NOTE: 6SN7 specification
Voltage f/k =100 V อย่าลืมยกไส้หลอดด้วยนะครับ
.......................
ขออนุญาต เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน ของวงจรยกไส้หลอด AC....
เป้นที่ทราบกันสำหรับวงจรในกลุ่มของ SRPP , MU follower ที่มีหลอดบนและหลอดล่างนั้น
เราจะพบว่าที่ คาโถด ของหลอดบนจะมีแรงดันสูงหลักร้อยโวลท์ ส่วนคาโถดของหลอดล่างมีเพียงหลักสิบ
สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือหากแรงดันคาโถดของหลอดบน เมื่อมีค่าสูงกว่าสเปค Vfk ของหลอด จะทำให้หลอดมีอายุสั้น
โดยเฉพาะหลอดดีๆ ราคาแพง เราจึงเสียดายมัน หากมีความจำเป้นต้องจากกันไป ในเวลาที่ไม่สมควร
หลักการในการต่อใช้งานคือ สร้างวงจรแบ่งแรงดันขึ้นมา โดยใช้ R สองตัวต่ออนุกรมกัน แล้วต่อเข้ากับแหล่งจ่าย แล้วดึงจุดต่อตรงกลางมาช้งาน
โดยนำไปต่อกับ CT ของชุดจ่ายไฟไส้หลอด ของหลอดบนนั่นเอง ซึ่งหลักการของ Voltage divider หรือวงจรแบ่งแรงดันนั่นเอง

..........................
จากรูปในกรอบ คือส่วนของวงจรยกไส้หลอดนั่นเอง..
โดยทั่วไปเราจะนิยมยก หนึ่งในสาม ของแหล่งจ่าย ซึ่งส่วนมากจะเพียงพอ แต่เพื่อความปลอดภัยควรตรวจสอบกับ Data sheet ของหลอดนั้นๆด้วยครับ
Vo = Vin*R4 /(R3=R4) ; Vo= แรงดันที่เราต้องการจะยก ,Vin = แรงดันของแหล่งจ่ายของวงจร
หมายเหตุ: วงจรที่มีการยกไส้หลอด ห้ามนำจุด 0 หรือ ct ต่อลงกราวด์ เด้ดขาด

.........................
มาต่อกันอีกสักนิด..
หลังยกไส้หลอดแล้วเป้นอย่างไร...
จากวงจรนี้จะพบว่า แรงดันที่คาโถดของหลอดบนมีค่าประมาณ 182 V , data sheet Vfk =100 V
ความแตกต่างระหว่าง แรงดันคาโถด กับไส้หลอด = 182 -0 = 182 V นั่นเอง ซึ่งเกินสเปค
สมมติว่า เราจะยกไส้หลอดสัก หนึ่งในสาม ของแหล่งจ่ายคือ = 330/3 =110 V
ความแตกต่างระหว่าง แรงดันคาโถด กับไส้หลอด = 182 -110 = 72 V ซึ่งไม่เกินสเปค
แล้วควรใช้ R ค่าเท่าไรกันบ้าง เอาแบบไม่ต้องคำนวณให้ปวดหัวก่อน มโนเอาว่า (จำหนึ่งในสามให้ดี)
ถ้าผมมี R100K,200K แล้วเอามาอนุกรมกัน RT=300 K หนึ่งในสามคือ 100K
ดังนั้น จากวงจรด้านบน R4=100K, R3= 200K ใช่มั้ยครับ
ลองคำนวณง่ายๆจากสูตรเดิม
Vo=Vin*R4/(R3+R4)
= 330*100k /(200K+100K)
= 110 V
ลองทำความเข้าใจดูอีกทีนะครับ ..... ตรงไหนไม่ถูกต้องท้วงติงได้ครับ
