รูปแบบและเทคนิคการจัดวงจรในแบบ Class-A ในแบบต่างๆ
เครื่องขยายเสียงที่ทำงานในโหมดนี้วงจรจะไม่ซับซ้อนยุ่งยากมากนักแต่ให้ประสิทธิภาพต่อกำลังงานสูญเสียที่ค่อนข้างต่ำมากซึ่งเป็นผลมาจากที่ต้องให้กระแสไหลที่ Transistor Output อยู่ตลอดเวลาดังนั้นในการออกแบบจึงต้องใช้แหล่งจ่ายที่มีขนาดใหญ่และต้องมีชุดระบายความร้อนที่ใหญ่ขึ้นด้วยเนื่องมาจากที่ต้องให้กระแสไหลที่ Transistor Output อยู่ตลอดเวลานั้นเอง แต่ถึงจะมีข้อเสียเหล่านี้และต้องใช้งบประมาณที่สูงในการทำแต่ก็ยังมีนักเล่นที่นิยมและหลงไหลเครื่องขยายเสียงที่ทำงานในโหมดนี้อยู่เพราะสามารถออกแบบให้เป็นแบบ Single Output Stage ใด้เหมือนกับวงจรเครื่องขยายเสียงที่ใช้หลอดสูญญากาศในการขยาย ให้ความลื่นไหลในการฟังเพราะไม่เกิด Cross Over distortion ให้ความเป็น Musical ที่สูง
1.Output stage แบบ Single-ended โดยใช้ Resistive Load
ดังแสดงในรูปตำแหน่ง RE จะถูกใช้เพื่อจัดการ BIAS และเป็น Emitter load สำหรับ Transistor Output เมื่อใด้รับ BIAS จนเข้าใกล้จุดอิ่มตัวกระแสจะวิ่งผ่านจาก +V ของแหล่งจ่ายไปยัง Load และเมื่อเข้าใกล้จุดหยุดนำกระแส กระแสจะผ่าน-V ของแหล่งจ่ายไปยัง Load
เมื่อวิเคราะห์ถึงประสิทธิภาพต่อกำลังงานสูญเสียพบว่ากำลังงานสูญเสียจะเกิดขึ้นกับ Transistor Output 50% เป็นเพราะการ BIAS ให้มีกระแสสงบอยู่ตลอดเวลาและ Output Voltage สามารถขยายใด้ประมาณ ? ของ VCC และจะเกิดกลังงานสญเสียที่ RE อีกประมาณ 25% จะเห็นใด้ว่าประสิทธิภาพค่อนข้างต่ำ

2.Output stage แบบ Single-ended โดยใช้ active load
การทำงานด้วยเทคนิคนี้เป็นการนำ Current source ในตำแหน่ง CCS แทนที่ Resistive load และมาทำงานร่วมกับชุด Output stage ที่เป็น Single ended เมื่อ Transistor Output ใด้รับ BIAS จนเข้าใกล้จุดอิ่มตัวกระแสจะวิ่งผ่านจาก +V ของแหล่งจ่ายไปยัง Load และเมื่อเข้าใกล้จุดหยุดนำกระแส กระแสจะผ่าน Current source ไปยัง Load ด้วยเทคนิคนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพใด้เพราะไม่ต้องเสียกำลังงานที่ Resistive load ในแบบวงจร 3(a) และยังจะสามารถเพิ่ม Power supply rejection ratio ใด้อีกด้วยเพราะมีชุด Current source มากั้นระหว่างแหล่งจ่ายกับ load นั้นเองเป็นผลให้สัญญาณรบกวนที่แฝงมากับแหล่งจ่ายถูกลดทอนลงไป

3.) Output stage แบบ Push pull class A
Output stage จะใด้รับแรงดัน BIAS ที่ VBE โดยแรงดัน Vbias และยังแป็นตัวควบคุมกระแสสงบที่ Output stage ด้วย และเทคนิค Push pull class A นี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพใด้ถึง 50% และค่อนข้างเป็นที่นิยมเพราะสูญสียกำลังงานน้อยและวงจรไม่ซับซ้อนมากนัก
หากเพิ่มแรงดันที่ Vbias มากขึ้น Output stage จะนำกระแสมากขึ้นและหากลดแรงดันที่ Vbias น้อยลง Output stage จะนำกระแสลดลง ด้วยเทคนิคจะมำให้ใด้ Output voltage เพิ่มขึ้น
