www.diyaudiovillage.net

INTRODUCTIONS เสวนาภาษาพี่น้อง => เสวนาภาษาพี่น้อง => ข้อความที่เริ่มโดย: post-girl ที่ 12 มีนาคม 2011, 11:43:32 AM

หัวข้อ: วัดไอคิวไปแล้ว มาวัดเอคิว AQ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: post-girl ที่ 12 มีนาคม 2011, 11:43:32 AM
สำหรับแบบทดสอบยังไม่สมบูรณ์นักเท่าไหร่
ขอขอบคุณจากข้อมูล
จาก http://www.nongdome.com/article_detail.php?e_id=3
ส่วนวิธีการวัดว่าใคร มีเอคิวมากน้อยเพียงใด นพ.ประทักษ์ระบุว่า ขณะนี้มีแบบทดสอบออกมาแล้ว แต่เท่าที่นำมาศึกษาดูพบว่ายังไม่เหมาะกับคนไทยเท่าใดนัก อย่างไรก็ตามในระยะเวลาอันใกล้นี้ คาดว่าจะมีตำราเกี่ยวกับเอคิวออกมามากมายเหมือนไอคิวIQและอีคิวEQ

เอาอันนี้ไป กล้อมๆ แกล้มๆ  แก้เซ็ง วันหยุดไปก่อนจ๊ะ   Vo

http://www.wondermay.com/maychan/blog/viewt.asp?id=211



หัวข้อ: Re: วัดไอคิวไปแล้ว มาวัดเอคิว AQ กันบ้าง
เริ่มหัวข้อโดย: post-girl ที่ 12 มีนาคม 2011, 11:44:46 AM
เอคิว( AQ. )คืออะไร ?

มีคำกล่าวว่าอย่าเพิ่งวัดความสูงของภูเขาจนกว่าคุณจะได้ไปถึงยอดเขาและเมื่อนั้นคุณถึงจะรู้ว่าคุณยังอยู่ในระดับต่ำอยู่อีกมากเพียงใด
Dag Hammarskjold
A.Q. หรือ adversity quotient เป็นศักยภาพที่บุคคลสามารถเผชิญกับปัญหา และพยายามหาหนทางแก้ไขอย่างไม่หยุดหย่อนด้วยพลังจิตใจที่จะพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง
สตอลต์(Paul G.Stoltz, Ph.D.)เป็นผู้เสนอแนวความคิดและแนวทางพัฒนาสามารถเผชิญกับปัญหา และพยายามหาหนทางแก้ไขอย่างไม่หยุดศักยภาพด้านเอคิว( A.Q.)ขึ้น เขาได้แบ่งลักษณะของบุคคลเมื่อเผชิญปัญหาโดยเทียบเคียงกับนักไต่เขาไว้ ๓ แบบคือ
๑.ผู้ยอมหยุดเดินทางเมื่อเผชิญปัญหา ( Quitters ) มีลักษณะ
? ปฏิเสธความท้าทายอย่างสิ้นเชิง
? ไม่คำนึงถึงศักยภาพที่ตนมีอยู่ที่จะจัดการกับปัญหาได้
? พยายามหลบหลีกความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทุกวิถีทาง
? ไม่มีความทะเยอทะยาน ขาดแรงจูงใจ
? เป็นตัวถ่วงในองค์กร
๒.ผู้หยุดพักพิงเมื่อได้ที่เหมาะ ( Campers ) มีลักษณะ
? วิ่งไปข้างหน้าบ้างและแล้วก็หยุดลง
? หาพื้นที่ราบซึ่งจะได้พบกับปัญหาอุปสรรคเพียงเล็กน้อย
? ถอยห่างจากการเรียนรู้ สิ่งน่าตื่นเต้น การเติบโต และความสำเร็จที่สูงขึ้นไป
? ทำในระดับเพียงพอที่จะไม่เป็นที่สังเกตได้ ได้แก่พยายามไม่ทำให้โดดเด่นเกินหน้าใคร
๓.ผู้ที่รุกไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดนิ่ง ( climbers ) มีลักษณะ
? อุทิศตนเองเพื่อมุ่งไปสู่จุดที่ดีขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง
? ไม่เคยรู้สึกพอใจ ณ จุดปัจจุบันเสียทีเดียว
? สร้างสิ่งใหม่ๆให้ตนเองและองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง
? สร้างแรงจูงใจให้ตนเอง และสร้างวินัยแก่ตนเอง
? สนุกกับสิ่งท้าทายใหม่ๆ


ขั้นที่หนึ่ง คือ การจินตนาการความเป็นไปได้ที่ดีกว่าที่คาดหมายว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ( Dream the Dream )
ขั้นที่สอง คือ แปลงสิ่งที่จินตนาการให้เป็นวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ( Making the Dream the Vision )
ขั้นที่สาม คือ การคงสภาพวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนนั้นจนกว่าจะดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย ( Sustaining the Vision )

จาก
http://webhost.wu.ac.th/stipawan/index/link_etc_data/sm.htm