www.diyaudiovillage.net
Source & Line amp & Amplifier Project ผลงาน DIY => Solid State => ข้อความที่เริ่มโดย: YukAudible ที่ 01 มีนาคม 2013, 03:47:39 PM
-
เมื่อพูดถึงผลงาน Power Amp Class-A ยุคเริ่มต้นของ nelson pass หากเป็นขาประจำของท่าน np คงไม่มีใครไม่รู้จัก A-40 Class-A Power Amplifier ซึ่งออกแบบโดยใช้ Transistor ตั่งแต่ I/P ถึง O/P และ Output stage ออกแบบเป็น Constant current load ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าแบบวงจรยุคเก่าแก่ที่ใช้ตัวต้านทานเป็น R-LOAD สำหรับเจ้าตัวที่มาอวดใหี่น้องๆพี่ๆชาว solid state ใด้ทัศนานี้เป็นเครื่องที่ผมใด้ทดลองประกอบขึ้นเมื่อประมาณปี 2002 part บางตัวก็ไม่ใด้ใช้แบบต้นแบบใช้วิธี cross reference เอา แผ่นวงจร gain board ใช้ตัวเดียวกับที่เคยตีพิมพ์ใน paper ท่าน np ส่วน output stage ใช้วิธี hard-wire ทั้งหมด หลังจากที่เก็บในในกรุนานหลายปีใด้เวลาเอามาปัดฝุ่นใช้งานกันอีกครั้ง ไม่นาเชื่อว่ายังสามารถใช้งานใด้ดีจากที่ตอนเปิดเครื่องมีอาการเสียวนิดหน่อยว่าจะรอดหรือไม่ร้อน
ความรู้สึกกับวันเก่าๆก็กลับมาอีกครั้งกับความร้อนของ heater ที่สามารถนำไปปิงไข่กินกันใด้เลย แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปเลยคือคุณภาพของเสียงที่ผ่านการทำงานของ CLASS-A ให้ความเป็น musical มี Total balance ที่ดีตั่งแต่ระดับต่ำถึงสูง
ลองทัศนากันตามสบายเลยครับ
(http://img843.imageshack.us/img843/6856/cam00155.jpg)
วงจร gain board ครับ PWB จากใน paper
(http://img69.imageshack.us/img69/9940/cam00156.jpg)
output stage แบบ hard-wire
(http://img708.imageshack.us/img708/241/cam00157.jpg)
แหล่งกำลังงานแบบ dual mono ลูกเขื่องๆเพื่อให้สมกับฐาณะCLASS-Aหน่อย
(http://img201.imageshack.us/img201/7692/cam00158.jpg)
ฝุ่นยังจับอยู่เลย [pig90124]
(http://img801.imageshack.us/img801/9166/cam00159.jpg)
เต็มๆอีกรูปกับการทำงานแบบ Dual Mono
(http://img268.imageshack.us/img268/6533/cam00160.jpg)
ดูหม้อ(แปลง)แบบชัดๆอีกที
เป็น power amp อีกตัวของท่าน np ที่น่าทดลองครับ
-
วงจรของ PASS A40 ท่านใดสนใจสามารถหา download ใด้เลยครับใน paper มีข้อมูลและรายละเอียดครบถ้วนชัดเจนครับ
(http://img208.imageshack.us/img208/9385/30981174.png)
-
[shock1] เห็นขนาดหม้อแล้วแทบช็อคเลยครับน้า
-
ต้องใช้หม้อใหญ่ๆครับถึงจะมันถึงใจ
-
[roll-eyes] เล่นของร้อนด้วยแฮะ
-
เหมือนซุปชั้นยอดปิัรุงรสโดยเชพขั้นเทพจากภัตตาคารชื้อดังเวลาเสริพต้องกินตอนร้อนๆถึงจะใด้รสอร่อยครับ
quote author=electron link=topic=13680.msg178893#msg178893 date=1362138007]
[roll-eyes] เล่นของร้อนด้วยแฮะ
[/quote]
-
รูปแบบและเทคนิคการจัดวงจรในแบบ Class-A ในแบบต่างๆ
เครื่องขยายเสียงที่ทำงานในโหมดนี้วงจรจะไม่ซับซ้อนยุ่งยากมากนักแต่ให้ประสิทธิภาพต่อกำลังงานสูญเสียที่ค่อนข้างต่ำมากซึ่งเป็นผลมาจากที่ต้องให้กระแสไหลที่ Transistor Output อยู่ตลอดเวลาดังนั้นในการออกแบบจึงต้องใช้แหล่งจ่ายที่มีขนาดใหญ่และต้องมีชุดระบายความร้อนที่ใหญ่ขึ้นด้วยเนื่องมาจากที่ต้องให้กระแสไหลที่ Transistor Output อยู่ตลอดเวลานั้นเอง แต่ถึงจะมีข้อเสียเหล่านี้และต้องใช้งบประมาณที่สูงในการทำแต่ก็ยังมีนักเล่นที่นิยมและหลงไหลเครื่องขยายเสียงที่ทำงานในโหมดนี้อยู่เพราะสามารถออกแบบให้เป็นแบบ Single Output Stage ใด้เหมือนกับวงจรเครื่องขยายเสียงที่ใช้หลอดสูญญากาศในการขยาย ให้ความลื่นไหลในการฟังเพราะไม่เกิด Cross Over distortion ให้ความเป็น Musical ที่สูง
1.Output stage แบบ Single-ended โดยใช้ Resistive Load
ดังแสดงในรูปตำแหน่ง RE จะถูกใช้เพื่อจัดการ BIAS และเป็น Emitter load สำหรับ Transistor Output เมื่อใด้รับ BIAS จนเข้าใกล้จุดอิ่มตัวกระแสจะวิ่งผ่านจาก +V ของแหล่งจ่ายไปยัง Load และเมื่อเข้าใกล้จุดหยุดนำกระแส กระแสจะผ่าน-V ของแหล่งจ่ายไปยัง Load
เมื่อวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพต่อกำลังงานสูญเสียพบว่ากำลังงานสูญเสียจะเกิดขึ้นกับ Transistor Output 50% เป็นเพราะการ BIAS ให้มีกระแสสงบอยู่ตลอดเวลาและ Output Voltage สามารถขยายใด้ประมาณ ? ของ VCC และจะเกิดกลังงานสญเสียที่ RE อีกประมาณ 25% จะเห็นใด้ว่าประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ
(http://img22.imageshack.us/img22/48/carload.jpg)
2.Output stage แบบ Single-ended โดยใช้ active load
การทำงานด้วยเทคนิคนี้เป็นการนำ Current source ในตำแหน่ง CCS แทนที่ Resistive load และมาทำงานร่วมกับชุด Output stage ที่เป็น Single ended เมื่อ Transistor Output ใด้รับ BIAS จนเข้าใกล้จุดอิ่มตัวกระแสจะวิ่งผ่านจาก +V ของแหล่งจ่ายไปยัง Load และเมื่อเข้าใกล้จุดหยุดนำกระแส กระแสจะผ่าน Current source ไปยัง Load ด้วยเทคนิคนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพใด้เพราะไม่ต้องเสียกำลังงานที่ Resistive load ในแบบวงจร 3(a) และยังจะสามารถเพิ่ม Power supply rejection ratio ใด้อีกด้วยเพราะมีชุด Current source มากั้นระหว่างแหล่งจ่ายกับ load นั้นเองเป็นผลให้สัญญาณรบกวนที่แฝงมากับแหล่งจ่ายถูกลดทอนลงไป
(http://img545.imageshack.us/img545/130/caccsload.jpg)
3.) Output stage แบบ Push pull class A
Output stage จะใด้รับแรงดัน BIAS ที่ VBE โดยแรงดัน Vbias และยังแป็นตัวควบคุมกระแสสงบที่ Output stage ด้วย และเทคนิค Push pull class A นี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพใด้ถึง 50% และค่อนข้างเป็นที่นิยมเพราะสูญสียกำลังงานน้อยและวงจรไม่ซับซ้อนมากนัก
หากเพิ่มแรงดันที่ Vbias มากขึ้น Output stage จะนำกระแสมากขึ้นและหากลดแรงดันที่ Vbias น้อยลง Output stage จะนำกระแสลดลง ด้วยเทคนิคจะมำให้ใด้ Output voltage เพิ่มขึ้น
(http://img404.imageshack.us/img404/8343/cappk.jpg)