


MASTERDISK RL

SLM Δ = Sheffield Lab Matrix
https://www.youtube.com/watch?v=2AA64eCt2zshttps://www.youtube.com/watch?v=wTP2RUD_cL0Dire Straits – Brothers In Arms
Released:1985 US
แล้วก็สงสัยในเรื่องโทนัลบาล๊านซ์ ว่าทั้งสองตัวจะให้โทนเหมือนกันขนาดนั้นเชียวหรือ
ก็เลยต้องใช้แผ่นที่ทดสอบความราบเรียบของเสียงกับไดนามิกระดับกลางสูง
แผ่นกีตาร์บิน US MASTERDISK RL ทั้งสองหน้า ที่ทุกท่านคุ้นเคยก็ได้นำมาลงเข็มครับ
กับแทรคแรก So Far Away ที่ค่อนข้างจะให้ความราบเรียบของเสียงในทุกย่านความถี่
เสียงจาก DAV Phono ทั้งสองเวอร์ชั่นให้โทนเสียงที่ราบเรียบและตอบสนองลงได้ต่ำสุดจนถึงปลายแหลมที่ไปได้ไกล
โดยที่รอยต่อระหว่างย่านความถี่ในทุกย่านไม่มีขาดหายโลว์ออฟลงไปให้ได้ยินเลย ความสดชัดในสำเนียงเสียงจากแผ่นกีตาร์บิน
ที่มาสเตอร์ทำมาจากดิจิทัลเทปก็ฟังออกได้ในทันทีว่าเป็นดิจิทัล ไม่ออกอาการคลุมเครือในเสียงแบบโฟโนหลอดล้วนบางตัว
ที่ให้เสียงในแนว Vintage ยกย่านกลางต่ำให้ดูอวบหนา ฟังดูแล้วให้ความรู้สึกถึงเสียงในแบบอนาล๊อก
แต่กับ DAV Phono ไม่มีอาการอย่างนั้นเลย ทุกอย่างว่ากันไปตามจริงที่ควรจะเป็น
พอหมดแทรคแรก พอจะบอกได้ว่าเสียงจาก 6SL7 จะให้เนื้อเสียงที่เข้มกว่าและเบสที่มีปริมาณที่มากกว่า 12SL7 เล็กน้อย
กับไดนามิกที่ดีกว่า แต่จับประเด็นความแตกต่างค่อนข้างยากมากครับ
![[chick-confuse]](http://www.diyaudiovillage.net/Smileys/Shiny_Smiley_Icons/chick-confuse.gif)
มาต่อกันที่แทรคที่ 2 Money For Nothing
ช่วงอินโทรก่อนจะเข้าสู่ท่อนร้อง
สัมผัสแรกที่ได้ยินจะรับรู้ถึงความสด คม กระชับ กับเร้นจ์เสียงที่กว้างควบคู่ไปกับไดนามิกที่รุนแรง
แต่ให้ความรู้สึกที่โปร่งในสัมผัสของเนื้อเสียง การจัดวางตำแหน่งชิ้นดนตรีได้สมดุลทั้งทางด้านลึกและด้านกว้าง
จากความคมชัดนี้เอง ทำให้รูปทรงของเสียงขึ้นรูปมาอย่างชัดเจนไม่เพียงแต่สัมผัสทางเสียงเท่านั้นที่รับรู้ได้
แต่การจำลองจินตภาพของเสียงถือว่าทำได้ดีมากจนปรากฏชัดออกมา ในบางขณะที่ให้ไดนามิกค่อนข้างรุนแรงและดังมากของเสียงกีต้าร์
ไม่มีอาการเสียงเครียดหรือคลิปให้ได้ยิน แต่จะรับรู้ได้ถึงความ สด-เปิด เพิ่มขึ้นมาเท่านั้น โทนเสียงโดยรวมไม่ได้โน้มเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง
รายละเอียดของเสียงจึงปรากฏออกมาให้รับรู้ได้ในทุกย่านความถี่ของเสียง โดยเฉเพาะเสียงแหลมให้รายละเอียดที่ดีมาก

อัลบั้ม Brothers In Arms
ในความตั้งใจจริงของ Knopfler ต้องการจะสื่อถึงความรักของมวลมนุษยชาติที่พึงมีต่อกัน
ไม่มีเหตุอันควรที่จำเป็นต้องประหัตประหารกัน โดยใช้ภาวะสงครามเป็นข้ออ้างในการทำลายล้าง
จึงเป็นที่มาของอัลบั้มนี้ บทสรุปของอัลบั้มเป็นคำเฉลยในเพลง “Brothers In Arms”
ว่าสามารถที่จะรับฟังในรูปแบบ Concept Album โดยเราผู้ฟังต้องสมมุติเอาเองว่าเพลง “Money For Nothing”
เปลี่ยนไปเป็น Bonus Track เรื่องราวต่างๆในบทเพลงจะกลายเป็น
• ทหารที่ออกไปสู้อยู่ในสนามรบห่างไกลจากบ้านเกิด
• ถ้าทุกคนมีความรักและแบ่งปันกันจะมีแต่ความสุขสงครามจะไม่เกิดขึ้น
• ยามที่ว่างจากภารกิจก็ได้ท่องเที่ยวตามประสาบ้าง
• จะไปกังวลอะไรกับเรื่องในวันนี้ขณะนี้เพราะพรุ่งนี้อาจจะเป็นวันที่ดีกว่า
• เพราะฉันคือทหารที่พร้อมจะทำอะไรก็ย่อมได้เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ
• และเป็นทหารที่อยู่ภายใต้ชายที่แข็งแกร่ง
• อยู่บนโลกที่มีแต่ความขัดแย้ง
• หากแต่ต่างสถานที่กันก็ยังคงเป็นโลกใบเดียวกันเหมือนดั่งพี่กับน้อง
Brothers In Arms ทำให้รับรู้ในแง่คิดที่ว่า ต้องรู้จักการแบ่งปันและเรียนรู้ที่จะได้รับ
แม้กระทั่งผู้ที่อาจจะติดอาวุธเพื่อนำมาใช้กับเรา เพราะสงครามมีแต่สูญเสียโดยไม่มีผู้ชนะที่แท้จริง
เพื่อโลกจะได้มีสันติภาพอย่างถาวรและยั่งยืน โดยไม่จำเป็นต้องมีอาวุธร้ายแรง เหมือนอย่างที่ MarK Knopfler
ได้สะท้อนเงาของโลกบนกีต้าร์ที่ล่องลอยอยู่ในฟากฟ้า เป็นกีต้าร์ที่ได้ตายไปแล้วจากผลของสงครามเช่นเดียวกัน.ADP
[ ปกกีต้าร์ลอยฟ้า กับความทรงจำที่ดี ]
ปกหน้าของอัลบั้มเป็นภาพกีต้าร์ลำตัวโลหะ National Style 0 Resonator ที่เงาดั่งกระจกลอยอยู่บนท้องฟ้า
ซึ่งครั้งหนึ่ง Knopfler ได้เคยเป็นเจ้าของและประทับใจต่อกีต้าร์ตัวนี้ ที่ผลิตขึ้นมาในปี 1937 จนกระทั่งในปี 1942 ได้ยุติการผลิต
เนื่องจากต้องนำอลูมิเนียมไปใช้ในสงคราม ภาพปกได้ถูกถ่ายภาพเพื่อมาทำปกโดย Deborah Feingold ศิลปินช่างภาพหญิง
ในส่วนของปกหลังเป็นภาพกีต้าร์ตัวเดิมที่ถูกวาดแต้มสีโดยศิลปินชาวเยอรมัน Thomas Steyer และยังใช้เป็นภาพประกอบอยู่ที่เลเบลอีกด้วย
บ่งบอกถึงสิ่งที่จะสื่อภายในอัลบั้มได้เป็นอย่างดี ขออนุญาตยกบทความบางส่วนจากนิตยสาร Audiophile/Videophile นะครับ