เวลาประกอบผมชอบขูดขาอุปกรณ์ทุกตัวก่อนบัดกรี นอกจากบัดกรีง่ายแล้วยังไม่มีเสียงแปลกปลอมมารบกวนด้วยครับ
ทำมา 3 ชิ้นแล้วยังไม่เจอเสียงฮัมเลยครับ
ขอแชร์ประสบการญ์...หน่อยนะครับ...( ไม่ได้มีเจตนาไม่ดีนะครับ)
แต่ก่อนผมก็ชอบใช้...กระดาษทรายขัดขาอะไหล่....เพราะบักรีง่าย..

ตอนหลังมา....ใช้ เช็ดขาอะหลั่ยด้วยแอลกอฮอร์ ....อย่างเดียวครับ... (หลังจากทดลอง...ทำเล่นดูแล้ว....ก็เห็นผลตามนั้น)
....................................
มีพี่คนนึง...เขาทักมาว่า.....
เห็นด้วยกับเรื่อง
"เช็ดขาอะหลั่ยด้วยแอลกอฮอร์" เพื่อล้างคราบอ๊อกไซด์ ล้างคราบต่างๆที่เกาะตามผิวขาอะหลั่ย
แต่ที่ผมทักจะเป็นเรื่อง "กระดาษทรายขัดขาอะหลั่ย" หรือ "คัดเตอร์ขูดขาอะหลั่ย" หรือ "คัทเตอร์เหลาขาอะหลั่ยให้มีขนาดเล็กลง"
พอเราใช้พวกนี้ไปขัดขาขูดขาอะหลั่ย ผิวนอกสุดของขาอะหลั่ยมันจะไม่เรียบ ผิวจะขรุขระ (ลองเอาแว่นขยายส่องสูง)
ทางทฤษฎีทางเดินไฟ ไฟมันจะเดินทางผ่านผิวนอกได้ไม่สม่ำเสมอ เหมือนสะดุดตามพื้นผิวที่ขรุขระ
ผิวเรียบกับไม่เรียบ จะมีผลต่อเสียงด้วย ส่วนที่ว่าจะได้ผลแบบไหน ฟังออกไม่ออก ก็เป็นอีกประเด็นนึง
แต่ถ้าอยากลองแบบง่ายๆ ก็ลองกับพวกแอมป์หูฟังก็ได้ ลองเล่นกับขาอะหลั่ยตัวสุดท้ายของวงจร(Rเอ้าท์พุท หรือ Cเอ้าท์พุท)
จุดสังเกตุทางเสียง ให้ลองสังเกตุจากลักษณะของหางเสียง
สมมุติฐานที่ใช้อ้างอิง
ถ้า "ขาอะหลั่ย" หรือ "สายไฟ" ที่เคลือบผิวด้วยทอง, เงิน, ดีบุก แล้วมีผลต่อเสียง
ก็แสดงว่า มีไฟหรือสัญญาณวิ่งผ่านที่พื้นผิวของสายไฟหรือขาอะหลั่ย
ดังนั้นลักษณะพื้นผิวของขาอะหลั่ย ย่อมได้รับผลกระทบแบบเดียวกัน
บางคนอาจมองว่า มันเป็นเรื่องหยุมหยิม ละเอียดและวุ่นวายเกินไปหรือเปล่า
ผลต่างมันคงน้อยจนฟังยาก ถ้าไม่ใช่พวกหูดีคงแยกไม่ได้หรอก เราฟังแค่เพลินๆไม่ต้งไปสนใจก็ได้มั้ง ฯลฯ
ผมกลับมองอีกแบบ
หากเราเข้าใจและรู้ผลกระทบจากตัวแปรต่างๆได้มากขึ้น เราจะมีโอกาสควบคุมรายละเอียดปลีกย่อยในแต่ละส่วนได้
ซึ่งจะช่วยให้เรามีโอกาสควบคุมแนวเสียง มีโอกาสกำหนดแนวเสียงได้ง่ายขึ้น.....
........
ปล.
ETUDE ตัวนี้ผม"เช็ดขาอะหลั่ยด้วยแอลกอฮอร์" อย่างเดียว.....( ตะกั่วก็เช็ด... ด้วยนะครับ....)
ก็ไม่มีเสียง
จี่ ฮัมออกจากลำโพงเหมือนกันนะ..คับ...แม้แต่น้อย... และเสียงก็ ok... พอใจในระดับนึง...เลยครับ