อ่านดูแล้วครับ ต้องหาอุกรณ์เพิ่ม ทั้ง C ทั้ง R
Vo = Vs+R1 / (R1+R2) ----- 1
Vo = แรงดันที่ต้องการ
Vs = แรงดันที่เพลทของหลอดที่จะทำการยกไฟจุดไส้หลอด หรือจะใช้แหล่งจ่ายอื่นก็ได้นะครับ
........
Vs =400 v
Vo =129 v
R1 =....
R2 = 100K
129 = 400+R1/(R1+100000)
ถามครับ
1.หา R1...ได้เท่าไหร่เนี๊ยะ
2.ต้องทำทั้ง สองหลอดเลยหรือครับ ไฟจุดไส้หลอดพ่วงกันอยู่
3.ยกไฟจุดไส้หลอดแลัว จะทำให้ไฟจุดใส้หลอด (6.3 v)สูงหรือผิดไปมั๊ยครับ
ขอบคุณครับ
3.แรงดันไม่เปลี่ยนแปลงครับ แต่ศักย์ไฟฟ้าจะไม่เกินที่ Vk-h ของหลอดกำหนดไว้
2.กรณีใช้ไฟจุดใส้หลอดเดียวกันต้องดูที่วงจรว่าทำงานจุด Vk ต่างกันมากไหมถ้าคำนวณแล้วไม่เกิน Vk-h ก็ใช้ได้ครับ กรณีของน้าตามวงจรก็คือจุดทำงานเหมือนกันแต่ต่างกันนิดหน่อย ฉะนั้นหาจุดเเรงดันให้น้อยกว่า Vk-h
1.หา R1
คำนวณจากสูตร Vo = (Vs × R2)/(R1 + R2 ) ซึ่งจะหาค่าไฟตกคร่อม R2 ตามวงจร

Vs =400 v
Vo =129 v
R1 =....
R2 = 100K
จากสูตร
Vo = (Vs × R2)/(R1 + R2 )
จะได้
129 = (400 × 100K)/(R1 + 100K)
= 40000K/(R1 + 100K)
129R1 + 12900K = 40000K
129R1 = 40000K-12900K
R1 = 39871K/129
จะได้ R1 ประมาณ = 210K
ดังนั้น ต้องรู้ว่า 129V ได้มาจากไหน แล้วมากกว่านี้ได้ไหม น้อยกว่านี้ได้ไหม ถ้าพอเข้าใจ น้าจะได้ค่า R1 ที่ถูกต้อง และหลอดที่จะยกใส้ก็จะปลอดภัย บอกเลยว่า 210K มันปริ่มๆ