OTL (Output Transformer Less)
ดั้งเดิม การใช้ หม้อแปลง เป็นตัวส่งผ่านเกิดขึ้นในยุค หลอดสูญญากาศรุ่งเรือง ครับ
ทำไมต้องเป็นหม้อแปลง
สาเหตุก็คือ หลอดสูญญากาศ ไม่สามาสาถ ขับโหลด ที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำ อย่างลำโพงได้โดยตรง
อุปกรณ์ ที่สามารถ ส่งผ่านกำลังงาน ระหว่างตัวขับไปหาโหลด ที่มีค่าอิมพีแดนซ์ต่างกันได้ ก็คือ หม้อแปลง
แต่ข้อเสียคือ น้ำหนักของหม้อแปลง ความร้อนในขณะใช้งาน หม้อแปลงที่ให้เสียงดีๆก็มีราคาแพง
กาลเวลาต่อมา ทรานซิสเตอร์ เข้ามามีบทบาท ในวงจรขยาย
ด้วยคุณสมบัติที่ สามารถขับโหลด ที่มีอิมพีแดนซ์ต่ำ อย่างลำโพงได้......แต่
ในยุคเริ่มแรก ยังไม่มีการออกแบบวงจรขยาย ให้ใช้แรงดันไฟคู่ บวก/ลบ( ทางออกของ ภาคขยายแบบ OCL )
ในยุคแรกวงจรขยาย จะใช้แหล่งจ่ายไฟเดี่ยว คือ มีแค่ บวก กับ กราวด์
วงจรขยายที่ใช้ไฟเลี้ยงเดี่ยว เอาท์พุทของวงจรขยาย จะมีแรงดันที่ 1/2 ของแหล่งจ่ายเสมอ
ถ้าหาก เราเอาลำโพง ไปต่อที่เอาท์พุท โดยที่มีแรงดัน 1/2 ของแหล่งจ่าย คาอยู่........ผลคือ ลำโพงไหม้
แล้วจะทำอย่างไร เมื่อวงจรขยายทำงานได้ แต่ ดันมีแรงดัน 1/2 ของแหล่งจ่าย คาอยู่ตลอดเวลา
ทางออกในยุคนั้นคือการใช้ capacitor คั่น ระหว่าง เอาท์พุท กับโหลด
ด้วยคุณสมบัติ ที่กั้นไฟ dc ไม่ให้ผ่าน แต่ยอมให้ สัญญาณที่เป็น ac ผ่านตัวมัน นั่นเอง
การใช้ capacitor คั่น กลับสร้างปัญหาคือ............ คุณภาพของตัวเก็บระจุ ที่นำมาใช้ กลายเป็นหนึ่งในตัวแปรในเรื่องคุณภาพเสียง
วิศวกร เลยหาทางอออกใหม่ วิธีการใด ที่จะทำให้ให้เรา ต่อโหลดอย่างลำโพงได้โดยตรง โดยไม่มีอะไรมาคั่นให้เสียคุณภาพเสียง
ต้นตอของปัญหาคือ ทำอย่างไร ไม่ให้มีแรงดัน 1/2 ของแหล่งจ่าย มารอที่ขั้ว เอาท์พุท
จนกระทั่ง ค้นพบวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุด คือ ออกแบบวงจรขยาย ที่ใช้ไฟเลี้ยงคู่ คือ ใช้ไฟบวก และ ไฟลบ
ซึ่งก็คือ ระบบ OCL แบบที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้อ่ะครับ
ส่วนข้อสงสัยที่ว่า เอา capacitor มาต่อคั่น กับ ชิปแอมป์ อย่าง เกนโคลน จะได้มั๊ย
ต่อได้ครับ แต่เรื่องเสียง........ ต้องลองเองครับ
ความรู้เต็มๆ [roll-eyes]ขอบคุณมากเลยครับสำหรับข้อมูล
![[clap hand2]](http://www.diyaudiovillage.net/Smileys/Shiny_Smiley_Icons/clap_hand2.gif)
[res]