1927's 807 RCA black plate 
หลอดในตระกูล 807 3 หลอด 6L6 1 หลอด จากซ้าย Emitron 807 UK made , 807 westinghouse canada , 807/ATS millitary philips holland และ 6L6 Mullard BVA 807 เป็นหลอดที่เริ่มต้นได้ถูกจังหวะ พอเหมาะพอเจาะกับสภาพการณ์ในช่วงเวลานั้น หลังจากที่ได้เริ่มออกตัวช่วงสั้นๆปี 1936 หลอด 807 ก็ได้เข้่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก นั่นคือการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความต้องการใช้หลอดที่มีโครงสร้างแน่นหนามั่นคงแข็งแรง มีเสถียรภาพสูง มีประสิทธิภาพสูง ราคาถูก และใช้งานได้เอนกประสงค์ พบว่าหลอด 807 มีคุณสมบัติตรงตามคามต้องการในสมัยนั้นพอดี
หลอด 807 ถูกใช้งานหลากหลายมากตั้งแต่ภาคขยายคลาสส์ A, AB, AB1, AB2 และ B สำหรับงานทางด้านเสียง และคลาสส์ B และ C สำหรับงานทางด้านคลื่นวิทยุ ด้วยเหตุนี้ในปี 1941 RCA ถึงได้ขนานนามหลอด 807 ลงในโฆษณาของตนว่าเป็น Little Magician หรือจิ๋วจอมเวทย์
แถมยังได้ส่งต่ออานิสงฆ์ไปยังลูกพี่ลูกน้องหลอด 7 ขาไฟไสหลอด 12.6V ที่ใช้แพร่หลายในงานทางด้านวิทยุสมัครเล่น และงานขยายเสียง นั่นก็คือ 1625/VT-136 ซึ่งปัจจุบันมีมากเป็นพะเรอเกวียนให้เลือกเล่นอีกหนึ่งเบอร์ ที่สามารถเทียบเคียงกับหลอด 807 ได้
ยังมีการใช้งานหลอด 807 ในเครื่องขยายเสียงกลางแจ้ง และโรงหนังจากผู้ผลิตลือนามอย่าง Altec, Westrex แต่หลอด 807 กลับไม่ได้รับความนิยมในเครื่องขยายไฮไฟดังเช่นหลอด 6L6, 5881, 1614 และ KT66 อาจเป็นเพราะเกรงว่าจะเกิดอันตรายจากไฟสูงจากเพลทแคปด้านบนของหลอด แต่ก็มีใช้งานบ้างในแอมป์ของ British Williamson เวอร์ชันมะกันจากเดิมที่ใช้ KT66 ก็แทนด้วย 807 ต่อเป็นไตรโอดโหมด, Heatkit และแอมป์ของ Grommes ที่ใช้วงจรแบบ Williamson
ทุกวันนี้ 807 ก็เริ่มพร่องไปจากคลังหลอดหลายๆที่บ้างแล้ว ถ้าเจอก็ถนอมๆกันหน่อยครับ อ่อ เวลาใช้งานหลอด 807 ก็ให้ระวังเพลทแคปหน่อยนะครับ
จาก: Sound Practices #2
วิพากษ์โดย: AnalogLism