สิ่งที่รับรู้ด้วยการสัมผัส หรืออายตนะทั้ง 6 ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ) แต่อธิบายไม่ได้
ขอยกตัวอย่าง เช่น
ความเค็มของเกลือ
ทุกคนรู้ว่าความเค็มของรสเกลือเป็นเช่นใด แต่ถ้าให้บรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือ
หรือพูดออกมาให้คนที่ไม่เคยกินเกลือ รู้ และเข้าใจนั้นเป็นเรื่องยาก
อยู่มาวันหนึ่ง ลูกน้อยวัย 3 ขวบ หยิบก้อนเกลือขึ้นมาเพื่อจะใส่ปาก
เราผู้เป็นพ่อบอกลูกไปว่าด้วยเสียงดัง "อย่าไปกินนะมันเค็ม"
ลูกผู้ไร้เดียงสา ช่างพูด ช่างสงสัย หยุดชะงัก
ย้อนถามว่า "พ่อ ๆ แล้วเค็มเป็นยังไงเหรอ"
จบกัน แล้วจะอธิบายรสเค็มให้เข้าใจยังไงดีล่ะ
ขนาดว่าเปิดพจนานุกรม ยังได้รับคำตอบอย่างนี้
เค็ม [V] ; be stingy
Syn. ขี้เหนียว, ขี้ตืด
Sample. เจ้าของบ้านเช่าเค็มมาก สลึงเดียวยังเอาเลย
Def. ไม่ยอมเสียเปรียบใคร
เค็ม [ADJ] ; salted
Sample. ผู้สมัครรับเลือกตั้งนำปลาทูเค็มไปแจกชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อน
Def. มีรสอย่างเกลือ
เค็ม [V] ; salt
Sample. ปลาแห้งตัวนั้นเค็ม ส่วนปลาตัวนี้จืด
Def.
มีรสอย่างเกลือสิ่งที่จะบอกเล่าให้เข้าใจได้ จึงต้องให้ชิมรสเกลือด้วยตนเอง
แล้วบอกว่า "นี่นะ ที่กำลังกินอยู่นั้นมันคือเกลือ และสิ่งที่สัมผัสอยู่ปลายลิ้นมันคือ รสเค็ม"
เรื่องของสาย AC ที่มีผลต่อเสียงที่เราได้ยินนั้น มันมีเหตุและผลที่จะอธิบายได้
แต่จะอธิบายให้เข้าใจได้อย่างไรดี
ที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้นนี้ ขออย่าได้ไปคิดว่าเป็นการดูหมิ่นดูแคลนเชียวนะ
เพียงแต่ผมยกตัวอย่างให้เห็นภาพว่า เรื่องของอาตนะทั้ง 6 เป็นเรื่องของสัมผัส หรือ Sense
บางเรื่องยากที่จะอธิบาย แต่ผมก็มีความหวังจากคุณแว่น
ที่จะมาอธิบายในเชิงหลักการให้เราได้เข้าใจกันครับ