRICKS , R&D SECTION => DIY มือใหม่ => ข้อความที่เริ่มโดย: kitcha23 ที่ 26 มกราคม 2013, 06:23:12 PM
-
วิธีปรับ bias ทำอย่างไงคับ
ออกตัวก่อนเลยคับ ผมไม่มีพื้นฐานด้านไฟ หรือการอ่านวงจรเลยคับ
ผมอยากทราบว่ามีวิธีปรับกันอย่างไง คับ ช่วยสอนด้วยนะคับผมยังไม่ได้ทำ แอม-กับปรี คับ แต่อยากทราบไว้เป้นความรู้ ถึงวันนึงที่เราต้องทำขึ้นมาอย่างน้อยก็ยังได้เรียนรู้มาก่อนว่า
เขาทำกันจุดใหน และหมุนตรงใหน
มีตัวอย่างด้วยก็ดีคับผม...... [c--c]
สอนผมด้วยนะคับ..........เด็กน้อยอยากมีความรู้คับ.......... [res]
ขอบคุณคับ
-
ขอแนะนำกระทู้นี้ ของ อ.Karin Preeda ลงไว้ใน thaidiyaudio.net คับ ผมก็ได้พื้นฐานมากมาย มาจากกระทู้นี้คับ [res]
http://www.thaidiyaudio.net/index.php/topic,1436.0.html (http://www.thaidiyaudio.net/index.php/topic,1436.0.html)
-
น้องเค้ายังเล่น โซลิตอยู่น่ะ น้องจูปิเตอร์ ต้องไปดูในแต่ละกระทู้ที่อยากทำ ถ้าเป็นงานโซลิตจะอยู่ที่หน้าแรกๆน่ะครับ มันเป็นเฉพาะงานไป แต่หลักการต่างๆจะเหมือนกัน ลองไปอ่านดูก่อน แล้วไม่เข้าใจตรงไหนค่อยมาถามครับจะได้ตรงประเด็นกว่าครับ [yes-raccoon]
-
3-2-1-raccoon แง่วว solid นี่ ผมก็ แบ๊ะ แบ๊ะ เลยเหมือนกันคับ ความรู้เป็น 0 เลยคับ [pig90136]
-
คำตอบที่ดีที่สุดตอนนี้คือ แล้วแต่ผู้ออกแบบเค้าแนะนำไว้ครับ
บางวงจรออกแบบไว้ให้สะดวก ประกอบเสร็จไม่ต้องปรับอะไรเลยก็มี แบบนี้ผู้ออกแบบทำเพื่อรับประกัน"มาตรฐานขั้นต่ำ" ว่าต้องทำงานได้ดี และไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายได้ ส่วนมากเป็นวงจรที่ทำเพื่อผู้เริ่มต้น หรือเป็นวงจรในผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่ไม่จำเป็นต้องจัดหาช่างฝีมือมาปรับแต่งแต่อย่างใด
แต่เครื่องเสียงที่เข้าขั้น ส่วนมากแล้วจะมีจุดปรับแต่งอยู่ เพื่อชดเชยความไม่เป็นอุดมคติตามสเปคกระดาษทั้งหลายแหล่ ให้ทำงานได้ใน"จุดที่เหมาะสมที่สุด" คือให้ระบบทำงานได้ดี ทำงานได้ในสภาวะหลากหลาย กว้างๆ ยอมให้มี error หรือยืดหยุ่นในการใช้งานได้ โดยไม่เสี่ยงนัก ในอุตสาหกรรมจะฝึกขั้นตอนให้กับช่างสำหรับปรับแต่งไว้เป็นสูตรสำเร็จ 1-2-3 ตามขั้นตอน ซึ่งรับประกันว่าเปิดแล้วใช้งานได้ดี และมั่นใจได้เพียงพอที่จะออกขายได้
ส่วนนอกเหนือจากนี้จะเริ่ม Extreme คือกลุ่มโม.. (บางส่วนของนัก diy ด้วย) ที่ต้องการเค้นสิ่งที่สูงสุดที่วงจรและอุปกรณ์ต่างๆทำได้ ตั้งแต่เริ่มปรับแต่งนิดๆหน่อยๆ หรืออาจเข้าขั้น "รีดเลือดจากปู" ซึ่งอันนี้ต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานวงจรให้ดีก่อน ว่าทำอะไรได้แค่ไหน อยากจะ"เสี่ยงมาก"หรือ"เสี่ยงน้อย" แล้วค่อยทำการปรับแต่ง พื้นฐานคือดูว่าจุดการทำงานของอุปกรณ์ตัวไหนยังใช้งานได้ไม่เต็มความสามารถ และสามารถรับเพิ่มได้ ก็จะเพิ่มงานให้ทีละน้อย ดูตามความสามารถว่ารับไหวหรือไม่ ถ้าไม่ไหว ต้องถอย
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้มาจากอุตสาหกรรมทุกตัว ใช้วิธีการคัดเลือกตามมาตรฐานขั้นต่ำ อย่างทรานซิสเตอร์เบอร์นึง ระบุตามสเปคว่ารับกระแสได้ 300mA นั่นคือมาตรฐานขั้นต่ำที่ผู้ผลิตรับรองว่า"ทนไหว" และมี % เผื่ออีกพอสมควร แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์สมัยก่อน พวกเกรดทางการแพทย์หรือทางทหาร บางรายการทนได้กว่า 200% เลยทีเดียว แต่อุปกรณ์สมัยนี้แค่ 90% ของพิกัด ก็เริ่มออกอาการแล้ว
พึงสังวรณ์ว่า การเพิ่มงานมากเท่าไหร่ ก็หมายถึงการลดความปลอดภัย Safety margin ลง
ถ้าเสี่ยงมาก ต้องมีเครื่องมือ หรือทักษะช่วยป้องกันการเผาเงินโดยใช่เหตุระหว่างการรีดเลือดจากปูด้วย ซึ่งต้องรู้จักขีดจำกัดของอุปกรณ์ที่กำลังทำอยู่
ถ้าไม่เข้าใจ ไม่แนะนำให้ทำ เพราะจะเหมือนการเสี่ยงโชคในวงไฮโล คือมีโอกาสเสียมากกว่าได้ และ diy จะกลายเป็น do it yourself ในอีกความหมายที่ไม่โสภานัก