www.diyaudiovillage.net

Source & Line amp & Amplifier Project ผลงาน DIY => Solid State => ข้อความที่เริ่มโดย: P1649 ที่ 24 สิงหาคม 2011, 12:23:57 PM

หัวข้อ: แมตอิมพีเดนต์ ปรีหลอดและSS ได้อย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: P1649 ที่ 24 สิงหาคม 2011, 12:23:57 PM
มีบทความหลายท่านเขียนถึง output impedance ของ ปรีหลอด ไม่แมตกับ input impedance ของ SS เช่น LM3886 แต่ไม่ได้แนะนำว่า มีวิธีการตรวจสอบและแก้ไขวงจรอย่างไร จึงขอคำแนะนำด้วยครับ
ปล. ผมคำนวณงานในด้านนี้ไมเป็น ทำได้แค่ดมควันตะกั่ว
หัวข้อ: Re: แมตอิมพีเดนต์ ปรีหลอดและSS ได้อย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 24 สิงหาคม 2011, 07:45:17 PM
วงจรปรีหลอดที่จัดวงจรแบบ Plate load ส่วนใหญ่มักจะมีค่าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ที่สูง ส่วนวงจรแอมป์ทรานซิสเตอร์มักจะออกแบบให้มีค่าอินพุตอิมพีแดนซ์ต่ำ หากเอา 2 วงจรนี้มาต่อเข้าด้วยกัน วงจรแอมป์จะโหลดสัญญาณของปรีจนสัญญาณขาออกตก (เร่งเสียงไม่ขึ้น รายละเอียดเสียงจม) วิธีการแก้ที่ง่ายที่สุดคือใส่ Buffer ที่เอาต์พุตของปรีหลอด อาจใช้วงจร Cathode follower ธรรมดาก็ได้ ซึ่งวงจรนี้จะให้เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ที่ต่ำพอที่จะขับแอมป์ทรานซิสเตอร์ได้อย่างไม่มีปัญหา (แต่ทั้งนี้ต้องเลือกเบอร์หลอดให้ดีด้วยนะครับ เพราะหลอดบางเบอร์มี Plate resistance สูงมากไม่เหมาะที่จะเอามาทำหน้าที่ Buffer)

หลักการง่ายที่สุดในการเลือกแมทชิ่งในงานเครื่องเสียงคือ อินพุตอิมพีแดนซ์ของโหลดควรสูงกว่าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ของซอร์สสัก 10 เท่าขึ้นไปก็ใช้ได้แล้วครับ ส่วนงานที่มีสัญญาณระดับต่ำมากๆ และถูกรบกวนง่ายก็ต้องใช้การ Matching impedance ที่เท่ากันมาช่วยเพื่อการถ่ายทอดสัญญาณได้ดีที่สุด (Power maximum transfer) เช่น งานสายอากาศเครื่องรับวิทยุ-โทรทัศน์
หัวข้อ: Re: แมตอิมพีเดนต์ ปรีหลอดและSS ได้อย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: n.cm ที่ 24 สิงหาคม 2011, 08:38:52 PM
วงจรปรีหลอดที่จัดวงจรแบบ Plate load ส่วนใหญ่มักจะมีค่าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ที่สูง ส่วนวงจรแอมป์ทรานซิสเตอร์มักจะออกแบบให้มีค่าอินพุตอิมพีแดนซ์ต่ำ หากเอา 2 วงจรนี้มาต่อเข้าด้วยกัน วงจรแอมป์จะโหลดสัญญาณของปรีจนสัญญาณขาออกตก (เร่งเสียงไม่ขึ้น รายละเอียดเสียงจม) วิธีการแก้ที่ง่ายที่สุดคือใส่ Buffer ที่เอาต์พุตของปรีหลอด อาจใช้วงจร Cathode follower ธรรมดาก็ได้ ซึ่งวงจรนี้จะให้เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ที่ต่ำพอที่จะขับแอมป์ทรานซิสเตอร์ได้อย่างไม่มีปัญหา (แต่ทั้งนี้ต้องเลือกเบอร์หลอดให้ดีด้วยนะครับ เพราะหลอดบางเบอร์มี Plate resistance สูงมากไม่เหมาะที่จะเอามาทำหน้าที่ Buffer)

หลักการง่ายที่สุดในการเลือกแมทชิ่งในงานเครื่องเสียงคือ อินพุตอิมพีแดนซ์ของโหลดควรสูงกว่าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ของซอร์สสัก 10 เท่าขึ้นไปก็ใช้ได้แล้วครับ ส่วนงานที่มีสัญญาณระดับต่ำมากๆ และถูกรบกวนง่ายก็ต้องใช้การ Matching impedance ที่เท่ากันมาช่วยเพื่อการถ่ายทอดสัญญาณได้ดีที่สุด (Power maximum transfer) เช่น งานสายอากาศเครื่องรับวิทยุ-โทรทัศน์
อาจารย์มาแล้วๆๆ [we're number 1] ตามมาเก็บข้อมูลๆๆ @~~@
หัวข้อ: Re: แมตอิมพีเดนต์ ปรีหลอดและSS ได้อย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: P1649 ที่ 24 สิงหาคม 2011, 08:46:48 PM
ขอบพระคุณมากครับกับข้อมูล ที่มีให้มือใหม่ได้ศึกษา และขอถามต่อครับว่า
Conrad Johnson วงจรนี้มีค่า output impedance เป็นเท่าไรเหมาะกับการต่อกับ LM3886 หรือจะต้องปรับปรุงอะไรบ้างครับ
หัวข้อ: Re: แมตอิมพีเดนต์ ปรีหลอดและSS ได้อย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: tnosomch ที่ 24 สิงหาคม 2011, 08:58:50 PM
วงจรปรีหลอดที่จัดวงจรแบบ Plate load ส่วนใหญ่มักจะมีค่าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ที่สูง ส่วนวงจรแอมป์ทรานซิสเตอร์มักจะออกแบบให้มีค่าอินพุตอิมพีแดนซ์ต่ำ หากเอา 2 วงจรนี้มาต่อเข้าด้วยกัน วงจรแอมป์จะโหลดสัญญาณของปรีจนสัญญาณขาออกตก (เร่งเสียงไม่ขึ้น รายละเอียดเสียงจม) วิธีการแก้ที่ง่ายที่สุดคือใส่ Buffer ที่เอาต์พุตของปรีหลอด อาจใช้วงจร Cathode follower ธรรมดาก็ได้ ซึ่งวงจรนี้จะให้เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ที่ต่ำพอที่จะขับแอมป์ทรานซิสเตอร์ได้อย่างไม่มีปัญหา (แต่ทั้งนี้ต้องเลือกเบอร์หลอดให้ดีด้วยนะครับ เพราะหลอดบางเบอร์มี Plate resistance สูงมากไม่เหมาะที่จะเอามาทำหน้าที่ Buffer)

หลักการง่ายที่สุดในการเลือกแมทชิ่งในงานเครื่องเสียงคือ อินพุตอิมพีแดนซ์ของโหลดควรสูงกว่าเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ของซอร์สสัก 10 เท่าขึ้นไปก็ใช้ได้แล้วครับ ส่วนงานที่มีสัญญาณระดับต่ำมากๆ และถูกรบกวนง่ายก็ต้องใช้การ Matching impedance ที่เท่ากันมาช่วยเพื่อการถ่ายทอดสัญญาณได้ดีที่สุด (Power maximum transfer) เช่น งานสายอากาศเครื่องรับวิทยุ-โทรทัศน์

แล้วปรีที่น้า sansirn แจกผมมาเอามาต่อกับแอมป์หลอด แล้วอินพุตอิมพีแดนซ์กับเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ มันแม็ตกันไหมครับ  [unde_cided]
หัวข้อ: Re: แมตอิมพีเดนต์ ปรีหลอดและSS ได้อย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: kla2000 ที่ 24 สิงหาคม 2011, 09:22:10 PM
แล้วหลอด 12au7 12ax7 พอที่จะทำ Buffer ได้หรือไม่ครับ
หัวข้อ: Re: แมตอิมพีเดนต์ ปรีหลอดและSS ได้อย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: tfender ที่ 24 สิงหาคม 2011, 11:22:58 PM
แล้วหลอด 12au7 12ax7 พอที่จะทำ Buffer ได้หรือไม่ครับ

12au7  [))]
หัวข้อ: Re: แมตอิมพีเดนต์ ปรีหลอดและSS ได้อย่างไร
เริ่มหัวข้อโดย: sansirn ที่ 25 สิงหาคม 2011, 09:27:50 AM
ขอบพระคุณมากครับกับข้อมูล ที่มีให้มือใหม่ได้ศึกษา และขอถามต่อครับว่า
Conrad Johnson วงจรนี้มีค่า output impedance เป็นเท่าไรเหมาะกับการต่อกับ LM3886 หรือจะต้องปรับปรุงอะไรบ้างครับ

ผมไม่ค่อยถนัดเรื่องหลอดสักเท่าไร หากต้องการรู้วิธีคำนวณจริงๆ ลองเข้าไปถามที่ห้องหลอดดูครับ ....
จากการประเมิณด้วยสายตาวงจรนี้มี Open loop gain ค่อนข้างสูงเนื่องจากใช้วงจรขยาย 2 ชั้น จากนั้นจึงใช้วงจร NFB ลดเกนลงมา ทำให้เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำลงมาก คิดว่าสามารถขับ LM3886 ได้อย่างไม่ปัญหาครับ

แล้วปรีที่น้า sansirn แจกผมมาเอามาต่อกับแอมป์หลอด แล้วอินพุตอิมพีแดนซ์กับเอาต์พุตอิมพีแดนซ์ มันแม็ตกันไหมครับ  [unde_cided]
วงจรนี้เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำประมาณ 1k สามารถต่อกับแอมป์หลอดได้สบายมากครับ เนื่องจากวงจรหลอดโดยทั่วไปมีอินพุตอิมพีแดนซ์ 100k ขึ้นไป ...แทบไม่เป็นภาระให้ปรีเลยครับ

แล้วหลอด 12au7 12ax7 พอที่จะทำ Buffer ได้หรือไม่ครับ
12AU7 ได้เลยครับ ..... แต่ 12AX7 คงไม่เหมาะเนื่องจาก Plate resistance สูง หากจะเอามาใช้ต้องทำวงจรหลายสเตทแล้วใช้ NFB ช่วยทำให้เอาต์พุตอิมพีแดนซ์ต่ำลงครับ