ได้ฤกษ์แสดงจุดปรับเพิ่มเติม ลงไว้ที่นี่ครับ clapping-1-2
Notice: หัวข้อนี้ ท่านต้องต่อสายทั้งหมด และได้ทดสอบเต็มระบบ รวมถึงปรับ idle เรียบร้อยไปแล้วเท่านั้นนะครับ สืบเนื่องจากวงจร 120W. แอมป์ระดับหาตัวจับยากตัวนี้ ดูวงจรเหมือนจะง่าย แต่ทำให้เป๊ะ ยากครับ... เพราะต้องหาอุปกรณ์คัดเกรดเป็นพิเศษ ซึ่งทั้งทำได้ยาก และถึงอยากจะทำ ก็เปลืองสะตุ้งสตางค์มากทีเดียว..
แต่หากจับใส่อุปกรณ์ที่หาได้ตามสะดวก ซึ่งไม่ได้มีการคัดแมทช์อย่างเข้มข้น การทำงานซีก + และ - ก็ย่อมจะไม่สมมาตร/สมบูรณ์ตามการคำนวณด้วย ทำให้เอาต์พุต เกิดไฟ DC Offset ปนออกมาปริมาณนึง ถ้ายังคงอยู่ในระดับไม่เกิน +-150mV. ถือว่าพอใช้ได้ไม่เป็นอันตราย
แต่ถ้าอุปกรณ์ที่เราได้มา มันดันทำให้ค่าเอียงไปมากจริงๆ อันนี้งานเข้าครับ เพราะ DC Offset สูงๆ ถือเป็นอันตรายสำหรับลำโพงอันเป็นที่รัก
ผมจึงเลือกทางที่ทำให้เรายังคงใช้อุปกรณ์ที่ซื้อมาแล้ว ให้ทำงานได้ ไม่ต้องถึงกับซื้อของใหม่ และยังคงความเป็นแอมป์ตัวนี้อยู่เดิม ไม่ผิดเพี้ยนไปมากนัก
จึงได้ทดลองจุดปรับเพิ่มเติม สำหรับท่านที่กำลังทำ หรือทำไปแล้วพบปัญหานี้อยู่ครับ ได้ทดลองทำและปรับให้เข้าที่
(แต่ถ้าท่านใดทำแล้วไม่มีปัญหา แสดงว่ามีของที่ดีอยู่แล้วครับ ไม่ต้องปรับอะไร)
จุดแรกที่ทำคือปรับวงจรส่วน Feedback ให้เป็นวงจรแบบง่ายซึ่ง จัดให้ทำการบายพาส DC ออกไป

บน PCB ก็ทำการย้ายตำแหน่ง R 2k2 2W. ไปใส่แทนตามรูป และช่องเดิมก็ปล่อยว่างไว้ จากนั้นหา C 3 ถึง 5pF แรงดัน 100V. ขึ้นไป มาขนานคร่อม R 2k2 ด้วย เพื่อดึงแบนด์วิดธ์ลงเล็กน้อย ลดโอกาสการเกิดออสซิลเลตลง ซึ่งเฟสปลายเสียงแหลมสูงๆ จะถูก shift ไปบ้าง แต่เพื่อความปลอดภัยก็คงยอมแลกบ้างน่ะครับ
ส่วนอุปกรณ์อื่นทั้งหมด ขอให้คงค่าเดิมไว้ และทดลองต่อดูครับ โดยงานนี้อย่าเพิ่งใช้ลำโพงเป็นโหลดเด็ดขาด ให้หา R 8 โอห์ม 10W. ขึ้นไปมาเป็นหน่วยกล้าตายเพื่อทดสอบ วัด DC Offset จริงคร่อม R
และให้ตั้งกระแส idle เบาๆ ก่อนครับ ไม่เกิน 50mA. ต่อตัว
ถ้า DC Offset ยังคงสูงอยู่ ให้ทดลอง ค่อยๆ ลดค่า R 120 Ohm (กรอบสีเขียว) ลงทีละน้อย ซึ่งทุกครั้งที่ลดค่า กระแส idle จะเพิ่มสูงขึ้นด้วย เพราะฉะนั้นต้องทำการปรับ idle ใหม่ทุกครั้งด้วยเช่นกัน ซึ่ง DC Offset ที่ได้ควรจะลดลง (ใกล้ 0 มากขึ้น) และถ้าลดลงมาจนอยู่ในช่วง +- 60mV. ได้ ถือว่าโอเคครับ
(ถ้ามีการปรับเร่ง idle มากขึ้น ค่า DC Offset ก็จะเพิ่มขึ้นตามตัวด้วยเช่นกันนะครับ)
แต่ถ้าลดค่า R แล้ว แต่ยังได้ผลได้ไม่ดีมากพอ ก็ต้องทดลองลดค่าลงไปอีก ซึ่งสุดท้ายค่า R จะต้องไม่ต่ำกว่า 56 Ohm นะครับ ถ้าลดต่ำกว่านี้ วงจรจะเริ่มเป็นอันตรายและทำงานยาก
แต่ถ้าการลดค่า R ทำให้ค่า Offset ห่างออกจาก 0 มากกว่าเดิม อันนี้งานยากขึ้นครับ คือต้องเพิ่มค่า R ทีละน้อยๆ แทน ซึ่งปกติกรณีนี้มักจะไม่ค่อยเจอครับ
แต่ถ้าทำยังไงก็ยังไม่ไหว แสดงว่าอุปกรณ์ที่มีอยู่ ค่าห่างกันมากเกินไป จนการชดเชยนี้ช่วยไม่ไหวน่ะครับ จนใจจริงๆ [n_o]