น้ายังไม่เคยสัมผัสหลอดใหญ่ น้าไม่รู้หรอกว่ามันนรกชัดๆ มันร้อนมากๆครับไม่เหมาะกับการลง pcb แค่ pcb ไปอยู่ใกล้ๆมัน ผลจากรังสีอำมหิตพี่ว่ามันทำให้ลาย pcb ร่อนได้เลยนะ ดูที่ Aj. karin คิดเป็นตัวเลขให้ดูซิแค่จุดไส้หลอดก็นั่งเหงื่อแตกกันแล้วหล่ะ ![[frightened-12]](http://www.diyaudiovillage.net/Smileys/Shiny_Smiley_Icons/frightened-12.gif)
ผมเห็น DIYer หลายๆคนประมาทเรื่องความร้อนของอุปกรณ์ครับ เวลาที่เราเห็น spec ของอุปกรณ์ตรง power rating บางคนเข้าใจผิดว่าติด heatsink เล็กๆก็ได้ หรือใช้ตัวถังเครื่องเป็นตัวระบายความร้อนก็ได้ อันนี้ต้องคำนวนดีๆครับ อย่างในรูปนี้จะเห็นว่า MP915 รับ power ได้ 15W ที่ 25C เท่านั้น และก็จะตกลงเรื่อยๆจนถึง 0W ที่ 150C

ถ้าอ่าน spec ของ Resistor ดีๆ จะข้อมูลบอกว่า Derating curve ของมันเป็นยังไง อย่าง Caddock MP9000 series ค่า power rating ของมันจะตกลงตามอุณหภูมิที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ตาม spec ของมัน power rating จะเหลือ 80% ที่ 50C และแม้ว่าเราจะติด heatsink ให้มัน ความร้อนสะสมเองก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นเวลาออกแบบกล่องหรือ PCB ก็ต้องคิดเผื่อระยะห่างและทิศทางการระบายอากาศร้อนจากอุปกรณ์ให้พอสำหรับการใช้งานเป็นระยะเวลานานๆด้วยครับ แอมป์ 6C33 pushpull ของผมถึงเอา socket ของหลอด power ออกมาไว้ข้างนอก และผมเองยอมลงทุนกับ heatsink ที่ราคาค่อนข้างสูงเพื่อช่วยระบายความร้อนจาก CCS ครับ
มีหลายคนบ่นว่าหลอด power บางหลอดอย่าง GM70 อายุการใช้งานสั้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการระบายความร้อนนี่ล่ะครับ สิ่งหนึ่งที่มองข้ามกันไปเลยคือขาของหลอด ทั้ง filament และ plate ขา plate ไม่เท่าไหร่ เพราะ plate มันช่วยระบายอยู่แล้ว แต่ขา filmaent นี่ถ้าไปใช้ socket จีนที่ทำมาไม่ดีนัก ซักพักนึงหลอดมีโอกาสรั่วได้ เพราะขา socket มันแตะขาหลอดนิดเดียว ทำให้ความร้อนส่งผ่านไปได้ไม่มาก พอใช้ไปนานๆ ขาหลอดที่เป็นโลหะขยายตัวและหดลงตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปทำให้จุดที่ขาหลอดยื่นออกมาจากหลอดที่เป็นแก้วเริ่มมีรอยรั่ว ของแบบนี้จะสะสมไปเรื่อยๆจนในที่สุดหลอดก็รั่วไปตามสภาพครับ